ถาวร แจงสภาฯรัฐบาลชุดไหนดันทุรัง ไม่ฟังสภาพัฒน์ค้าน ทำการบินไทยเจ๊ง 6.2 หมื่นล้าน

ยังมีข่าวทางด้านลบจากการบินไทยมาเรื่อยๆ และล่าสุด นายถาวร เสนเนียม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา เขต 6 พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้มา ชี้แจงข้อมูลให้กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เกี่ยวกับเรื่องของสายการบินแห่งชาติ

ยังมีข่าวทางด้านลบจากการบินไทยมาเรื่อยๆ และล่าสุด นายถาวร เสนเนียม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา เขต 6 พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้มา ชี้แจงข้อมูลให้กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เกี่ยวกับเรื่องของสายการบินแห่งชาติ

โดยนายถาวร ระบุว่า ต้องขอบคุณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ให้ความสนใจกับเรื่องของสายการบินแห่งชาติซึ่งเป็นสายการบินที่ คนไทยภาคภูมิใจและดำเนินกิจการมาเป็นปีที่ 6 แล้วเราดำเนินการขาดทุนในช่วง 10 ปีหลังในช่วง 50 ปีแรก มีกำไรอย่างต่อเนื่อง ส่วนคำถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ถาม สาเหตุของการขาดทุนว่าเกิดจากอะไรจึงต้องขอชี้แจงว่าปฐมเหตุจากการที่ขาดทุนก่อนหน้านี้ได้ชี้แจงไปในเบื้องต้นตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่ง ตั้งแต่ประมาณเดือนมกราคมปี 2562 มาถึงวันนี้ก็ประมาณ 1 ปีแล้วให้วันที่เข้าไปกำกับดูแลจากการได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมนั้นการบริหารรัฐวิสาหกิจจะต้องมีคณะกรรมการนโยบายภายใต้โครงสร้างของพระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ 2562 รัฐมนตรีผู้กำกับจะเข้าไปกำกับให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการที่มีแผนรัฐวิสาหกิจอยู่แล้วแต่อย่างไรก็ตามการกำกับเราก็ต้องดูย้อนหลังไปว่า การที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้สอบถามมาว่ามีการขาดทุนติดต่อกันประมาณ 4-5 ปีหลังปฐมเหตุนั้นเกิดจากอะไรส่วนตัวจึงได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุดเพื่อที่จะตรวจสอบและนำไปสู่การแก้ไขนั่นคือตั้งคณะกรรมการขึ้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2563 และต่อมาเพิ่มเติมแก้ไขคำสั่งเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 โดยมีพลตำรวจโทชาญเทพ เสสะเวช อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเป็นประธานมีคณะทำงานอยู่ 33 คน 


ผลของการตรวจสอบเบื้องต้นแค่ย้อนหลังประมาณ 2 ปีกว่าปรากฏว่าปฐมเหตุนั้นในห้วงปี 2546 ถึง 2547 รัฐบาลในยุคนั้น การบินไทยจัดซื้อเครื่องบิน a340 500 และเครื่องบิน a340 600 รวม 10 ลำเป็นเครื่องบินชนิด 4 เครื่องยนต์และตั้งใจว่าจะนำมาบินระหว่างประเทศ ไทยกับประเทศสหรัฐอเมริกานั่นคือระหว่างกรุงเทพฯกับลอสแองเจลิส และกรุงเทพนิวยอร์กผลของการดำเนินการบินในช่วงนั้นปรากฏว่าขาดทุนทุกเที่ยวบินแค่เพียง 2-3 ปีก็ขาดทุนไปแล้ว 12,000 ล้าน หลังจากนั้นการบินไทยก็กลับมาคิดทบทวนใหม่นำเครื่องบิน 4 เครื่องยนต์ 10 ลำนี้ไปบินในเส้นทางเส้นเพิ่มเติม อีก 51 เส้นทางก็ปรากฏว่ายังขาดทุนหนักไปกว่าเดิมขาดทุนไปอีกประมาณ 39,000ล้านบาท หลังจากนั้นถามกลับมาว่าแล้วซื้อเครื่องบินเหล่านั้นไปได้อย่างไรส่วนตัวได้ไปตรวจสอบย้อนหลังก็พบว่าสภาพัฒน์ทำการทักท้วงแล้วทักท้วงทั้งบอร์ดการบินไทยและทักท้วงทั้งทางรัฐบาลแต่ก็ไม่ได้มีการรับฟังข้อทักท้วงของสภาพัฒน์ผู้ที่เป็นนายกรัฐมนตรีขณะนั้น ขณะนี้ไม่ได้อยู่ในประเทศไทยแล้ว

