ดร.สามารถ ชำแหละเบื้องหลังบินไทยขาดทุน  ถ้าแก้ผิดจุดถึงขั้นต้องใช้พ.ร.บ.ล้มละลาย

ถือเป็นสถานการณ์ต้องเฝ้าติดตามว่าผลลัพธ์สุดท้ายของการแก้ไขวิกฤฤตของบมจ.การบินไทย หลังจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ลั่นคำว่าเป็นโอกาสสุดท้ายของทุกฝ่ายที่จะต้องร่วมมือกันทำให้สำเร็จ ถ้าคิดจะฟื้นฟูกิจการสายการบินแห่งชาติให้ยังคงสถานะไว้ได้

ถือเป็นสถานการณ์ต้องเฝ้าติดตามว่าผลลัพธ์สุดท้ายของการแก้ไขวิกฤฤตของบมจ.การบินไทย  จะออกมาในรูปแบบไหน อย่างไร   หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  และ รมว.กลาโหม  ลั่นคำว่าเป็นโอกาสสุดท้ายของทุกฝ่ายที่จะต้องร่วมมือกันทำให้สำเร็จ  ถ้าคิดจะฟื้นฟูกิจการสายการบินแห่งชาติให้ยังคงสถานะไว้ได้

 

ดร.สามารถ ชำแหละเบื้องหลังบินไทยขาดทุน  ถ้าแก้ผิดจุดถึงขั้นต้องใช้พ.ร.บ.ล้มละลาย

(คลิกอ่านข่าวประกอบ  :   ดร.สามารถ ชี้ชัดๆจากคำพูดของบิ๊กตู่ ต้องเริ่มต้นจาก 3 ข้อเสนอ ถ้าคิดจริงจังฟื้นบินไทย  )  

ล่าสุด  ดร.สามารถ  ราชพลสิทธิ์  รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  และ  อดีตรองผู้ว่าฯกทม.   ได้โพสต์เพิ่มเติมแสดงแนวคิดต่อประเด็นปัญหาของ บมจ.การบินไทย  ว่า  "ใครที่ได้ส่องดูผลประกอบการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ บกท.ก็จะต้องเป็นห่วงสถานะทางการเงินของ บกท.อย่างยิ่ง เพราะมีหนี้สะสมสูงถึง 244,899 ล้านบาท (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562) ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินงานขาดทุนต่อเนื่องมานานหลายปี จนถึงปีที่แล้ว (2562) บกท.ขาดทุน 12,017 ล้านบาท ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องหาทางลดการขาดทุนลงให้ได้

 

ดร.สามารถ ชำแหละเบื้องหลังบินไทยขาดทุน  ถ้าแก้ผิดจุดถึงขั้นต้องใช้พ.ร.บ.ล้มละลาย


ผลการดำเนินงานขาดทุนของ บกท.นั้น เกิดจากการดำเนินงานของ บกท.เอง และบริษัทอื่นหรือบริษัทย่อยที่ บกท.ถือหุ้นอยู่ เฉพาะบริษัทที่ บกท.ถือหุ้นเกิน 10% มีถึง 10 บริษัท เช่น บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด บริษัท ทัวร์เอื้องหลวง จำกัด บริษัท วิงสแปน เซอร์วิสเซส จำกัด (บริหารจัดการเรื่องบุคลากรให้ บกท.) และบริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นต้น


เมื่อดูผลประกอบการของบริษัทดังกล่าวที่ บกท.ถือหุ้นอยู่ ปรากฏว่าไทยสมายล์ซึ่ง บกท.ถือหุ้นทั้งหมด 100% ขาดทุนมากที่สุด โดยในปี 2561 ไทยสมายล์ขาดทุนถึง 2,602 ล้านบาท และขาดทุนต่อเนื่องมาทุกปีตั้งแต่จัดตั้งมาในปี 2555 ถึงเวลานี้ไทยสมายล์ขาดทุนสะสมรวมกันกว่า 8,000 ล้านบาท ด้วยเหตุนี้ จึงถึงเวลาแล้วที่ บกท.จะต้องทุบโต๊ะหาทางจัดการขั้นเด็ดขาดกับไทยสมายล์ให้ได้

