นายกฯตู่เปิดใจรู้ข่าวรัฐบาลไทย ต้องใช้หนี้่ค่าโง่โฮปเวลล์  2.5 หมื่นล้าน

สืบเนื่องจากการที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้นไม่รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ไว้พิจารณา (คดีโฮปเวลล์) จากการที่กระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ โดยอ้างว่า มีการรับฟังข้อเท็จจริงผิดพลาดและมีพยานหลักฐานใหม่อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป

สืบเนื่องจากการที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้นไม่รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ไว้พิจารณา (คดีโฮปเวลล์)  จากการที่กระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ โดยอ้างว่า มีการรับฟังข้อเท็จจริงผิดพลาดและมีพยานหลักฐานใหม่อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป

โดยศาลปกครองกลางได้นัดอ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำ ที่ 107/2552, 2038/2551, 1379/2552   คดีหมายเลขแดงที่ 366-368/2557   ระหว่างกระทรวงคมนาคม ที่ 1 การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่ 2 ผู้ร้อง กับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้คัดค้าน ในคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่   ก่อนมีคำสั่งยืนตามศาลปกครองชั้นต้นไม่รับคำฟ้องของกระทรวงคมนาคมและ รฟท. ที่ยื่นขอให้รื้อคดีที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้กระทรวงคมนาคมและ รฟท.ต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ให้ทั้งสองหน่วยงานต้องคืนเงินค่าตอบแทนที่ที่โฮปเวลล์ชำระและใช้เงินในการก่อสร้างโครงการพร้อมดอกเบี้ย

 

ทั้งนี้ศาลให้เหตุผลในประเด็นที่กระทรวงคมนาคมและ รฟท.อ้างว่าศาลปกครองสูงสุดฟังข้อเท็จจริงผิดพลาดคลาดเคลื่อนในประเด็นเกี่ยวกับเวลาในการเสนอข้อพิพาท และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีนั้น   เห็นว่าการกำหนดประเด็นแห่งคดีและปัญหาทั้งหลายที่ต้องวินิจฉัย ตลอดจนการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการตามที่อ้างนั้น ล้วนแต่เป็นการใช้ดุลยพินิจของศาลในการกำหนดประเด็นแห่งคดีและวินิจฉัยปัญหาตามรูปเรื่องข้อเท็จจริงแห่งคดี ข้ออ้างดังกล่าวจึงมีลักษณะโต้แย้งดุลยพินิจในการพิจารณาพิพากษาของศาล แม้จะแตกต่างไปจากความเห็นของผู้ร้องทั้งสอง แต่ก็ไม่ใช่เป็นกรณีที่ศาลฟังข้อเท็จจริงผิดพลาด หรือทำให้การดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีกลายเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่มีข้อบกพร่องสำคัญที่ทำให้ผลของคดีไม่มีความยุติธรรม

 


ส่วนที่อ้างว่าการที่ศาลปกครองสูงสุดไม่ย้อนสำนวนให้ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาในเนื้อหาแห่งคดีถือเป็นข้อบกพร่องสำคัญในการกระบวนการพิจารณาพิพากษาที่ทำให้ผลของคดีไม่ยุติธรรมนั้น เห็นว่า ที่กำหนดเกี่ยวกับการพิจารณาอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นโดยศาลปกครองสูงสุดไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดที่ให้ศาลปกครองสูงสุดต้องมีคำสั่งยกคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นที่ไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง แล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลปกครองชั้นต้นเพื่อให้พิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ทุกกรณี แต่ให้เป็นดุลพินิจของศาลปกครองสูงสุดตามที่เห็นว่ามีเหตุสมควรเท่านั้น จึงจะให้ส่งสำนวนคืนไปที่ศาลปกครองชั้นต้นเพื่อให้พิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่

 