 


ดังนั้นตนจึงได้หาข้อมูลต่อไปว่า แล้วจากนั้นมีการดำเนินการอย่างไรก็พบว่าขณะนี้เครื่องบินทั้ง 10 ลำนั้นขายออกไปให้กองทัพอากาศแล้ว 1 ลำยังคงจอดอยู่และยังคงต้องเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบำรุงรักษาค่าประกันภัยและค่าจอดรวมแล้วตั้งแต่วันนี้จนถึงวันนี้ขาดทุนทั้งค่าด้อยค่าและค่าประกอบการขาดทุนทั้งหมดกว่า 62,000ล้านบาท ขณะนี้คณะกรรมการที่ตนได้ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริงในการบริหารของการบินไทยว่าบกพร่องเรื่องอะไรบ้างเรื่องนี้คือเรื่องปฐมเหตุต่อมาเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้มีมติว่าในระหว่างที่การบินไทยขาดทุนนั้นจะดำเนินการฟื้นฟูอย่างไรก็ปรากฏว่าการบินไทยได้เสนอแผนฟื้นฟูผ่านมาที่คณะรัฐมนตรีเพื่อที่จะดำเนินการฟื้นฟูปรากฏว่าคณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของ

 

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ซึ่งได้ให้ความใส่ใจและมีความเป็นห่วงใหญ่การบินไทยเป็นอย่างมากก็มาพิจารณาดูว่าการที่จะฟื้นฟูการบินไทยได้นั้นมีกี่ช่องทางช่องทางแรกคือรัฐบาลช่วยเข้าไปอุ้ม ปรากฏว่าการบินไทยเสนอมาให้การบินไทยเข้าไปกู้เงินอีก 54,000 ล้านบาท และรัฐบาลจะต้องเป็นผู้ค้ำประกันและถ้านำเงินก้อนดังกล่าวมาใช้จ่ายในการบริหารจัดการในช่วงนั้นถ้าหากไม่ได้ผลอีกก็จะต้องเพิ่มทุนด้วยการออกหุ้นกู้อีก แปดหมื่นกว่าล้านบาท นั่นคือทางเลือกที่ 1 รัฐบาลยังไม่เห็นด้วยส่วนในทางเลือกที่ 2 รัฐบาลปล่อยให้ดำเนินกิจการต่อไปจะล้มหรือจะฟื้นก็แล้วแต่ความสามารถของการบินไทยและทางเลือกที่ 3 คือบริษัทการบินไทยจำกัดมหาชนเป็นรัฐวิสาหกิจจะต้องดำเนินการฟื้นฟูด้วยการส่งเข้าสู่ศาลล้มละลาย ตามพรบ.ล้มละลายและจะให้เกิดความคล่องตัวได้นั้นการบินไทยต้องลดการถือหุ้นของกระทรวงการคลังที่ถือหุ้นอยู่ประมาณ 51% ไม่ให้ถือหุ้นเกิน 50% เพื่อเปลี่ยนจากรัฐวิสาหกิจ มาเป็นบริษัทปกติธรรมดาเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์

 

 

ถาวร แจงสภาฯรัฐบาลชุดไหนดันทุรัง ไม่ฟังสภาพัฒน์ค้าน ทำการบินไทยเจ๊ง 6.2 หมื่นล้าน

 