บกท.จัดตั้งไทยสมายล์ขึ้นมาโดยมุ่งหวังที่จะให้บริการกลุ่มลูกค้าที่อยู่ตรงกลางระหว่างสายการบินปกติและสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Carriers หรือ LCC) จึงได้จัดวางตำแหน่งตนเองเป็น “พรีเมี่ยมโลว์คอสต์” (Premium Low Cost) หรือสายการบินต้นทุนต่ำที่มีคุณภาพสูง ดังนั้น ไทยสมายล์จึงต้องให้บริการเหนือกว่าสายการบินต้นทุนต่ำ เช่น ให้บริการอาหารว่างและน้ำบนเครื่องฟรี ในขณะที่สายการบินต้นทุนต่ำผู้โดยสารต้องซื้อ และให้บริการโหลดสัมภาระใต้เครื่องฟรีไม่เกิน 20 กิโลกรัม ในขณะที่สายการบินต้นทุนต่ำคิดค่าโหลด เป็นต้น

 

การให้บริการที่สูงกว่าเหล่านี้ทำให้ต้นทุนการบริหารจัดการของไทยสมายล์สูงตามขึ้นด้วย เพราะ “คุณภาพเป็นตัวกำหนดราคา” ดังนั้น ถ้าต้องการให้ไทยสมายล์สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ค่าโดยสารจะต้องสูงกว่าค่าโดยสารของสายการบินต้นทุนต่ำ แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงที่มีสายการบินต้นทุนต่ำให้บริการอยู่จำนวนมาก ทำให้มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด ส่งผลให้ไทยสมายล์จำเป็นต้องกัดฟันสู้ด้วยกลยุทธ์ด้านราคา เพื่อให้สามารถยืนหยัดต่อสู้กับสายการบินต้นทุนต่ำได้ ดังจะเห็นได้ว่า มีหลายโอกาสที่ค่าโดยสารของไทยสมายล์ถูกกว่าค่าโดยสารของสายการบินต้นทุนต่ำ แต่อย่างไรก็ตาม สู้ไปสู้มา สุดท้ายกลับขาดทุนป่นปี้ทุกปี ไม่ว่าจะเพิ่มเส้นทางแล้วก็ตาม

ทั้งนี้ ตอนแรกไทยสมายล์ให้บริการเฉพาะเส้นทางภายในประเทศ ตอนหลังได้เพิ่มเส้นทางไปสู่หลายประเทศในภูมิภาคนี้ แต่ก็ยังสู้ไม่ได้ สวนทางกับการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก่อนมีโควิด-19 ครั้นจะหันหน้าไปพึ่งบริษัทแม่หรือ บกท.ซึ่งถือหุ้น 100% ให้หาเงินมาโปะ ก็ไม่มีทางเพราะ บกท.ก็ขาดทุนบักโกรกอยู่แล้ว อุ้มลูกไม่ไหวแน่

 

ดร.สามารถ ชำแหละเบื้องหลังบินไทยขาดทุน  ถ้าแก้ผิดจุดถึงขั้นต้องใช้พ.ร.บ.ล้มละลาย

ด้วยเหตุนี้ ผมจึงขอเสนอให้ บกท.พิจารณาดำเนินการต่อไทยสมายล์ ดังนี้

1. ยุบไทยสมายล์

หาก บกท.เห็นว่า ไม่มีทางพลิกฟื้นให้ไทยสมายล์กลับมามีกำไรได้ และหากเห็นว่าไม่จำเป็นจะต้องอาศัยไทยสมายล์ช่วยขนผู้โดยสารมาป้อนให้สายการบินไทย หรือรองรับผู้โดยสารจากสายการบินไทยในลักษณะ Feeder เพื่อขนผู้โดยสารไปสู่จุดหมายปลายทางต่อไป บกท.ก็ควรพิจารณายุบไทยสมายล์ทิ้งไป จะทำให้ช่วย บกท.ลดการขาดทุนได้ถึงปีละประมาณ 20% สัดส่วนที่ลดลงมากขนาดนี้ จะทำให้ บกท.ตัวเบาได้เป็นอย่างดีทีเดียว

2. ควบรวมไทยสมายล์กับ บกท.