นายกฯตู่เปิดใจรู้ข่าวรัฐบาลไทย ต้องใช้หนี้่ค่าโง่โฮปเวลล์  2.5 หมื่นล้าน
 

เมื่อคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีหมายเลขแดงที่ อ.221-223/2562 ศาลเห็นว่า ก่อนศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษา ได้ดำเนินการในชั้นการแสวงหาข้อเท็จจริง โดยคู่กรณีได้ทราบข้อเท็จจริงและชี้แจงโต้แย้งแล้ว คดีจึงมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่ศาลปกครองสูงสุดจะพิจารณาพิพากษาหรือชี้ขาดคดีต่อไปได้ จึงเป็นกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดใช้ดุลยพินิจเห็นว่าไม่มีเหตุสมควรส่งสำนวนคดีคืนไปยังศาลปกครองชั้นต้น ดังนั้นการที่ศาลปกครองสูงสุดไม่ส่งสำนวนคืนไปยังศาลปกครองชั้นต้นเพื่อให้พิจารณาประเด็นแห่งคดีใหม่ จึงไม่ใช่ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการดำเนินกระบวนการพิจารณาที่จะถือว่าเป็นข้อบกพร่องสำคัญในกระบวนการพิจารณาพิพากษาที่ทำให้ผลของคดีไม่มีความยุติธรรม

 

     
นอจากนี้ประเด็นที่อ้างว่า พบพยานหลักฐานใหม่ว่าบริษัท โฮปเวลล์ฯ ในขณะเข้าทำสัญญาเป็นการดำเนินการของบุคคลต่างด้าวที่ฝ่าฝืนประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน  2515 เห็นว่า ไม่ว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความสามารถของบริษัท โฮปเวลล์ฯ ตามหนังสือรับรองจดทะเบียนนิติบุคคลหรือการเข้าประกอบกิจการก่อนที่จะได้รับหนังสือรับรองจากอธิบดีกรมทะเบียนการค้าในขณะนั้น จะเป็นจริงดังที่อ้างหรือไม่ก็ตาม แต่โดยข้อเท็จจริงความสามารถของบริษัท โฮปเวลล์ฯ เป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่ตั้งแต่ขณะเข้าทำสัญญา ซึ่งหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลเป็นเอกสารที่ทุกคนสามารถขอตรวจสอบจากราชการได้ และหนังสือดังกล่าวก็ต้องยื่นประกอบการลงนามในสัญญา

 

 นอกจากนี้กระทรวงคมนาคมฯ ได้บรรยายฟ้องว่า คณะกรรมการ รฟท.มีมติให้ รฟท.มีอำนาจลงนามในสัญญาร่วมกับกระทรวงคมนาคมและให้บริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง) มีอำนาจเข้าดำเนินการก่อสร้าง พัฒนาที่ดินของ รฟท. ซึ่งบริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง) ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ขึ้นตามกฎหมายไทย กรณีดังกล่าวบ่งชี้ว่ากระทรวงคมนาคมทราบดีว่าบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) มีบริษัทแม่เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศ

 

นายกฯตู่เปิดใจรู้ข่าวรัฐบาลไทย ต้องใช้หนี้่ค่าโง่โฮปเวลล์  2.5 หมื่นล้าน


(คลิกอ่านรายละเอียดคำพิพากษา ศาลปกครองสูงสุด  ไม่รับคำขอให้พิจารณาคดีโฮปเวลล์ไว้พิจารณา)


ทั้งนี้มูลค่าความเสียหายในคดีโฮปเวลล์   ที่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยให้ รฟท.จ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายให้โฮปเวลล์  ภายใน 180 วัน    เริ่มต้นตั้งแต่ 22 เมษายน  2562   คิดเป็นมูลค่ากว่า 11,800 ล้านบาท  พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี  และจนถึงปัจจุบันมีการประเมินมูลค่าความเสียหายไว้ที่ประมาณ  25,000 ล้านบาท

 

