- 26 มิ.ย. 2563
สืบเนื่องจากการที่ศาลฎีกา ได้อ่านคำพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ให้จำคุก นายนพรุจ หรือ นพรุฒ วรชิตวุฒิกุล อดีตแกนนำกลุ่มพิราบขาว 2006 , นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) , นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. , นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท และ นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. ในคดีหมายเลขดำ อ.3531/2552 ความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ฯ ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยมีอาวุธ , โดยเป็นหัวหน้า หรือผู้มีหน้าที่สั่งการ , ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังขู่เข็ญ และเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้ผู้ที่มั่วสุมเลิกไปแล้วไม่เลิก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง , 215 , 216 , 297 , 298 ประกอบมาตรา 33 , 83 , 91 อันเป็นความผิดสืบเนื่องจากการบุกรุกบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ ของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ (ในขณะนั้น) เมื่อช่วงปี 2550
สืบเนื่องจากการที่ศาลฎีกา ได้อ่านคำพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ให้จำคุก นายนพรุจ หรือ นพรุฒ วรชิตวุฒิกุล อดีตแกนนำกลุ่มพิราบขาว 2006 , นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) , นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. , นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท และ นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. ในคดีหมายเลขดำ อ.3531/2552 ความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ฯ ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยมีอาวุธ , โดยเป็นหัวหน้า หรือผู้มีหน้าที่สั่งการ , ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังขู่เข็ญ และเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้ผู้ที่มั่วสุมเลิกไปแล้วไม่เลิก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง , 215 , 216 , 297 , 298 ประกอบมาตรา 33 , 83 , 91 อันเป็นความผิดสืบเนื่องจากการบุกรุกบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ ของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ (ในขณะนั้น) เมื่อช่วงปี 2550
(คลิกอ่านข่าวประกอบ : ศาลฎีกายืนโทษจำคุก วีระกานต์ , ณัฐวุฒิ ร่วมพวกปลุกระดม บุกปิดล้อม บ้านป๋าเปรม ปี 50 )
ล่าสุด นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ มีการเคลื่อนไหวโดยการแสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊ก ด้วยข้อความว่า "บุก "บ้านป๋า" 2 ปี 8 เดือน ยึด "ทำเนียบ" ยึด "สนามบิน" Sound of Silence"
อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า การโพสต์ดังกล่าวมีรายละเอียดบางส่วน บิดเบือนไปจากข้อเท็จจริงอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะความคืบหน้าในการดำเนินคดีกับกลุ่มพันธมิตรฯ ตามคดีหมายเลขดำ อ.4925/2555 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 ได้เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง อายุ 83 ปี , นายสนธิ ลิ้มทองกุล อายุ 70 ปี , นายพิภพ ธงไชย อายุ 72 ปี , นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ อายุ 68 ปี , นายสมศักดิ์ โกศัยสุข อายุ 72 ปี อดีตแกนนำ พธม. และนายสุริยะใส กตะศิลา อายุ 45 ปี อดีตผู้ประสานงานพันธมิตรฯ เป็นจำเลยที่ 1-6 ในความผิดฐานร่วมกันบุกรุก ทำเนียบรัฐบาล
โดยศาลฎีกามีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2562 เห็นว่าจำเลยทั้ง 6 กับพวกกระทำการอุกอาจ บุกรุกเข้ายึดครองทำเนียบรัฐบาลก่อความเสียหายให้แก่ทรัพย์สินมากมาย หลายรายการ ซึ่งการกระทำนั้นกระทบต่องานบริหารราชการบ้านเมืองของหลายส่วนราชการ และหลังเกิดเหตุก็ไม่ได้เยียวยาความเสียหายจากการกระทำของตน ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยทั้ง 6 เพียงคนละ 8 เดือนโดยไม่รอการลงโทษ จึงเป็นคุณแก่จำเลยทั้งหกมากแล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน จึงพิพากษายืน และมีการนำตัวอดีตแกนนำพันธมิตรฯทั้งหมดไปรับโทษ โดยการคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครตามคำสั่งศาลฎีกา
ส่วนความคืบหน้าในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 9 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำ พธม. กับพวกแนวร่วม พธม. รวม 98 คน เป็นจำเลยที่ 1-98 ในความผิดฐานร่วมกันก่อการร้าย เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาลโดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน, มั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 135/1 , 116 , 215 พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2521 และฝ่าฝืน พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 กรณีพวกจำเลยบุกเข้าไปในสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อเดือน พ.ย.-ธ.ค.ปี 2551
โดยความเป็นจริงคดีดังกล่าวจนถึงปัจจุบันยังคงอยู่ในขั้นตอนการสืบพยานโจทก์ เนื่องจากอัยการโจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานไว้จำนวนหลักร้อยปาก และจำเลยทั้่งหมดก็พร้อมเข้าสู่กระบวนการต่อสู้คดีโดยไม่หลบหนี ยกเว้นบางรายที่เสียชีวิตไปก่อนหน้า แต่คดีดังกล่าวไม่ได้เงียบหายไปตามที่ นายสุชาติ ศิลปินแห่งชาติ ที่มักออกมาวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองต่อต้านรัฐบาลแสดงความเห็นแต่อย่างใด
ในทางตรงข้าม นายสุชาติ กลับเป็นศิลปินแห่งชาติ ที่ถูกสังคมไทยตั้งคำถามถึงการประพฤติตัว ตามกฎกระทรวงว่าด้วยข้อกำหนดสาขา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกและประโยชน์ตอบแทนของศิลปินแห่งชาติ (ฉบับที่ 3 )พ.ศ. 2563 โดยการแก้ไข เพิ่มเติม และมีรายละเอียดประเด็นสำคัญ ตอนหนึ่งปรากฎว่า "หากปรากฏว่าศิลปินแห่งชาติผู้นั้นมีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในควำมผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ คณะกรรมการโดยมติด้วยคะแนนเสียงอย่างน้อยสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่อาจยกเลิกการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติได้เมื่อได้ยกเลิกการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ใดเป็นศิลปินแห่งชาติตามวรรคสอง ให้งดการจ่ายประโยชน์ตอบแทนตั้งแต่วันที่คณะกรรมการมีมติ”
(คลิกอ่านข่าวประกอบ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี เมินถอดถอนศิลปินแห่งชาติ บ่นอุบโดนทัวร์ลง เบื่อคำด่าซ้ำซาก แก่กระโหลกกะลา )