ในกรณีที่ บกท.เห็นว่ายังมีความจำเป็นที่จะต้องรักษาเส้นทางของไทยสมายล์ไว้ เพื่อให้ขนผู้โดยสารมาป้อนให้สายการบินไทย และรองรับผู้โดยสารจากสายการบินไทย ก็ควรพิจารณาควบรวมกิจการของไทยสมายล์เข้ากับ บกท. เป็นบริษัทเดียว ซึ่งจะทำให้ค่าบริหารจัดการถูกกว่าแยกเป็น 2 บริษัท ทั้งนี้ ในอดีตเมื่อปี 2531 เคยมีการควบรวมกิจการของบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด (บดท.) เข้ากับการบินไทย เนื่องจาก บดท.ที่ให้บริการเฉพาะเส้นทางภายในประเทศเท่านั้นมีผลประกอบการขาดทุน ในขณะที่การบินไทยให้บริการเฉพาะเส้นทางระหว่างประเทศเท่านั้นมีผลประกอบการได้กำไร หลังจากควบรวมกิจการแล้ว ปรากฏว่าการบินไทยสามารถทำให้มีกำไรได้ทั้งเส้นทางภายในประเทศและเส้นทางระหว่างประเทศ

นอกจากนี้ บกท.ควรพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาการขาดทุนในบริษัทย่อยอื่นที่ บกท.ถือหุ้นอยู่ด้วย เช่น บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน บกท.ถือหุ้นอยู่ 13.28% สัดส่วนน้อยขนาดนี้ทำให้ บกท.ไม่มีอำนาจควบคุม ทั้งนี้ สัดส่วนนี้ลดลงจากเดิม 39% เนื่องจาก บกท.ไม่ยอมเพิ่มทุนตามที่มีการเพิ่มทุนเป็นระยะๆ นกแอร์มีผลประกอบการขาดทุนต่อเนื่องหลายปีเช่นเดียวกัน ในปีที่แล้ว (2562) ขาดทุน 2,051 ล้านบาท หาก บกท.เห็นว่านกแอร์ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ บกท. ก็ควรขายหุ้นที่ถืออยู่ทิ้งไปทั้งหมด

 

ดร.สามารถ ชำแหละเบื้องหลังบินไทยขาดทุน  ถ้าแก้ผิดจุดถึงขั้นต้องใช้พ.ร.บ.ล้มละลาย

 

ถ้า บกท.ไม่จัดการขั้นเด็ดขาดกับไทยสมายล์ และนกแอร์ รวมทั้งบริษัทย่อยอื่น เห็นทีจะหนีไม่พ้นที่ บกท.จะต้องถูกจัดการขั้นเด็ดขาดเสียเอง นั่นก็คือ บกท.จะต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้ พ.ร.บ.ล้มละลาย ที่มีเสียงแอบกระซิบมาว่าได้ถูกบรรจุไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการของ บกท.ซึ่งกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ในเร็วๆ นี้ เป็นแนวทางที่ 10 หรือแนวทางสุดท้าย จากทั้งหมด 10 แนวทาง หาก บกท.ไม่สามารถปฏิบัติตามแนวทางในแผนฟื้นฟูได้ประสบผลสำเร็จ   ทั้งหมดนี้ ด้วยความหวังดี และ “รัก บกท.เท่าฟ้า” ครับ

 

ต้องย้ำอีกครั้งว่ากรณีการแก้ไขวิกฤตบมจ.การบินไทย  มีความจำเป็นสูงสุดต้องทำให้สำเร็จ     และ  ก่อนหน้านั้น  นายนเรศ ผึ้งแย้ม   ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย พร้อมตัวแทนพนักงาน ร่วมยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม  แสดงจุดยืนของสหภาพฯ ต่อกรณีแผนฟื้นฟูบริษัทฯ การบินไทย จำกัด (มหาชน)รายละเอียดของหนังสือดังกล่าว

