- 10 ก.ค. 2563
ตามต่อเนื่องกับกระแสการดิสเครดิตประเทศไทย โดยการปลุกกระแสโจมตีผลิตภัณฑ์การเกษตรของไทย โดยการกล่าวหาว่าอุตสาหกรรมน้ำกะทิมีการใช้แรงงานลิง เข้าข่ายการทารุณกรรมสัตว์ โดยองค์กรที่เรียกตัวเองว่า อ PETA (People for the Ethical Treatment of Animals) ขณะที่ก็มีผู้รู้ของไทยออกมาแสดงทัศนะในเชิงตั้งข้อสังเกตุการทำงานของ PETA เช่นกัน อาทิ นายปองพล อดิเรกสาร รองนายรัฐมนตรี ที่ให้ความเห็นโดยการยกตัวอย่างพฤติการณ์ของ PETA ในอดีตว่า มีวัตถุประสงค์ที่จะแสวงหาประโยชน์ให้กับองค์กรมากกว่าที่จะปกป้องสิทธิของลิง
ตามต่อเนื่องกับกระแสการดิสเครดิตประเทศไทย โดยการปลุกกระแสโจมตีผลิตภัณฑ์การเกษตรของไทย โดยการกล่าวหาว่าอุตสาหกรรมน้ำกะทิมีการใช้แรงงานลิง เข้าข่ายการทารุณกรรมสัตว์ โดยองค์กรที่เรียกตัวเองว่า อ PETA (People for the Ethical Treatment of Animals) ขณะที่ก็มีผู้รู้ของไทยออกมาแสดงทัศนะในเชิงตั้งข้อสังเกตุการทำงานของ PETA เช่นกัน อาทิ นายปองพล อดิเรกสาร รองนายรัฐมนตรี ที่ให้ความเห็นโดยการยกตัวอย่างพฤติการณ์ของ PETA ในอดีตว่า มีวัตถุประสงค์ที่จะแสวงหาประโยชน์ให้กับองค์กรมากกว่าที่จะปกป้องสิทธิของลิง
(คลิกอ่านข่าวประกอบ : ปองพล แฉไม่ไว้หน้า องค์กร PETA หาเรื่องกะทิไทย อ้างโดดป้องลิงแท้จริงหวังผลประโยชน์ )
หรือกระทั่ง ดร.สหภพ ดอกแก้ว นักวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ออกมาชี้ข้อมูลว่า เมื่อช่วงปลายปี 2562 PETA เคยบิดเบือนข้อมูลการส่งออกปลากัดสวยงามของไทยจนเกิดความเสียหายมาแล้ว ด้วยการเผยแพร่ภาพปลาตาย แล้วโจมตีว่ามาจากการเลี้ยงไม่ถูกต้องเหมาะสม ทั้งที่สาเหตุจริงเพราะเป็นโรค ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับลักษณะการเลี้ยงแต่อย่างใด
รวมถึงเมื่อช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ตรวจสอบพบว่าสื่อต่างประเทศเคยนำเสนอข้อมูลข่าวว่า PETA โดย นาย เจสัน เบเกอร์ รองประธานอาวุโส ประจำภูมิภาคเอเชีย ได้เคยกล่าวหาประเทศไทย ในกรณีจัดการแสดงละครลิงของไทย มาแล้วหนหนึ่ง โดยอ้างว่าผู้ฝึกสอนใช้ความรุนแรง ในการฝึกให้ลิงแสดงกายกรรม
กระทั่งประเด็นนี้มีความชัดเจนในระดับสำคัญ ว่า องค์กรเอกชนของตะวันตก มีทัศนคตติที่ไม่ถูกต้องต่อประเทศไทย และก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวตอบโต้กลับจากหลายฝ่าย (คลิกอ่านข่าวเกี่ยวข้อง : ทูตนริศโรจน์ ซัดไม่ยั้งอังกฤษหาเรื่องแบนน้ำกะทิไทย เจ้าของรง.แฉความจริง NGO สุดมั่ว )
ขณะที่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ สรุปผลจากการประชุมร่วมกับหน่วยราชการ และภาคเอกชนของไทย เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จนได้เป็นข้อสรุปใน 3 ประเด็นสำคัญ คือ ประการที่ 1 ภาคเอกชนหรือโรงงานผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวได้ ได้ให้ข้อมูลว่าจากนี้ไปจะได้มีการกำหนดมาตรการที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ชัดเจน ที่ผลิตภัณฑ์กล่องหรือบรรจุภัณฑ์ว่าผลิตจากมะพร้าวที่มาจากสวนไหน มีการใช้แรงลิงหรือไม่ โดยใส่รหัสลงบนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดลงไปเพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