ล่าสุดที่การทรวงการต่างประเทศ   พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  และรมว.กลาโหม   ให้สัมภาษณ์กรณีศาลปกครองสูงสุด  มีคำสั่งยืนตามศาลปกครองปกครองชั้นต้น  ไม่รับพิจารณาคดีค่าโง่โฮปเวลล์ใหม่ ส่งผลให้รัฐต้องจ่ายชดเชยค่าเสียหายให้กับเอกชน 2.4 หมื่นล้านบาท ว่า  วันนี้ตนเพิ่งทราบมติคำตัดสินของศาลออกมา   เดี๋ยวต้องหาทางต่อไปว่าจะดำเนินการอย่างไร เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานแล้ว  รัฐบาลนี้ก็พยายามอย่างเต็มที่  แต่ก็ต้องเคารพกระบวนการตัดสินของศาล  ซึ่งรัฐบาลนี้ก็มีทั้งแก้ ทั้งปรับ ตนก็ไม่อาจจะไปโทษใคร  เพราะบางเรื่องก็รู้ดีอยู่แล้ว   

 

นายกฯตู่เปิดใจรู้ข่าวรัฐบาลไทย ต้องใช้หนี้่ค่าโง่โฮปเวลล์  2.5 หมื่นล้าน


เมื่อถามว่า จะมอบหมายให้ใครดูแลเป็นพิเศษ หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมมีหน้าที่ทำเรื่องนี้อยู่แล้ว คราวที่แล้วก็เป็นผู้ขออุทธรณ์ขึ้นไป ส่วนจะใช้งบประมาณจากไหนนั้น ตนต้องไปหาทางต่อไป จะมาตอบตอนนี้ยังไม่ได้ ท่านก็รู้ว่ารายได้ รายรับ รายจ่ายของเราเป็นยังไงอยู่ แต่มันอยู่หลายวิธีการ วันหน้าก็ติดตามกัน ตนให้กระทรวงคมนาคมไปแก้ปัญหาตรงนี้อยู่


ขณะที่คดีประวัติศาสตร์  ข้อพิพาทระหว่างกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด  เริ่มต้นขึ้นในสมัยรัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ  ซึ่งมีนายมนตรี พงษ์พานิช  ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม  ได้นำเสนอแนวคิดทแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร (กทม.)  ผ่านโครงการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับในเขต กทม.รวม 3  ก่อนเสนอที่ประชุม ครม. อนุมัติเมื่อ  วันที่ 19 กันยายน 2532 

 

( จากนั้นเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2533   นายมนตรี พงษ์พานิช รมว.คมนาคม ทำหนังสือกระทรวงคมนาคมที่ คค 0207/2406 เสนอต่อนายกรัฐมนตรี  พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ รายงานถึงโครงการให้สัมปทานเอกชนลงทุนก่อสร้างทางรถไฟยกระดับในเขต กทม.

 

หนังสือดังกล่าว ระบุสาระสำคัญว่า เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2532 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการตามโครงการให้สัมปทานเอกชนลงทุนก่อสร้างทางรถไฟยกระดับในเขต กทม. โดยให้ได้รับสัมปทานเดินรถระบบขนส่งมวลชนบนทางรถไฟยกระดับด้วย

 

กระทรวงคมนาคม มีคำสั่งที่ 283/2532 แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาดำเนินโครงการให้เอกชนลงทุนก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ โดยได้รับสัมปทานเดินรถระบบรถไฟชุมชน (Community Train) และทางด่วนยกระดับสำหรับรถยนต์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม  2532 เพื่อกำหนดรูปแบบ และคัดเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่จะประกาศเชิญชวนให้เอกชนมาลงทุน รวมทั้งดำเนินการออกประกาศเชิญชวน และพิจารณาคัดเลือกเอกชนผู้สนใจมาลงทุนด้วย โดยมีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน

 

คณะกรรมการฯชุดนี้ ได้กำหนดรูปแบบและคัดเลือกเส้นทางที่เหมาะสม ออกประกาศเชิญชวนเอกชนผู้สนใจมาลงทุนก่อสร้าง เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม  2532 ผลของการประกาศเชิญชวน ปรากฎว่า มีเอกชนสนใจซื้อซองข้อเสนอ 4 ราย ได้แก่

1.บริษัท Hopewell Holding Ltd. (Hong Kong)

2.บริษัท International Contract and Consulting Services Co.,Ltd.