 

ดร.สามารถ ชำแหละเบื้องหลังบินไทยขาดทุน  ถ้าแก้ผิดจุดถึงขั้นต้องใช้พ.ร.บ.ล้มละลาย

 

ระบุว่า.. สืบเนื่องจากกระแสข่าวต่างๆ ในระยะเวลา 1 อาทิตย์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ปรากฏตามสื่อต่างๆในเรื่องของ กระทรวงคมนาคม คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.) และการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563

 

สหภาพแรงงานรัฐวิสหกิจการบินไทย ขอแสดงจุดยืนในการดูแล บริษัทการบินไทย จํากัด (มหาชน) โดยเน้นในเรื่องของสถานะสภาพความเป็นรัฐวิสาหกิจ และการอยู่ร่วมกันของหน่วยงานทุกหน่วยงานของบริษัทฯและการคุ้มครองสิทธิประโยชน์รวมถึงสวัสดิการของพนักงานบริษัทฯ ทุกท่านตามสภาพการจ้างที่มีอยู่เดิมตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน

อย่างไรก็ตาม สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย ขอแสดงความเห็นด้วยกับการปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับโครงสร้างขององค์กร การเพิ่มรายได้ การลดค่าใช้จ่าย การกำจัดอิทธิพลทางการเมือง ต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นทุกรูปแบบ รวมถึงการลดขนาดขององค์กรอย่างถูกต้องตามกฎหมายและด้วยความสมัครใจของพนักงาน ตามแผนฟื้นฟู บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่จะผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และไม่กระทบกับสภาพการจ้างของพนักงานบริษัทฯ

 

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย และพนักงานบริษัทฯ ยินดีให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการฟื้นฟู บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยขอแสดงเจตนารมณ์คัดค้านการแปรรูปบริษัทฯ ด้วยการแบ่งแยกหน่วยธุรกิจ ของบริษัทฯออกจากกัน และ/หรือ มีผลให้บริษัท การบินไทย พ้นจากความเป็นรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากการบินไทย เป็นสายการบินแห่งชาติ และต้องเป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น

 

อนึ่งเพื่อความสมบูรณ์ของแผนฟื้นฟูในการทำให้บริษัทฯ ดำเนินไปตามแผนฯ สหภาพฯ ขอทำหน้าที่ในการตรวจสอบ และหรือมีส่วนร่วมรับรู้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการปฎิบัติ เพื่อให้แผนฟื้นฟูนี้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์

 

ดร.สามารถ ชำแหละเบื้องหลังบินไทยขาดทุน  ถ้าแก้ผิดจุดถึงขั้นต้องใช้พ.ร.บ.ล้มละลาย

 

ล่าสุด นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  ได้โพสต์ข้อความระบุว่า หนี้การบินไทย 245,000 ล้านบาท สินทรัพย์ 257,000 ล้านบาท
 
ขายทุกอย่างที่มีอาจไม่พอชำระหนี้

บินไทยจะกู้อีก 5 หมื่นล้านบาท ขอรัฐบาลช่วยค้ำประกัน กู้เองไม่ได้

"อยู่ เย็น เป็น สุข" ในบ้านเดี่ยวหลังใหญ่ ที่มีนวัตกรรม Air-Flow

ถึงแม้รัฐจะอยากรื้อบินไทย คงทำยากเพราะเป็นเพียงผู้ค้ำ

ปล่อยให้บินไทยล้ม  แล้วรัฐเข้าอุ้มเต็มรูปแบบ พร้อมปรับโครงสร้างบินไทยใหม่หมด...ไหวไหม??

 

ดร.สามารถ ชำแหละเบื้องหลังบินไทยขาดทุน  ถ้าแก้ผิดจุดถึงขั้นต้องใช้พ.ร.บ.ล้มละลาย