- 27 ก.ค. 2563
ยังเป็นประเด็นร้อนที่ประชาชนชาวไทยจับตา การกรณีที่ "กลุ่มเยาวชนปลดแอก - Free YOUTH" ในการเรียกร้อง 3 ข้อต่อรัฐบาล ท่ามกลางภาพแทรกซ้อนแสดงให้เห็นว่าม็อบที่จัดตั้งขึ้นนี้มีอีกหนึ่งอุดมการณ์ความผิดแฝงเร้น ต่อการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์สอดแทรกอยู่ด้วย ซึ่งนับวันเวลาผ่านไปดูเหมือนว่า ประเด็นนี้จะยิ่งลุกลามและทวีคูณในด้านลบมากขึ้น
ยังเป็นประเด็นร้อนที่ประชาชนชาวไทยจับตา การกรณีที่ "กลุ่มเยาวชนปลดแอก - Free YOUTH" ในการเรียกร้อง 3 ข้อต่อรัฐบาล ท่ามกลางภาพแทรกซ้อนแสดงให้เห็นว่าม็อบที่จัดตั้งขึ้นนี้มีอีกหนึ่งอุดมการณ์ความผิดแฝงเร้น ต่อการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์สอดแทรกอยู่ด้วย ซึ่งนับวันเวลาผ่านไปดูเหมือนว่า ประเด็นนี้จะยิ่งลุกลามและทวีคูณในด้านลบมากขึ้น
ล่าสุด รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Harirak Sutabutr ระบุเกี่ยวกับกรณีข้างต้น ความว่า เห็นพฤติกรรมที่สะท้อนทัศนคติของ “คนรุ่นใหม่” ทั้งในสภาฯ นอกสภาฯ ในม็อบ และใน social media แล้วน่าเป็นห่วง ไม่ได้เป็นห่วงรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่เป็นห่วงสังคมไทย ที่ขณะนี้เกิดช่องว่างระหว่างวัยแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน
นี่ไม่ใช่การแตกแยกแบบซ้ายกับขวาเหมือนในอดีต แต่เป็นการแตกแยกระหว่างคนที่เป็น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ที่ถูกเรียกว่าเป็น “คนรุ่นเก่า” และ ลูก หลาน เหลน ที่ถูกเรียกว่า
“คนรุ่นใหม่”
สำหรับคนรุ่นใหม่ การใช้วาจา หรือข้อความที่หยาบคาย ดูเป็นเรื่องธรรมดา
คนรุ่นใหม่ไม่ว่าจะทำอะไร ผิดหรือถูก คำอธิบายคือ มันเป็นเสรีภาพ
การไม่ให้ความเคารพผู้ใหญ่ หรือผู้อาวุโส กระทั่งไม่ให้ความเคารพสถาบันพระมหากษัตริย์ ถือว่าเป็นความเสมอภาค ทุกคนต้องเท่ากัน
การมอง “คนรุ่นเก่า”ว่า โบราณ คร่ำครึ
ไม่ทันโลก ดูจะเป็นวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่
คนรุ่นใหม่มักเรียกตัวเองว่าเป็นพวก
“liberals” แต่คนที่เป็นพวก liberals อย่างแท้จริง ต้องยอมรับมุมมองของผู้อื่นที่แตกต่างหลากหลาย แต่คนรุ่นใหม่กลับดูหมิ่นเหยียดหยามผู้ที่เห็นต่าง ถึงกับรุมถล่มด้วยข้อความที่หยาบคายใน social media
การแสดงออกในม็อบต่างๆ ล่าสุดเรียกว่า “ม็อบเยาวชนปลดแอก” แม้จะเป็นสิทธิในระบอบประชาธิปไตย แต่การใช้คำหยาบคายที่มีทุกครั้งที่มีการชุมนุมจะเรียกว่าเป็นเสรีภาพได้หรือ
การชูป้าย และพฤติกรรมที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพในการการชุมนุม กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
พฤติกรรมที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพนี่แหละ ทำให้ช่องว่าง และความแตกแยกขัดแย้งระหว่างวัยขยายกว้างขึ้น
พ่อ แม่ ปู่ย่า ตายาย ลุง ป้า น้า อา ที่ยังให้ความเคารพ เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่สามารถจะเตือนลูกหลานในเรื่องนี้ได้ เพราะยิ่งเตือนยิ่งไม่เชื่อ ยิ่งเตือนยิ่งขัดแย้ง
น่าคิดว่าคำว่า “คนรุ่นเก่า” กับ “คนรุ่นใหม่” เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี้
น่าคิดยิ่งกว่าคือ คนรุ่นใหม่เกิดชุดความคิดแบบนี้ตั้งแต่เมื่อใด มีใครตั้งใจอาศัย social media ทำให้คนรุ่นใหม่ให้คิดเช่นนี้ และมีพฤติกรรมเช่นนี้หรือไม่ ก็คงยากที่จะพิสูจน์ได้
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า ความแตกแยกครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งได้เกิดขึ้นแล้วในสังคมไทยขณะนี้ แล้วในอนาคต คนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่จะอยู่กันอย่างไร อย่าลืมว่าวันหนึ่งทุกคนต้องถูกเรียกว่าเป็น “คนแก่”ด้วยกันทั้งนั้น"