3.บริษัท Modular Construction & Supply Co.,Ltd.

4.บริษัท สยาม เอบีซี จำกัด

แต่เมื่อครบกำหนดยื่นเอกสารข้อเสนอในวันที่ 15 มกราคม 2533 ปรากฎว่า กลับเหลือผู้ยื่นเอกสารข้อเสนอเพียงรายเดียว คือ บริษัท Hopewell Holding Ltd. (Hong Kong)   คณะกรรมการฯชุดนี้จึงแต่งตั้งคณะทำงานขึ้น 2 คณะ เพื่อพิจารณาข้อเสนอของบริษัท ประกอบด้วย คณะทำงานพิจารณาข้อเสนอทางเทคนิค และคณะทำงานพิจารณาข้อเสนอทั่วไป

 

ก่อนมีการจัดให้ลงนามในสัญญารับผิดชอบโครงการ    เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน  2533  โดยมี นายมนตรี พงษ์พานิช  รมว.คมนาคม เป็นตัวแทนฝ่ายไทย กับ นายกอร์ดอน หวู่   (Gordon Wu)   ประธานบริหาร กลุ่มโฮปเวลล์โฮลดิ้ง นักธุรกิจยักษ์ใหญ่แห่งวงการก่อสร้าง  ชาวฮ่องกง
 

นายกฯตู่เปิดใจรู้ข่าวรัฐบาลไทย ต้องใช้หนี้่ค่าโง่โฮปเวลล์  2.5 หมื่นล้าน


อย่างไรก็ตามด้วยสารพัดปัญหาความล่าช้าการดำเนินโครงการ   ทำให้เมื่อวันที่ 19  กันยายน  2540   ในยุครัฐบาล  พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ   ทางกระทรวงคมนาคม  ได้เสนอเรื่องต่อครม.เห็นควรบอกเลิกสัญญากับบริษัทโฮปเวลล์ฯ เนื่องจากงานก่อสร้างมีความคืบหน้าน้อยมากต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดในแผนงาน  แต่ขั้นตอนยกเลิกสัญญายังไม่มีผล  ได้เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งเสียก่อน 


จนมาถึง  รัฐบาลนายชวน หลีกภัย   เข้ามาบริหารประเทศ    มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ    เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม     ปรากฏว่าในการประชุมครม. เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2540   มีมติบอกเลิกสัญญาบริษัทโฮปเวลล์ฯ  หลังจากบริษัทโฮปเวลล์ฯหยุดการก่อสร้าง  และกระทรวงคมนาคม  ได้ทำหนังสือถึงบริษัทโฮปเวลล์ฯ ลงวันที่ 27 มกราคม 2541   แจ้งบอกเลิกสัญญาสัมปทานอย่างเป็นทางการ และห้ามบริษัทโฮปเวลล์ฯ เข้าพื้นที่โครงการ  

 

นายกฯตู่เปิดใจรู้ข่าวรัฐบาลไทย ต้องใช้หนี้่ค่าโง่โฮปเวลล์  2.5 หมื่นล้าน

 

 

สุดท้ายจึงนำมาสู่การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายมูลค่า 58,979 ล้านบาท  แต่ต่อมาทางบริษัทโฮปเวลล์ฯ ได้ขอแก้ไขวงเงินชดเชยค่าเสียหายต่ออนุญาโตตุลาการ  เหลือ 28,334 ล้านบาท

 

นายกฯตู่เปิดใจรู้ข่าวรัฐบาลไทย ต้องใช้หนี้่ค่าโง่โฮปเวลล์  2.5 หมื่นล้าน