นักวิชาการ มธ. พล่านสุดๆ จิกแขวะบทบาทโฆษกศบค.เป็นผลผลิตอำนาจนิยม

จากประเด็นร้อน กรณีนายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการและผู้ดำเนินรายการข่าว วิจารณ์เหน็บแนม โฆษกศบค. มาถึงอีกหนึ่งนักวิชาการ ค่ายธรรมศาสตร์

กลายเป็นประเด็นร้อนต่อเนื่อง  จากกรณีนายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์   นักวิชาการและผู้ดำเนินรายการข่าว ซึ่งมีจุดยืนชัดเจนในการต่อต้าน  การบริหาราชการแผ่นดินของรัฐบาล  พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา   ได้ทวิตข้อความในเชิงเสียดสีการทำหน้าที่โฆษกศบค. ของ นพ. ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน  ผู้อำนวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์   ในฐานะโฆษก ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (ศบค.)  จนเกิดข้อโต้แย้ง เป็นคำถามกลับไปถึง บทบาทของศิโรตน์  ในหลายแง่มุมเช่นกัน  

 

นักวิชาการ มธ. พล่านสุดๆ จิกแขวะบทบาทโฆษกศบค.เป็นผลผลิตอำนาจนิยม


(คลิกอ่านข่าวประกอบ :  ดูชัดๆคำแถลงศบค. ศิโรตม์ มั่วโพสต์แขวะ นพ.ทวีศิลป์ ทำตัวเป็นโฆษกรัฐ ป้าฟองเหลืออด ต้องออกโรงเตือน)
 

ล่าสุด รศ.ดร. อนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   และ ผู้ประสานงานเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) เป็นอีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งเคลื่อนไหววิพากษ์วิจารณ์ การเสียสละทำหน้าที่ เป็นโฆษกศบค. ของ  นพ. ทวีศิลป์   โดยโพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊ก ว่า  "หมอ ทหาร และเชื้อไวรัส"  

 

นักวิชาการ มธ. พล่านสุดๆ จิกแขวะบทบาทโฆษกศบค.เป็นผลผลิตอำนาจนิยม

 

"นักทฤษฎีด้านอำนาจคนหนึ่งเสนอว่าสถาบันเบ็ดเสร็จจำพวกคุก  โรงพยาบาลบ้า และค่ายทหาร  ต่างมีวิถีอำนาจหลักเหมือนกันคือวินัย ภายใต้สถาบันเหล่านี้ ผู้คุม จิตแพทย์ และนายทหาร จะใช้อำนาจในการปรับเปลี่ยนนักโทษ คนบ้า และพลทหารให้มีความเชื่องเชื่อและใช้ประโยชน์ได้ โดยอาศัยแหล่งอ้างอิงการใช้อำนาจต่างกันออกไป เช่น จิตแพทย์อาศัยอำนาจจากวิชาจิตเวชศาสตร์ในการบำบัดรักษาคนบ้า ขณะที่นายทหารอาศัยอำนาจจากสายบังคับบัญชาในการฝึกฝนพลทหาร พวกเขาจึงคุ้นเคยกับการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จภายในสถาบันของตนเหมือนกัน

 

สังคมไทยพิเศษตรงที่สนับสนุนให้บุคคลเหล่าใช้อำนาจเบ็ดเสร็จด้านนอกสถาบัน    เพราะเป็นสังคมที่นิยมอำนาจ    นอกจากจะเป็นอาชีพที่ได้รับการยกย่องและยำเกรงในสภาวะปกติ เมื่อเกิดวิกฤติการณ์ขึ้นมา   พวกเขามักจะถูกเรียกร้องให้เข้ามาแก้ไขโดยใช้อำนาจที่มีอยู่ในมือ 

เราจึงเห็นการใช้คำเรียกพวกเขาสลับหรือแทนที่กันได้   ในการระบาดของไวรัสครั้งนี้   ไม่ว่าจะเป็นการเรียกบุคลากรทางการแพทย์ว่า “นักรบชุดขาว” “อัศวินเสื้อกาวน์” การเรียกการรักษาพยาบาลว่า “สู้ศึก” หรือการเรียกอุปกรณ์ทางการแพทย์ว่า “อาวุธ” 

การเปรียบเปรยเหล่านี้แม้จะต้องการสร้างความฮึกเหิม ยกย่อง และให้กำลังใจ แต่ก็สะท้อนให้เห็นลักษณะอำนาจนิยมของสังคมไทย   ที่ต้องการให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จในการคลี่คลายปัญหาเหมือนกับทหาร

 

นักวิชาการ มธ. พล่านสุดๆ จิกแขวะบทบาทโฆษกศบค.เป็นผลผลิตอำนาจนิยม

 

 

ในทำนองเดียวกัน การที่โฆษก ศบค. มักเปรียบเปรยการรับมือสถานการณ์  การระบาดของไวรัสกับการทำศึกสงคราม  อย่างการเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดว่า “พ่อเมือง” เรียกการระบาดว่า "ตีค่าย" และเรียกการตรวจพบผู้ติดเชื้อในแต่ละจังหวัดว่า “ป้อมแตก” จึงไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของการสร้างสีสันและความเป็นกันเองในการแถลงข่าว 

 

นักวิชาการ มธ. พล่านสุดๆ จิกแขวะบทบาทโฆษกศบค.เป็นผลผลิตอำนาจนิยม

 

หากแต่เป็นการเลือกใช้คำศัพท์หรือสำนวนที่เข้าถึง   หรือโดนใจคนในสังคมที่ต้องการเห็นการใช้อำนาจเด็ดขาดในยามวิกฤติ ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นว่าเพราะความที่เป็นจิตแพทย์ เขาจึงคุ้นเคยและเห็นความคล้ายคลึงของการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จภายในโรงพยาบาลบ้าและค่ายทหาร   และไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจหากสังคมหรือสื่อจะใช้ศัพท์แสงทางการศึกสงคราม  มาเรียกปฏิบัติการทางการแพทย์แทน ไม่นับรวมความใกล้ชิดรัฐบาลด้วยเหตุผลทางการเมือง   ที่ทำให้ระยะหลังเขาแสดงบทบาทเป็นโฆษกส่วนตัวของนายกรัฐมนตรี  อดีตทหาร   รวมถึงรัฐบาลมากเข้าไปทุกที

 

ว่ากันว่าวิกฤติเผยให้เห็นธาตุแท้ของสังคม การระบาดของไวรัสครั้งนี้ก็เผยให้เห็นธาตุแท้ของสังคมไทยอีกครั้ง    โดยเฉพาะในด้านอำนาจนิยม   แต่ที่ต่างจากทุกครั้งที่ผ่านมาก็คือว่า   มันได้ดึงเอาอำนาจเบ็ดเสร็จของแพทย์ที่ปกติจะจำกัดอยู่ในสถาบัน   ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับอำนาจเบ็ดเสร็จของทหารในบริบทของ  “การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน” ซึ่งหากเราไม่ตระหนักหรือว่าไม่ระมัดระวังพอ เราก็จะกลายเป็น “ผู้ป่วย” ที่ไม่มีวันหายและตกอยู่ภายใต้การบงการของอำนาจเบ็ดเสร็จเหล่านี้ไม่มีที่สิ้นสุด