ปิยบุตร เจตนาอะไร ย้อนเหตุ 14 ปีตุลาการภิวัฒน์  โยงพระราชดำรัสครั้งอดีต

ภายหลังจากนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ในฐานแกนนำคณะก้าวหน้า ออกมาเคลื่อนไหว วิพากษ์วิจารณ์การใช้อำนาจในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พร้อม ๆ กับพฤติการณ์ปรากฎในโลกโซเชียล ต่อการปลุกระดมให้มีการแสดงความรู้สึกต่อต้านรัฐบาลผ่านโลกโซเชียล โดย "สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย - Student Union of Thailand" ตามข้อความระบุว่า ... สนท. ขอเชิญชวนชาวไทยทุกคนร่วมประท้วงออนไลน์โดยการถ่ายรูปถือป้ายแสดงความรู้สึกต่อรัฐบาลพร้อมติด #MobFromHome "โควิดหายมาไล่รัฐบาลกันไหม?"

ภายหลังจากนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ในฐานแกนนำคณะก้าวหน้า  ออกมาเคลื่อนไหว วิพากษ์วิจารณ์การใช้อำนาจในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พร้อม ๆ กับพฤติการณ์ปรากฎในโลกโซเชียล  ต่อการปลุกระดมให้มีการแสดงความรู้สึกต่อต้านรัฐบาลผ่านโลกโซเชียล  โดย "สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย - Student Union of Thailand" ตามข้อความระบุว่า ...  สนท. ขอเชิญชวนชาวไทยทุกคนร่วมประท้วงออนไลน์โดยการถ่ายรูปถือป้ายแสดงความรู้สึกต่อรัฐบาลพร้อมติด #MobFromHome  "โควิดหายมาไล่รัฐบาลกันไหม?"

 

ปิยบุตร เจตนาอะไร ย้อนเหตุ 14 ปีตุลาการภิวัฒน์  โยงพระราชดำรัสครั้งอดีต

(คลิกอ่านข่าวประกอบ :  ธนาธรอีกแล้ว ซัดบิ๊กตู่พวกสร้างปัญหา ต้องนำปชต.คืนไทย สนท.รับลูกผุดแคมเปญไล่รัฐบาล

ล่าสุดนายปิยบุตร แสงกนกกุล  อดีตเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่    ในฐานะแกนนำคณะก้าวหน้า   ได้แชร์ข้อความประกอบคลิป ในหัวข้อ "14 ปี 25 เมษายน 2549 “ตุลาการภิวัตน์” : จาก “ตุลาการภิวัตน์” ผ่าน “ศาลรัฐประหาร” สู่ “นิติสงคราม”  มีใจความสำคัญ  ระบุว่า  วันนี้ 25 เมษายน ครบรอบกำเนิด “ตุลาการภิวัตน์” 14 ปี ขบวนการ “ตุลาการภิวัตน์” ได้เปลี่ยนรูปไปตามสถานการณ์ทางการเมือง จาก “ตุลาการภิวัตน์” ที่กระตือรือร้น ตีความขยายความ เพื่อตรวจสอบรัฐบาลและเสียงข้างมากจากการเลือกตั้ง  ไปสู่ “ศาลรัฐประหาร” ที่รับรองการใช้อำนาจของคณะรัฐประหาร ไม่ตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะรัฐประหารและพวก

 

ปิยบุตร เจตนาอะไร ย้อนเหตุ 14 ปีตุลาการภิวัฒน์  โยงพระราชดำรัสครั้งอดีต


มาวันนี้ ปรับโฉมสู่ “นิติสงคราม” คือ กลายสภาพเป็นกลไกของการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือกำจัดศัตรูทางการเมือง  ขบวนการทั้งหมดนี้ ไม่สามารถแก้ไขวิกฤตการเมืองไทยได้ดังที่ต้องการแต่แรกตรงกันข้าม มันกลับตอกลิ่มความขัดแย้งให้ร้าวลึกลงไปมากขึ้น และกว้างขวางขึ้น  ร้าวลึกขึ้น เพราะ คนไม่เขื่ออีกแล้วว่ากระบวนการยุติธรรมจะยุติธรรม

 

กว้างขวางขึ้น เพราะ คนจำนวนมาก หลากหลายวัย จากรุ่นสู่รุ่นได้ประสบพบเจอกับตนเอง คนจำนวนมากตั้งคำถามกับองค์กรตุลาการและองค์กรอิสระ และสรุปให้เป็นส่วนหนึ่งของวิกฤติ ไม่ใช่พระผู้มาโปรดแก้วิกฤติ “อำนาจ” ดำรงอยู่ได้ ตราบเท่าที่คนทั้งปวงเชื่อว่า ณ ที่แห่งนั้นมี “อำนาจ”  อำนาจตุลาการศักดิ์สิทธิ์ได้ เพราะ เรื่องเล่าทำให้คนเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ เมื่อไรก็ตามที่คนไม่เชื่อเรื่องเล่าเหล่านั้นอีกแล้ว ความศักดิ์สิทธิ์ที่ว่าก็ปลาสนาการไป

