- 20 มี.ค. 2563
จากกรณีที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้โพสต์ข้อความโดยมีรายละเอียดถึงการที่เจ้าตัวเดินทางกลับจากบาร์เซโลนา ประเทศสเปน หนึ่งในประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 อยู่ในช่วงเวลานี้ ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทยแล้วไม่โดนกักตัว ซึ่งตัวเขาได้เดินเข้ามาแบบสบายๆ
จากกรณีที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้โพสต์ข้อความโดยมีรายละเอียดถึงการที่เจ้าตัวเดินทางกลับจากบาร์เซโลนา ประเทศสเปน หนึ่งในประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 อยู่ในช่วงเวลานี้ ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทยแล้วไม่โดนกักตัว ซึ่งตัวเขาได้เดินเข้ามาแบบสบายๆ
ล่าสุด คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ได้ทวีตข้อความลงใน ทวิตเตอร์ส่วนตัวว่า "แย่มาก! ที่รัฐบาลยังปล่อยให้คนบินจากประเทศระบาดเข้าไทยอย่างเสรี จะปิดการเดินทางเข้าไทย หรือ จะกักตัวทุกคน 14 วัน โดยเช่ารร. เป็นที่กักตัว ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด ก็ทำซะที เลือกทำอะไรสักอย่างเถอะ ท่านผู้นำ #คนไทยสุดทนแล้ว #COVID19 "
ขณะเดียวกัน เมื่อนายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ได้เห็นข่าวทวีตข้อความดังกล่าว ถึงกับต้องโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุข้อความว่า"เฮ้อ ...งับข่าวปลอมอีกแล้ว"
นอกจากนี้ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้แชร์ข้อความจากสถาบันทิศทางไทยที่ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเกี่ยวนี้ว่า "เจตนาร่วมกันทำลายชาติ? สื่อนำเสนอข่าวมั่ว ไร้ความรับผิดชอบ ในช่วงวิกฤติชาติ Covid-19
1. ผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า Zen Wide ได้มีการโพสต์ข้อความ เมื่อช่วงเย็นของวันที่17 มี.ค. 63 เวลา 17.17 น . โดยระบุถึงรายละเอียดในการเดินทางกลับจาก บาร์เซโลนา ประเทศสเปน ซึ่งเป็นประเทศที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่เมื่อถึงสนามบินสุวรรณภูมิกลับไม่มีการตรวจสอบ หรือคัดกรองจากเจ้าหน้าที่สนามบินสุวรรณภูมิ
2. ปรากฏว่าหลังจากนั้นได้มีสื่อมวลชนหลายสำนักได้หยิบยกข้อความดังกล่าว ไปขยายในวงกว้าง โดยไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชน และความปั่นปวนในสังคม ที่ผู้คนกำลังเฝ้าระวัง ติดตามการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างใกล้ชิด
3. ต่อมา นายกิตติพงษ์ กิตติขจร รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ออกมาชี้แจง ยืนยันว่าสนามบินสุวรรณภูมิมีการติดตั้งเครื่องเทอร์โมสแกน เพื่อตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 ไว้ครบทุกจุด ทั้งฝั่งผู้โดยสารขาออกและขาเข้าประเทศ โดยฝั่งผู้โดยสารขาเข้าจะมีเครื่องเทอร์โมสแกนตรวจวัดอุณหภมิ 2 จุด คือ บริเวณทางแยก และก่อนผู้โดยสารจะผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมือง ทั้งนี้ หากเครื่องเทอร์โมสแกนตรวจไม่พบว่ามีไข้ผู้โดยสารจะสามารถเดินผ่านไปได้เลยตามปกติ แต่หากเครื่องตรวจพบพบว่ารายใดมีไข้ เจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรคจะเข้าไปหา และนำตัวไปตรวจคัดกรองอย่างละเอียดต่อไป
4. ขณะเดียวกันมีการตรวจสอบจากโลกออนไลน์พบหลักฐานว่า ภาพที่ใช้ประกอบนั้นเป็นภาพเก่าของสำนักข่าวประชาชาติธุรกิจ ได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2562 กระทังกระแสตีกลับ และชาวเน็ตได้มีการทวงถามไปที่เฟซบุ๊กต้นเรื่องซึ่งเจ้าตัวก็ยอมรับว่าเป็นภาพเก่า จริง
5. และจากการตรวจสอบบนหน้า เฟซบุ๊กของ Zen Wide ล่าสุด เมื่อเวลา17.50น.ของวันที่19 มี.ค.63 กลับไม่พบโพสต์ดังกล่าวแล้ว แต่เมื่อย้อนดูโพสต์เก่านั้น ปรากฏว่ามีบางโพสต์แสดงความคิดเห็นเชิงลบกับรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์
