ย้อนชีวิต ดา ตอร์ปิโด อดีตนักโทษหมิ่นเบื้องสูง มะเร็งลามหนักก่อนสิ้นใจวัย 62

ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง สืบเนื่องจากการที่ นายปิยบุตร แสงกนกกุล แกนนำคณะก้าวหน้า และอดีตเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ออกมาโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ถึง นายนุรักษ์ มาประณีต อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรณีได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี อย่างมีนัยแฝงทางการเมืองว่าการโพสต์ด้วยเนื้อหาต่างๆ ที่เลือกนำมาใช้ เจตนาของการชึ้ประเด็นดังกล่าว อาจคาบเกี่ยวกับพระราชอำนาจของสถาบันฯเบื้องสูงในลักษณะของการก้าวล่วงพระราชอัธยาศัย

ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง สืบเนื่องจากการที่ นายปิยบุตร แสงกนกกุล แกนนำคณะก้าวหน้า และอดีตเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ออกมาโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ถึง นายนุรักษ์ มาประณีต  อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรณีได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี  อย่างมีนัยแฝงทางการเมืองว่าการโพสต์ด้วยเนื้อหาต่างๆ ที่เลือกนำมาใช้ เจตนาของการชึ้ประเด็นดังกล่าว อาจคาบเกี่ยวกับพระราชอำนาจของสถาบันฯเบื้องสูงในลักษณะของการก้าวล่วงพระราชอัธยาศัย

 

 

(คลิกอ่านข่าวประกอบ : อดีตส.ส.เพื่อไทยจัดหนักปิยบุตร เจตนาชัดก้าวล่วง วิจารณ์องคมนตรีใหม่ได้รับโปรดเกล้าฯ)
 


กระทั่งต่อมา เฟซบุ๊ก ในนามของความสงบเรียบร้อย รายงานว่า ดา ตอร์ปิโด หรือ ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล นักเคลื่อนไหวทางการเมืองชื่อดัง ได้เสียชีวิตแล้ว หลังเข้ารับการรักษาตัวจากโรคมะเร็งเต้านมที่โรงพยาบาลศิริราช ทั้งนี้ ดา ตอร์ปิโด ได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 ในวัย 62 ปี และจะมีการตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ วัดเทวสุนทร (ลาดยาว จตุจักร) ศาลา 1 


ด้าน เอกชัย หงส์กังวาน นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กส่วนตัว ก่อนที่ ดา ตอร์ปิโด จะเสียชีวิต ว่า ผมได้รับแจ้งข่าวถึงอาการป่วยของ ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล (ดา ตอปีโด) ซึ่งเป็นมะเร็งเต้านมจนลุกลามถึงคอ อย่างไรก็ตามเธอไม่สามารถเบิกค่ารักษาจึงต้องรอคิวผ่าตัดจากหลักประกันสุขภาพซึ่งไม่รู้ต้องใช้เวลาแค่ไหน เมื่อกี้ผมโทรศัพท์สนทนากับ ดารณี ชาญเขิงศิลปกุล เธอขอให้ผมลบภาพ เหล่านี้ออก เธอชี้แจงว่า เธอยังไม่ป่วยถึงระยะที่ 4 รอยแผลเกิดจากการล้าง
แผล ผมจึงขออภัยที่นำภาพของเธอมาเผยแพร่


ทั้งนี้ ก่อนที่ ดา ตอร์ปิโด จะเสียชีวิต น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือ โบว์ ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก  Bow Nuttaa Mahattana ในปี 2562 โดยมีการแชร์ข้อความมาจากเพจๆหนึ่งด้วย ซึ่งเนื้อหาระบุว่า   # ขอถังออกซิเจนขนาดเล็ก เรื่องต่อเนื่องจากโพสต์ที่แล้ว พี่ดาแจ้งมาว่า"หมอแนะนำให้ซื้อถังออกซิเจนขนาดเล็ก แบบเติมบ่อยๆ จะได้ช่วยแก้เรื่องเหนื่อยได้"

หากย้อนไปเมื่อปี 2551 ดา ตอร์ปิโด ได้กลายเป็นประเด็น ทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ เพียงชั่วข้ามคืน จากกรณีที่กองทัพบกทำหนังสือแจ้งไปยังกองบัญชาการตำรวจนครบาล ให้ดำเนินคดีกับ นางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ "ดา ตอร์ปิโด" หลังจากที่เธอทำการปราศรัยที่ท้องสนามหลวงมีข้อความจาบจ้วงหมิ่นเบื้องสูง ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนักถึงความไม่เหมาะสม 