หลังจากนั้นเมื่อโอนหุ้นแล้วการบินไทยก็ไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจอีกต่อไปรัฐมนตรีทุกคนไม่มีอำนาจที่จะกำกับรัฐบาลชุดนี้ก็ยังคงห่วงใยจึงตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 คณะเพื่อดำเนินการติดตามให้เกิดความเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างการบินไทยกับรัฐบาลโดยมี นายวิษณุเครืองามเป็นประธานและมีกรรมการอื่นอีก 8 คนเพื่อติดต่อประสานงานในเหตุขัดข้องในการฟื้นฟูกิจการการบินไทยไปยังรัฐบาลและรัฐบาลจะมีคำแนะนำในการให้ความช่วยเหลืออย่างไรเช่นประสานกับหน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจในสังกัดรัฐบาลว่าในขณะที่จะทำการฟื้นฟูเกิดปัญหาอะไรบ้างจะได้ช่วยเหลือได้หลังจากนั้นการบินไทยก็ยื่นเข้าฟื้นฟูและเมื่อวันที่ 17 ที่ผ่านมานี้ ศาลได้ดำเนินการไต่สวนไปแล้วสองปากนั่นคือคนที่จะเป็นผู้บริหารแผนและจะดำเนินยื่นต่อศาลผู้ที่เข้าไปเบิกความก็คือนายปิยสวัสดิ์และนายชาญศิลป์และวันที่ 20 และ 25 สิงหาคมนี้ศาลนัดอีก 2 นัด ก็คงจะเสร็จสิ้น โดยสารได้นัดผอ. ฝ่ายการเงินและผู้ตรวจสอบบัญชีเข้าไปเบิกความในศาลและที่สำคัญที่สุดขณะนี้มีผู้ที่เป็นเจ้าหนี้รายย่อยยื่นคัดค้านเพื่อที่จะเข้ามาร่วมบริหารแผนด้วยศาลได้นัดไกล่เกลี่ยไปแล้วเมื่อวันที่ 17 ที่ผ่านมาอย่างไม่มีการตกลงและจะนัดไกล่เกลี่ยใหม่วันที่ 20 และ 25 สิงหาคมนี้อีกครั้งอย่างไรก็ตามเพื่อให้การฟื้นฟูกิจการการบินไทยผ่านไปได้ด้วยดีทางรัฐบาลได้แต่งตั้งนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ให้ทำหน้าที่รักษาการณ์ ผู้บริหารการบินไทยแทนนายจักรกฤษที่ลาออกไป

ส่วนในเรื่องของการบริหารแผนฟื้นฟูที่มีการถามกันมานั้นซึ่งแผนนี้ยังอยู่ในระหว่างการไต่สวนของศาลแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดแผนฟื้นฟูที่จะเป็นไปได้หรือไม่เกิดความมั่นใจกับเจ้าหนี้หรือไม่เกิดความสบายใจของลูกค้าหรือไม่เพราะมีเจ้าหนี้อยู่ 2 ล้านกว่าคนยอดหนี้ทั้งหมดคือ 3 แสนกว่าล้านบาทสินทรัพย์มีอยู่กว่า 3 แสนล้านบาทสิ่งสำคัญที่สุดเมื่อวันอังคารที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีได้สั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่เป็นรัฐวิสาหกิจหรือของราชการที่เป็นเจ้าหนี้หรือผู้ที่มีอิทธิพลทางด้านการตัดสินใจในการฟื้นฟู ว่าจะเป็นไปได้อย่างราบรื่นหรือไม่ให้กลุ่มเหล่าความร่วมมือ เพราะลูกหนี้ทั้งหมด 2 ล้านกว่าราย เจ้าหนี้รายใหญ่ให้ความร่วมมือหมดแล้วและศาลก็ได้มีความเมตตาด้วยการให้เจ้าหนี้กับลูกหนี้ติดต่อประสานงานกันผ่านระบบออนไลน์การไต่สวนจึงสะดวกยิ่งขึ้นสิ่งสำคัญที่มีการถามมาว่าการฟื้นฟูมีความหวังหรือไม่อย่างไรสิ่งแรกคือต้องบอกว่าการบริหารแผนของนายชาญศิลป์ที่เข้ามากำกับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้แยกการบริหารจัดการออกเป็น 2 แนวทาง

แนวทางการบริหารภายในนั้นได้พบพนักงานและชี้แจงเริ่มต้นโครงการที่เรียกว่า Together we care นั่นคือขอความร่วมมือจากพนักงานทุกคนในการลดเงินเดือนลดรายได้ที่เคยได้รับปรากฏว่า 80 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานทั้งหมดจาก 2หมื่น กว่าคนให้ความร่วมมือแม้แต่พนักงานที่มีเงินเดือนระดับ 20,000 กว่าบาทก็ให้ความร่วมมือ เพราะพวกเขาเหล่านั้นรักองค์กร