 


"ผมฝึกฝนมาทางนิติศาสตร์ ประกอบอาชีพเป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มากกว่าทศวรรษที่ผมได้สังเกตการณ์ วิพากษ์วิจารณ์ “ตุลาการภิวัตน์” มาอย่างต่อเนื่อง ก็ด้วยเล็งเห็นว่า ขบวนการนี้ไม่สามารถทำให้สุขภาพของประชาธิปไตยไทยดีขึ้นอย่างที่เชื่อกัน แต่มันจะทำให้องค์กรตุลาการและองค์กรอิสระเข้ามามีบทบาทครอบงำสังคมไทยจนเสียดุลยภาพ และในท้ายที่สุด จะพังกันทั้งระบบ

 

ปิยบุตร เจตนาอะไร ย้อนเหตุ 14 ปีตุลาการภิวัฒน์  โยงพระราชดำรัสครั้งอดีต

จนกระทั่งผมลาออกจากวิชาชีพอาจารย์ประจำ   มาก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่และลงสมัครรับเลือกตั้ง   ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากคนที่สังเกตการณ์ วิพากษ์วิจารณ์ ก็กลายมาเป็นผู้ประสบภัยเสียเอง  ขบวนการทั้งหมดนี้ ไม่สามารถแก้ไขวิกฤตการเมืองไทยได้ดังที่ต้องการแต่แรก    ตรงกันข้ามกลับตอกลิ่มความขัดแย้งให้ร้าวลึกลงไปมากขึ้น และกว้างขวางขึ้น ร้าวลึกขึ้น เพราะคนไม่เชื่ออีกแล้วว่ากระบวนการยุติธรรมจะยุติธรรม   คนจำนวนมากตั้งคำถามกับองค์กรตุลาการและองค์กรอิสระ และสรุปให้เป็นส่วนหนึ่งของวิกฤติ ไม่ใช่พระผู้มาโปรดแก้วิกฤติ"

 


อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตุว่า ในคลิปการแสดงความเห็นทางการเมืองความยาวกว่า 50 นาที  ดังกล่าว  นายปิยบุตร ได้พูดบางช่วงบางตอนถึง  เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์   โดยระบุว่าภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9   ทรงมีพระราชดำรัส  2 องค์  ที่สำคัญอย่างยิ่ง  คือ องค์แรกมีต่อตุลาการศาลปกครอง และ องค์ที่ 2 มีต่อผู้พิพากษาประจำศาลยุติธรรม ผลต่อเนื่องจากพระราชดำรัสทั้ง 2 องค์นี้  ทำให้ประธานศาลปกครอง  ประธานศาลรัฐธรรมนูญ  และประธานศาลฎีกา  จัดประชุมร่วมกันเพื่อหาวิธีการแก้วิกฤตการณ์ทางการเมือง ผลของพระราชดำรัสทั้ง 2 องค์นี้ทำให้เป็นที่มาของคำว่าตุลาการภิวัฒน์...

 


นอกจากนี้ นายปิยบุตร ยังอธิบายด้วยว่า  หลังจากมีพระราชดำรัสจึงได้เห็นการที่ระบบตุลาการ   เข้ามามีบทบาทในวิถีทางการเมืองเป็นระยะ  ยกตัวอย่างในวันที่ 25  เมษายน  2549  หลังจากนั้นก็ตามมาด้วย ศาลปกครองสูงสุด และศาลรัฐธรรมนูญ  ได้วินิจฉัยตรงกัน   ให้การเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549  เป็นโมฆะ  

 

จากนั้นมีการประชุมของทั้ง 3 ศาลเพือจะกดดันให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทั้ง 4 คนออกจากตำแหน่ง เพื่อเปิดทางให้ศาลฎีกาเข้าไปสรรหากกต.คนใหม่เข้าไปแทนที่  ต่อมามีการลาออกไป 1 คน  แต่อีก 3 คนไม่ได้ลาออก แต่จากนั้นกกต. 3 คนที่ไม่ยอมลาออก  ก็ถูกศาลอาญาพิพากษาให้จำคุก 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา ในฐานความผิดละเว้นการปฏืบัติหน้าที่ ด้วยการจัดเลือกตั้งแล้วการเลือกตั้งนั้นเป็นโมฆะ  กระทั่งเกิดรัฐประมาณ 19 กันยายน 2549  ที่เราเรียกได้ว่าเป็นยุคตุลาการภิวัฒน์ภาคที่ 1 ...

 

 

ปิยบุตร เจตนาอะไร ย้อนเหตุ 14 ปีตุลาการภิวัฒน์  โยงพระราชดำรัสครั้งอดีต