ศาลฎีกาฯสั่งจำคุก 5 ปี  ทักษิณ ชินวัตร คดีแปลงค่าสัมปทานเอื้อชินคอร์ป ทำรัฐเสียหายกว่า 6 หมื่นล้าน

วันนี้ (30 ก.ค. 2563) ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้อ่านคำพิพากษาคดีดำหมายเลขที่ อม. 9/2551 คดีแดงที่ อม. 5/2551 อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้องทักษิณ ชินวัตร เรื่องความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนรวม

วันนี้ (30  ก.ค. 2563)  ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้อ่านคำพิพากษาคดีดำหมายเลขที่ อม. 9/2551 คดีแดงที่ อม. 5/2551 อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้องทักษิณ ชินวัตร เรื่องความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนรวม


โดยองค์คณะผู้พิพากษา วินิจฉัยว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 100 วรรคหนึ่ง (2) และมาตรา 122 วรรคหนึ่ง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 (เดิม) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91

 

โดยองค์คณะผู้พิพากษามีมติเสียงข้างมาก ให้ลงโทษฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ จำคุก 2 ปี ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการเข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการนั้น จำคุก 3 ปี รวมเป็นจำคุก 5 ปี ให้นับโทษจำคุกจำเลยต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ อม. 4/2551 และต่อจากโทษจำคุกของจำเลยที่ 1 ในคดีหมายเลขแดงที่ อ. 10/2552 ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้อหาและคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก


พร้อมกันนี้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้อนุมัติออกหมายจับ นายทักษิณ ชินวัตร จำเลยมาเพื่อบังคับตามคำพิพากษาแล้ว

 

ศาลฎีกาฯสั่งจำคุก 5 ปี  ทักษิณ ชินวัตร คดีแปลงค่าสัมปทานเอื้อชินคอร์ป ทำรัฐเสียหายกว่า 6 หมื่นล้าน

อย่างไรก็ตาม คดีนี้ โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2551 ว่า ระหว่างวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 ถึงวันที่ 19 กันยายน 2549 ขณะจำเลยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสองวาระติดต่อกัน จำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 100 ด้วยการเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือบริษัทชินคอร์ปซึ่งเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ โดยให้บุคคลอื่นมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นแทน และกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152, 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริตเข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นในกิจการโทรคมนาคม

ระหว่างพิจารณา จำเลยหลบหนี ศาลสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว ต่อมามีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 ให้ศาลำีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจพิจารณาคดีได้โดยไม่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลย ศาลจึงยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ต่อไป และอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยในวันนี้ (วันที่ 30 กรกฎาคม 2563) โดยวินิจฉัยในสาระสำคัญว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 100(2) ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่เข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ ขณะจำเลยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสองวาระ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำเลยยังคงเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทชินคอร์ปซึ่งเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ โดยให้บุคคลอื่นมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นแทน อันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม และฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จำเลยให้บุคคลอื่นเป็นผู้ถือหุ้นแทนจำเลยต่อเนื่องมาโดยตลอด เพียงแต่ในช่วงเวลาดังกล่าวจำเลยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสองวาระติดต่อกันเท่านั้น ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาเดียวกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 100(2) การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว มิใช่สองกรรมตามที่โจทก์ฟ้อง

จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ได้มอบนโยบายแลสั่งการให้ตราพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2546 เพื่อจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งได้รับสัมปทานจากรัฐ โดยคณะรัฐมนตรีที่จำลยเป็นหัวหน้ารัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราภาษีและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 68) ลงวันที่ 28 มกราคม 2546 ให้ลดพิกัดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่จากอัตราร้อยละ 50 เหลือร้อยละ 10 และมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546 เห็นชอบแนวทางให้คู่สัญญาภาคเอกชนนำภาษีสรรพสามิตมาหักออกจากส่วนแบ่งรายได้หรือค่าสัมปทานที่คู่สัญญาภาคเอกชจะต้องนำส่งให้คู่สัญญาภาครัฐได้ จำเลดำเนินการดังกล่าวเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)หรือบริษัท เอไอเอส ซึ่งได้รับสัมปทานดำเนินกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่จากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือ ทศท. และบริษัทดิจิตอลโฟน จำกัด หรือบริษัท ดีพีซี ซึ่งได้รับสัมปทานดำเนินกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือ กสท. โดยทั้งสองบริษัทเป็นบริษัทในเครือของบริษัทชินคอร์ป ซึ่งจำเลยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ให้ทั้งสองบริษัทได้รับคืนเงินภาษีสรรพสามิตที่ชำระแล้ว โดยมีสิทธินำไปหักออกจากค่าสัมปทานที่ต้องนำส่งให้ ทศท. และ กสท.เป็นผลให้ ทศท.และ กสท.ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเข้ามีส่วนได้เสียในกิจการโทรคมนาคม และเป็นผลให้บริษัทที่จำเลยเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ได้รับประโยชน์ อันเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต เมื่อเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152(เดิม) ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่ต้องปรับบททั่วไปตามมาตรา 157 อีก

โดยพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 100 วรรคหนึ่ง (2) และมาตรา 122 วรรคหนึ่ง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 (เดิม) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 โดยองค์คณะผู้พิพากษามีมติเสียงข้างมาก ให้ลงโทษฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ จำคุก 2 ปี ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการเข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการนั้น จำคุก 3 ปี รวมเป็นจำคุก 5 ปี ให้นับโทษจำคุกจำเลยต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ อม. 4/2551 และต่อจากโทษจำคุกของจำเลยที่ 1 ในคดีหมายเลขแดงที่ อ. 10/2552 ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้อหาและคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

อนึ่ง ในวันนี้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้ออกหมายจับจำเลยมาเพื่อบังคับตามคำพิพากษาแล้ว

 

ศาลฎีกาฯสั่งจำคุก 5 ปี  ทักษิณ ชินวัตร คดีแปลงค่าสัมปทานเอื้อชินคอร์ป ทำรัฐเสียหายกว่า 6 หมื่นล้าน

 

ศาลฎีกาฯสั่งจำคุก 5 ปี  ทักษิณ ชินวัตร คดีแปลงค่าสัมปทานเอื้อชินคอร์ป ทำรัฐเสียหายกว่า 6 หมื่นล้าน

 

 

ก่อนหน้านั้น  นายเข็มชัย ชุติวงศ์  อัยการสูงสุด   ได้ยื่นฟ้อง นายทักษิณ ชินวัตร  ในความผิดกรณีใช้อำนาจหน้าที่ทางการเมืองขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทชินคอร์ปผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมผ่านการแปลงสัญญาสัมปทานธุรกิจโทรคมนาคม

คำฟ้องคดีดังกล่าวระบุความผิดของนายทักษิณไว้ว่ามีความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัด การหรือดูแลกิจการใดเข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อประโยชน์สำหรับตัวเองหรือผู้อื่น เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสีย หายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต 

ทั้งหมดเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 152, 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4, 100, 122  ที่อัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้องตามการสอบสวนของคณะกรรมกาตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.) ที่สอบสวนและทำความเห็นว่านายทักษิณ ใช้ตำแหน่งหน้าที่และอำนาจทางการเมืองผ่านช่องทางทั้งฝ่ายบริหารคือมติคณะรัฐมนตรี และนิติบัญญัติคือรัฐสภา ออกมาตรการเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทชินคอร์ปคือ

1)การแปลงสัญญาสัมปทานกิจการโทรคมนาคมด้วยการออกพระราชกำหนดภาษีสรรพสามิต ทำให้รัฐเสียหายกว่า 60,000 ล้านบาท 

2)แก้ไขสัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่ปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า(prepaid card) เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท แอดวานซ์อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส บริษัทในเครือชินคอร์ป 

3)พ.ต.ท.ทักษิณขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมีส่วนแก้ไขสัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่ออนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วมหรือ Roaming และปรับลดอัตราค่าใช้จ่ายร่วมทำให้ภาระในการส่งรายได้ของเอไอเอสลดน้อยลง แต่มีรายได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2544-2549 

4)มีการแก้ไขสัญญาดาวเทียมโดยมิชอบหลายกรณีคือการอนุมัติโครงการดาวเทียม IPSTAR หรือการแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 5 วันที่ 27 ตุลาคม 2547 ลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ปในบริษัทชินแซทเทิลไลท์ ที่เป็นผู้ขออนุมัติสร้างและส่งดาวเทียมไทยคมและการอนุมัติให้ใช้เงินค่าสินไหมทดแทนของดาวเทียมไทยคม 3 จำนวน 6.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ไปเข้าช่องสัญญาณต่างประเทศที่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทชินคอร์ป

 

ศาลฎีกาฯสั่งจำคุก 5 ปี  ทักษิณ ชินวัตร คดีแปลงค่าสัมปทานเอื้อชินคอร์ป ทำรัฐเสียหายกว่า 6 หมื่นล้าน