ประการที่ 2 เพื่อให้ผู้ผลิตผู้นำเข้า และผู้กระจายสินค้าหรือตัวแทนห้างสรรพสินค้าต่างๆที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวของประเทศไทยได้รับทราบกระบวนการทางด้านการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ จากสวนไปถึงปลายน้ำว่าดำเนินการเช่นไร จะได้มีการเชิญตัวแทนเอกอัครราชทูตของประเทศต่างๆที่ประจำอยู่ในประเทศไทยรวมทั้งสื่อมวลชนและองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพิทักษ์สัตว์เข้าร่วมตรวจสอบด้วย เมื่อสถานการณ์โควิดหมดไปสามารถเชิญผู้นำเข้า ผู้กระจายสินค้า และตัวแทนห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศ รวมทั้งในส่วนอื่นๆ เดินทางเข้ามาได้ก็จะได้กันในการต่อไปอีกขั้นตอนหนึ่ง
และ ประการที่ 3 ในส่วนของทีมไทยแลนด์ที่ประจำอยู่ต่างประเทศได้ช่วยกันทำคำชี้แจงและนัดพบผู้นำเข้าห้างสรรพสินค้าต่างๆที่เป็นลูกค้าผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวของประเทศไทยทำความเข้าใจต่อไป
อย่างไรก็ตามกับการจัดการปัญหา วิธีคิดที่บิดเบือนข้อเท็จจริงกับองค์กรเอ็นจีโอระหว่างประเทศแล้ว อีกจุดหนึ่งที่ถูกพูดถึงอย่างมากก็คือ การออกมาเคลื่อนไหวของ นายนิติพล ผิวเหมาะ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ในการนำภาพลิงจากต่างประเทศ มาประกอบข้อมูลเรื่องการบอยคอตผลิตภัณฑ์กะทิของไทย (คลิกอ่านข่าวประกอบ : เพจดัง ไม่ไว้หน้า ส.ส.ก้าวไกล อ้างกระแสโลก มั่วภาพลิงตปท.โยงกะทิไทย )
จนมาถึงล่าสุดทางด้าน นายจอม เพชรประดับ อดีตผู้สื่อข่าวและพิธีกรรายการสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และวอยซ์ทีวี ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ต้องหาหลบหนีคดีความมั่นคง และก่อนหน้าออกมายอมรับว่า ทำคลิปเสียงปลอม เพื่อวัตถุประสงค์โจมตีสถาบันเบื้องสูง (คลิกอ่านข่าวประกอบ : จอม เพชรประดับ สารภาพเต็มปาก รับใช้ต่างชาติ ทำคลิปเสียงปลอม โจมตีเบื้องสูง )
เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่ออกมาแสดงความเห็น โดยการโพส์ถึงกรณีน้ำกะทิของไทย ถูกต่อต้านจากองค์กรพิทักษ์สัตว์และนำไปสู่การงดจำหน่ายภายในซุปเปอร์มาเก็ตบางแห่งของประเทศอังกฤษ ว่า "แบนกะทิไทย" อย่าตอบโต้เพราะความรู้สึก"คลั่งชาติ"
"แบนกะทิไทย" ได้เวลาสังคมและภาคอุตสาหกรรมไทย ตระหนักถึง สิทธิ สวัสดิการ และสวัสดิภาพสัตว์ในกระบวนการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด - อาจจะเป็นความสุดโต่ง แต่เมือภาคธุรกิจยุคใหม่ที่ไม่ได้แข่งขันกันเฉพาะเรื่องคุณภาพสินค้าอีกต่อไป แต่เพิ่มจิตสำนึกด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิสัตว์ ความเป็นธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมเข้ามาด้วย จึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ พร้อมเชิญชวนให้มีการฟังทางออกของวิกฤตที่เกิดขึ้นผ่านช่องทางยูทูปของตนเอง
หลังจากก่อนหน้า จอม เพชรประดับ ได้นำประเด็นดังกล่าวไปผูกโยงกับเรื่องการเมือง โดยการโพสต์ข้อความว่า " ไม่ค่อยแปลกใจนักหรอก ที่คนไทยส่วนมากไม่พอใจและออกมาตอบ โต้ กรณีที่ PETA ออกมาเรียกร้องและปกป้องสิทธิความเป็นสัตว์ให้กับลิงในประเทศไทย เพราะอย่าว่าแต่ “ลิง” เลยแม้แต่ “คน” ในประเทศนี้ ก็ยังต้องออกมาเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ ศักศิ์ศรีความเป็นคน สิทธิความเป็นพลเมืองในการอยู่ในประเทศนี้เลย ...ด้วยความเคารพนะครับ"