นั่นทำให้ใครหลายๆ คนสงสัยว่าเธอคือใคร ซึ่ง ดา ตอร์ปิโด หรือ นางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล วัย 45 ปี เป็นชาวกรุงเทพมหานคร โดยกำเนิด และด้วยความที่สนใจข่าวสารโดยเฉพาะข่าวการเมือง จึงเข้าศึกษาต่อที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หลังจากนั้นก็เริ่มต้นชีวิตการทำงาน ด้วยการเป็นนักข่าวด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ของหลายๆ สำนักพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็น วัฏจักร พิมพ์ไทย ไทยสกายทีวี

 แต่หลังจากเกิดการปฏิวัติ ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ดา ตอร์ปิโด ได้ตัดสินใจลาออกจากอาชีพนักข่าวอย่างกระทันหัน โดยให้เหตุผลว่า "ไม่อยากเป็นสื่อมวลชนที่ถูกครอบงำ อยากทำงานอย่างอิสระ วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เรียกร้องประชาธิปไตยได้อย่างเต็มที่ ตรงไปตรงมา ไม่ต้องมีใครกลัวใคร"

ก่อนหน้านี้อาจจะไม่ค่อยมีใครรู้จัก "ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล" แต่หลังจากที่เธอได้ตั้งเครือข่ายสภาประชาชนเรียกร้องประชาธิปไตย เธอก็เป็นที่รู้จักและได้รับฉายาว่า "ดา ตอร์ปิโด" ซึ่งเป็นฉายาที่เพื่อนๆ ตั้งให้เนื่องจากเห็นลีลาการปราศรัยบนเวทีที่ดุเด็ด เผ็ดมัน ทั้งอารมณ์ น้ำเสียง ถ้อยคำ ที่คล้ายกับระเบิดตอร์ปิโดลง

สำหรับจุดยืนที่ "ดา ตอร์ปิโด" ได้ตั้งเครือข่ายสภาประชาชนเรียกร้องประชาธิปไตยนี้ เพื่อเรียกร้องให้มีการนำรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2540 กลับมาใช้เลือกตั้ง พร้อมกับเป็นตัวตั้งตัวตีลุกขึ้นมาประท้วงการทำงาน ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ด้วยรูปแบบการปราศรัยที่ดุเดือด

 และคืนวันที่ 31 พฤษภาคม 2550 ดา ตอร์ปิโด ได้ไปรวมกลุ่มกับ "พีทีวี" (PTV) ที่บริเวณท้องสนามหลวง (ขณะนั้นกลุ่มพีทีวีกำลังตั้งเวทีขับไล่รัฐบาลนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนน์) โดย ดา ตอร์ปิโด ได้เปิดเวทีเล็กๆ ด้านข้างเวทีใหญ่ของพีทีวี ด่าทอคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ตุลาการรัฐธรรมนูญ และ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ จนกระทั่ง นางยุพา อิ่มแดง อายุ 34 ปี แม่ค้าขายดอกไม้ ย่านปากคลองตลาด ทนไม่ไหว ถึงกับนำถุงพลาสติกที่ข้างในใส่อุจจาระปาใส่หน้า ดา ตอร์ปิโด ทำให้ขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์หลายฉบับ


ต่อมาหลังจากการเลือกตั้ง เดือนธันวาคม 2550 เสร็จสิ้น รัฐบาลพรรคพลังประชาชนก็ได้เข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศต่อ เป็นผลทำให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (People's Alliance for Democracy: PAD) ลุกขึ้นมาประท้วงขับไล่รัฐบาลพรรคพลังประชาชน โดยอ้างว่าเป็นรัฐบาลนี้ยังคงเป็นเครือข่ายของระบอบทักษิณ (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี) ทำให้ ดา ตอร์ปิโด ลุกขึ้นมาต่อต้านกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอีกครั้งเช่นกัน โดยร่วมกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และเปิดการชุมนุมต่อต้านกลุ่มพันธมิตรที่บริเวณท้องสนามหลวง

และเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2551 ดา ตอร์ปิโด ได้ขึ้นเวทีปราศรัยกลุ่มต่อต้านพันธมิตร ณ บริเวณท้องสนามหลวง ระหว่างปราศรัยนี้เธอได้ใช้ถ้อยคำดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันเบื้องสูง อันเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และถือเป็นการมิบังควรอย่างที่สุด ทำให้กองทัพบกมีหนังสือด่วนที่สุด ถึงผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เรื่องขอให้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดต่อพระมหากษัตริย์ ทำให้ ดา ตอร์ปิโด ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดี

อย่างไรก็ตาม แม้ "ดา ตอร์ปิโด" จะยืนหยัดเรียกร้องประชาธิปไตย แต่ทุกฝ่ายก็ไม่เห็นด้วย ที่เธอจะนำเอาสถาบันเบื้องสูงที่ประชาชนคนไทยเคารพรักยิ่งมาพาดพิงเช่นนี้ และพฤติกรรมของเธอก็ถือว่าไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง