ดร.สามารถ แจงเป็นข้อ ๆ ถ้าแผนฟื้นฟูไม่สะเด็ดน้ำ รัฐไม่ค้ำจุนเจ้าจำปีจะเกิดอะไร

จากการประชุมคณะรัฐมนตรี ประจำวันที่ 12 พ.ค. 63 ยังคงไม่มีข้อสรุปเรื่องแนวทางการฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวว่าในการประชุมครม.กรณี บมจ.การบินไทย ว่า คณะรัฐมนตรียังไม่มีการหารือแผนฟื้นฟู โดยจะมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายหลายฉบับ

จากการประชุมคณะรัฐมนตรี ประจำวันที่ 12  พ.ค. 63  ยังคงไม่มีข้อสรุปเรื่องแนวทางการฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)   โดย   พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวว่าในการประชุมครม.กรณี บมจ.การบินไทย   ว่า คณะรัฐมนตรียังไม่มีการหารือแผนฟื้นฟู  โดยจะมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายหลายฉบับ

ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เตรียมเสนอแผนฟื้นฟูสำหรับ บมจ.การบินไทย  เข้าสู่การพิจารณาของกระทรวงคมนาคม ซึ่งยังต้องพิจารณา ดำเนินการอีกหลายอย่างก่อนที่จะมีการเห็นชอบในหลักการ   เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี  ซึ่งแผนการฟื้นฟูใหม่จะต้องครบถ้วนและสมบูรณ์ และอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งบุคลากรภายในและภายนอกองค์กร สหภาพแรงงาน ช่วยเหลือให้บมจ.การบินไทย สามารถให้บริการต่อไปได้ เพื่อลดผลกระทบต่อการจ้างงาน รวมถึงลูกจ้างหลายหมื่นคน รวมทั้งวิสาหกิจอื่นๆ ก็มีแผนฟื้นฟูเช่นกัน  และยังไม่มีการหารือกันเรื่องการค้ำประกันเงินกู้เพื่อนำมาฟื้นฟู  เพียงคำนึงถึงการดำเนินการที่จะต่อเนื่องต่อไป

ขณะเดียวกันถ้าติดตามเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง  ที่ผ่านมากรณีของบมจ.การบินไทย   กลายเป็นกรณีศึกษาที่มีผู้ออกมาแสดงความเห็นอย่างหลากหลาย  และแง่มุมต่าง ๆ  อาทิเช่น  ดร.สามารถ  ราชพลสิทธิ์  รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  และ  อดีตรองผู้ว่าฯกทม.  

 

ดร.สามารถ แจงเป็นข้อ ๆ ถ้าแผนฟื้นฟูไม่สะเด็ดน้ำ รัฐไม่ค้ำจุนเจ้าจำปีจะเกิดอะไร

(คลิกอ่านข่าวประกอบ :  ดร.สามารถ ชำแหละเบื้องหลังบินไทยขาดทุน ถ้าแก้ผิดจุดถึงขั้นต้องใช้พ.ร.บ.ล้มละลาย )  


ล่าสุด ดร.สามารถ โพสต์ให้ความเห็นเพิ่มเติม  ด้วยการตั้งเป็นคำถามว่า  อะไรจะเกิดขึ้น? ถ้ารัฐไม่อุ้มการบินไทย  แสดงรายละเอียดว่า  "มีการจับตารอคอยมติการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2563    ว่าจะเห็นชอบให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ระยะสั้นให้การบินไทยหรือไม่ แต่สุดท้ายปรากฏว่าไม่มีการเสนอเรื่องนี้เข้าสู่ครม.


แว่วมาว่า ฝ่ายหนึ่งต้องการเสนอให้ ครม.พิจารณาเฉพาะแนวทางการลดสัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังจากเดิม 51.03% เหลือไม่เกิน 50% เท่านั้น อีกฝ่ายหนึ่งต้องการผลักดันให้เสนอทุกแนวทาง นอกเหนือการลดสัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังดังกล่าวแล้ว 

 

ดร.สามารถ แจงเป็นข้อ ๆ ถ้าแผนฟื้นฟูไม่สะเด็ดน้ำ รัฐไม่ค้ำจุนเจ้าจำปีจะเกิดอะไร

ทั้งนี้แนวทางอื่นประกอบด้วย (1) ให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ระยะสั้นจำนวนประมาณ 54,700 ล้านบาท ที่การบินไทยต้องการ (2) ให้การบินไทยเพิ่มทุนประมาณ 83,400 ล้านบาท (3) ให้แปลงหน่วยธุรกิจ (Business Unit) เป็นบริษัท (4) ให้เปลี่ยนวิธีการจำหน่ายตั๋ว และ (5) ปรับปรุงโครงสร้างองค์กร ปรับเปลี่ยนเส้นทางการบิน ลดจำนวนพนักงานฯลฯ ตามที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ให้ความเห็นชอบ เมื่อความเห็นยังไม่ตรงกัน จึงไม่มีการนำเรื่องการบินไทยเข้าสู่การพิจารณา

หากในที่สุด ไม่มีการพิจารณาให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ให้การบินไทย   การบินไทยก็จะขาดสภาพคล่อง   อะไรจะเกิดขึ้นกับการบินไทยหลังจากนี้จึงน่าติดตามอย่างยิ่ง

 

ดร.สามารถ แจงเป็นข้อ ๆ ถ้าแผนฟื้นฟูไม่สะเด็ดน้ำ รัฐไม่ค้ำจุนเจ้าจำปีจะเกิดอะไร

ผมคาดว่าการบินไทยจะยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อขอฟื้นฟูกิจการ เนื่องจากมีข้อดีต่อการบินไทย ดังนี้

1. สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้

2. พักชำระหนี้ได้ เพราะเจ้าหนี้ไม่สามารถบังคับให้การบินไทยชำระหนี้ในช่วงเวลาฟื้นฟูกิจการได้ การบินไทยจึงมีเวลาที่จะฟื้นฟูกิจการได้ เช่น ลดฝูงบิน ปรับเปลี่ยนเส้นทาง ปรับเปลี่ยนวิธีจำหน่ายตั๋ว ลดจำนวนพนักงาน ลดเงินเดือนและสวัสดิการ เป็นต้น

3. เจรจาให้เจ้าหนี้ลดหนี้ลง ยืดระยะเวลาการชำระหนี้ และแปลงหนี้เป็นทุนได้

แต่อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการก็มีข้อเสียต่อการบินไทย และภาพรวมของประเทศ ดังนี้

1. ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูกิจการนาน

2. สหกรณ์ออมทรัพย์ที่ซื้อหุ้นกู้จากการบินไทยอาจขาดสภาพคล่อง เนื่องจากไม่ได้รับดอกเบี้ยและเงินต้นคืนจากการบินไทยในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

3. อาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของตลาดตราสารหนี้ (หมายถึงพันธบัตรที่หน่วยงานของรัฐขาย หรือหุ้นกู้ที่บริษัทเอกชนขาย)

ถ้าการฟื้นฟูกิจการไม่ประสบผลสำเร็จ ศาลฯ อาจมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ และเจ้าหนี้ของการบินไทยอาจร้องขอให้ศาลฯ มีคำสั่งให้การบินไทยล้มละลายก็ได้ โดยศาลฯจะตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มาจัดการชำระบัญชี รวบรวมทรัพย์สินทั้งหมด แล้วนำมาเฉลี่ยชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทุกคน ซึ่งในความเป็นจริงเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้คืนน้อยกว่าจำนวนหนี้จริงเป็นอย่างมาก แต่วิธีนี้ก็ถือเป็นวิธีการสุดท้ายที่กฎหมายจะสามารถบังคับเอากับการบินไทยได้

จึงต้องติดตามกันอย่างไม่กะพริบตาว่า ครม.จะเคาะให้ “อุ้มหรือไม่อุ้มการบินไทย” ในเร็วๆ นี้

 

ดร.สามารถ แจงเป็นข้อ ๆ ถ้าแผนฟื้นฟูไม่สะเด็ดน้ำ รัฐไม่ค้ำจุนเจ้าจำปีจะเกิดอะไร