6. พฤติกรรมที่เกิดขึ้นนี้ เป็นรูปแบบเดิมของ เครือข่ายสื่อ "ฝ่ายประชาธิปไตย" ที่เริ่มด้วยการให้บุคคลหนึ่งเป็นต้นทางข่าวโพสต์ในโซเซียลมีเดีย แล้วใช้ เพจและโซเซียลต่าง ๆ แชร์เพื่อขยายผล จนสื่อหลักในเครือข่ายเอาไปทำเป็นข่าวเพื่อตอกย้ำและเพิ่มความน่าเชื่อถือ จนคนเข้าใจผิดกันไปทั้งประเทศ
เพียงครั้งนี้เปลี่ยนจากเรื่องการเมืองเดิม ๆ เรื่องเผด็จการ เรื่องแก้รัฐธรรมนูญ มาเล่นเรื่อง เชื้อโรค Covid-19 เพื่อบ่อนทำลายรัฐบาลเท่านั้น
7. ในสถานการณ์วิกฤติที่ทุกคนต้องช่วยเหลือร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อฝ่าวิกฤตินี้ออกไปให้ได้ สื่อยิ่งต้องตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาของข่าวให้มากขึ้นก่อนนำเสนอ
และย้ำว่า ต้องแสดงความรับผิดชอบ ขอโทษต่อสาธารณะอย่างเปิดเผย ในการนำเสนอข่าวที่ผิดพลาดในครั้งแรก จะเอาคำชี้แจงของ ทอท.มาแทนคำขอโทษไม่ได้ เพราะความเสียหายและเข้าใจผิดนั้นได้เกิดขึ้นไปแล้ว
ไม่นับว่ามีสื่อมวลชนจำนวนหนึ่งกลับแยกแยะประเด็นการเมืองออกจากวิกฤติโรคระบาดไม่ได้ ช่วยกันสร้างข่าวปลอม ข่าวที่ทำให้ตื่นตระหนกจนอาจทำให้การแก้วิกฤติที่กำลังทำเสียหายหรือล้มเหลวได้
สื่อมวลชนแบบนี้ถือได้ว่ากำลัง "ร่วมกันทำลายชาติ" ในสถานการณ์วิกฤติ
8. ถึงเวลาที่นายกฯจะต้องประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ได้แล้ว ก่อนจะต้องรับทั้งศึกเชื้อโรค รับทั้งศึกข่าวปลอม จนจะรับมือไม่ไหว ฉิบหายกันไปหมด เพราะใน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน นายกฯจะมีอำนาจสิทธิขาดในการควบคุมการนำเสนอข่าวอย่างเต็มที่
(ม.9 ว.3) ห้ามการเสนอข่าว...ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน (เช่น fake news) จนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือทั่วราชอาณาจักร
ไม่ต้องสนหน้าอินทร์หน้าพรหมที่ไหนมาอ้างเสรีภาพสื่อ สื่อไหนปล่อยข่าวแล้วสร้างความสับสน ทำให้แก้วิกฤติยากขึ้น สั่งปิดได้ทันที
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายกิตติพงษ์ กิตติขจร รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยถึงกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ข้อความว่าได้เดินทางกลับจากบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน 1 ในประเทศที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 มายังสนามบินสุวรรณภูมิ พร้อมกับนักเดินทาง 5-6 ร้อยคนที่เดินทางมากับเที่ยวบินอื่น แต่กลับไม่ได้รับการตรวจคัดกรองจากเจ้าหน้าที่สนามบินสุวรรณภูมิว่า
ยืนยันว่าสนามบินสุวรรณภูมิมีการติดตั้งเครื่องเทอร์โมสแกน เพื่อตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 ไว้ครบทุกจุด ทั้งฝั่งผู้โดยสารขาออกและขาเข้าประเทศ โดยฝั่งผู้โดยสารขาเข้าจะมีเครื่องเทอร์โมสแกนตรวจวัดอุณหภมิ 2 จุด คือ บริเวณทางแยก
และก่อนผู้โดยสารจะผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมือง ทั้งนี้ หากเครื่องเทอร์โมสแกนตรวจไม่พบว่ามีไข้ผู้โดยสารจะสามารถเดินผ่านไปได้เลยตามปกติ แต่หากเครื่องตรวจพบพบว่ารายใดมีไข้ เจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรคจะเข้าไปหา และนำตัวไปตรวจคัดกรองอย่างละเอียดต่อไป
อ่านข่าว - ทอท.แจงด่วนหนุ่มไทยโพสต์โชว์พราว บินจากสเปนเดินผ่านชิลๆ
ขณะที่นักการเมืองฝ่ายค้าน อีกคนหนึ่งที่หยิบยกเรื่องนี้ มาเป็นประเด็นในลักษณะดิสเครดิต การทำงานของรัฐบาล และ หน่วยราชการ ก็คือ จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการหลายกระทรวง เคยเป็นอดีต ส.ส.ฉะเชิงเทราหลายสมัย จนถูกนำไปวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างจากสื่อโซเชียล