- 11 ส.ค. 2563
ดูท่าจะหนักเข้าทุกวันแล้วจริงๆ กับการชุมนุมของ "กลุ่มเยาวชนปลดแอก - Free YOUTH" ในการเรียกร้อง 3 ข้อต่อรัฐบาล ท่ามกลางภาพแทรกซ้อนแสดงให้เห็นว่าม็อบที่จัดตั้งขึ้นนี้มีอีกหนึ่งอุดมการณ์ความผิดแฝงเร้น ต่อการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์สอดแทรกอยู่ด้วย ซึ่งวันเวลาผ่านไปหลายสัปดาห์การชุมนุมของกลุ่มคนดังกล่าวก็ไม่มีท่าทีลดละแต่อย่างใด จนทำให้เกิดขึ้อสงสัยไปทั่วประเทศว่า เหตุการณ์นี้จะจบลงเช่นใด ความปรองดองจะกลับมาหรือไม่
ดูท่าจะหนักเข้าทุกวันแล้วจริงๆ กับการชุมนุมของ "กลุ่มเยาวชนปลดแอก - Free YOUTH" ในการเรียกร้อง 3 ข้อต่อรัฐบาล ท่ามกลางภาพแทรกซ้อนแสดงให้เห็นว่าม็อบที่จัดตั้งขึ้นนี้มีอีกหนึ่งอุดมการณ์ความผิดแฝงเร้น ต่อการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์สอดแทรกอยู่ด้วย ซึ่งวันเวลาผ่านไปหลายสัปดาห์การชุมนุมของกลุ่มคนดังกล่าวก็ไม่มีท่าทีลดละแต่อย่างใด จนทำให้เกิดขึ้อสงสัยไปทั่วประเทศว่า เหตุการณ์นี้จะจบลงเช่นใด ความปรองดองจะกลับมาหรือไม่
ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เข้าอวยพรวันเกิดครบ 75 ปี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมตอบคำถามสื่อมวลชน กรณีเหตุการณ์การชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าได้มีโอกาสดูหรือไม่ "ท่านนายกฯได้ดูการชุมนุมเมื่อวานมั๊ย ได้ดูสิไม่ดูได้งัย ถึงไม่สบายใจ
ส่วนประเด็นข้อเรียกร้องของกลุ่ม"ธรรมศาสตร์และการชมุนุม 10 ข้อ พล.อ.ประยุทธ์ เลี่ยงจะตอบคำถามตรง ๆ โดยกล่าวสั้นเพียงว่า "ก็เป็นข้อเรียกร้องเดิม ๆ "
ทั้งนี้ภายหลังจากนายอานนท์ นำภา แกนนำกลุ่มพลเมืองโต้กลับ ผู้ต้องหาคดีอาญามาตรา 116 ที่อยู่ในระหว่างประกันตัว ได้ขึ้นเวทีปราศรัยเรียกร้องให้มีการปรับปรุงแก้ไข บทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ ในลักษณะของการก้าวล่วงพระราชอำนาจแล้ว ด้วยข้อความสื่อสารกดดันให้สถาบันเบื้องสูงต้องกระทำตามข้อเรียกร้อง
ทางด้านกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ได้ออกประกาศฉบับที่ 1 สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับเนื้อหาการปราศรัยของนายอานนท์ และ คลิปข้อความของ นาย ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ผู้ต้องหาคดีอาญามาตรา 112 ซึ่งหลบหนีคดีไปขอลี้ภัยต่างประเทศ มีใจความบางช่วงตอนโจมตีสถาบันเบื้องสูง โดยระบุว่า ที่ผ่านมาพระมหากษัตริย์กษัตริย์ของไทยยังคงทรงอำนาจแทรกแซงการเมืองไทย ไม่เท่านั้นยังเสนอข้อเรียกร้อง 10 ข้อ อาทิเช่น การยกเลิกมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ ที่ว่าผู้ใดจะกล่าวฟ้องร้องกษัตริย์มิได้ และเพิ่มบทบัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรสามารถพิจารณาความผิดของกษัตริย์ได้
ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 รวมถึงเปิดให้ประชาชนได้ใช้เสรีภาพแสดงความคิดเห็นต่อสถาบันกษัตริย์ได้ และนิรโทษกรรมผู้ถูกดำเนินคดีเพราะวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ทุกคน รวมถึงอีกหลายประเด็นที่สื่อเจตนาจากแกนนำจัดการชุมุนุม ที่ต้องการควบคุมพระราชอำนาจ และการบิดเบือนกล่าวร้ายสถาบันพระมหาษัตริย์ในทางการเมือง