ส่วนเรื่องการบริหารการปรับพนักงานออกหรือไม่มีคำถามขึ้นมามากมาย ถ้าแผนของการบินไทยฟื้นฟูเป็นไปตามที่คาดหวังและขณะนี้การลดค่าใช้จ่ายเป็นไปตามแผนการที่จะลดพนักงานหรือปรับออกนั้นก็คงจะไม่เกิดขึ้นแต่อย่างไรก็ตามหากแผนฟื้นฟูที่ผ่านเข้าไปในศาลผู้บริหารแผนพบปัญหาอุปสรรคก็อาจต้องใช้วิธีการลดพนักงานด้วยการสมัครใจลาออกโดยมีค่าตอบแทนและไม่มีการบังคับนั่นคือสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างไรก็ตามแค่นั้นยังไม่พอสิ่งที่เราพบก็คือเมื่อตนเข้ามาบริหารการบินไทยก็พบว่ามีฝูงบินอยู่ทั้งหมด 102 ลำปรากฏว่ามีเครื่องบินที่ต้องปลดระวาง และมีแผนที่ต้องจัดหาเครื่องบินเพิ่ม 38 ลำใช้เงินกว่า 1หมื่น ล้านบาท 

ซึ่งตนก็ได้ให้นำโครงการดังกล่าวกลับไปทบทวนเรื่องการจัดซื้อทดแทนเครื่องบินกลุ่มไหนบินเส้นทางใดบ้างลำตัวกว้างลำตัวแคบวิสัยไกลวิสัยใกล้ก็ไม่ได้มีคำตอบกลับมาดังนั้นตนจึงได้นำแผนนั้นกลับไปดำเนินการใหม่จนกระทั่งวันนี้ยังชะลอโครงการและไม่มีการจัดซื้อเครื่องบินใหม่มาถึงวันนี้ 102 ลำในขณะที่ยังรออยู่ปรากฏว่าผู้บริหารแผนดำเนินการให้ลดดาวไซส์ซิ่งลงทั้งองค์กร และที่ถามมาครั้งสุดท้ายน่าจะลดจัก 1 0 2 ลำเหลือฝูงบินของการบินไทยไม่เกิน 60 ลำและรถจาก 11 แบบให้เหลือประมาณ 3 แบบเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและหากเป็นไปตามนี้ก็คาดหวังว่าการบินไทยจะต้องกลับมาฟื้นเป็นสายการบินแห่งชาติที่เราภาคภูมิใจรักคุณเท่าฟ้าอีกครั้งหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องขอชี้แจงว่าไม่ต้องกังวลใจการบริหารงานของการฟื้นฟูจะเป็นไปได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ปัจจัยคือ

1. พนักงานการบินไทยและวัฒนธรรมของการบินไทยว่าคุณจะร่วมมือปรับเปลี่ยนจากความไม่เป็นรัฐวิสาหกิจที่ติดขัดโน่นนี่นั่น การตัดสินใจได้เร็วดำเนินการธุรกิจให้เป็นธุรกิจที่แท้จริงอุตสาหกรรมการบินที่มีการแข่งขันกันมากขึ้นบริษัทการบินในเมืองไทยอย่างน้อย 


2.บริษัทเข้าไปช่วยกันฟื้นฟูและต่างชาติล้มละลายไปแล้วคุณจะต้องปรับการทำงานลง ซึ่งประการที่ 2 นั่นคือผู้บริหารแผนจะต้องจริงใจและจริงจังในการบริหารแผน

3. แผนฟื้นฟูจะต้องฟังเจ้าหนี้ด้วยทั้งหลายเหล่านี้หากสมัครใจทำกันอย่างสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวมั่นใจว่า Together we care เราไปด้วยกันได้และสามารถฟื้นฟูกิจการไทยให้กลับมาฟื้นฟูได้

ในเรื่องของนโยบายรัฐบาลนี้เราทราบดีว่าการท่องเที่ยวเป็นบทบาทสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นแต่อย่างไรก็ตามเที่ยวบินในปี 2562 ที่เข้ามาในประเทศไทยมีกว่า 1 ล้าน 1แสนเที่ยวบินพอเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และมีการปิดน่านฟ้าในเดือนเมษายนเที่ยวบินเหลืออยู่เพียง 5 ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของเที่ยวบินทั้งหมดแต่อย่างไรก็ตามนโยบายเชื่อมโยงเริ่มใช้สู่เมืองรองของรัฐบาลนี้คือต้องการเน้นให้การท่องเที่ยวในเมืองรอง 53 เมืองทั้งหมดรวมทั้งพัทลุงด้วยจะได้ฟื้นขึ้นมาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์นายนริศขำนุรักษ์ได้ทำหนังสือบอกว่านี่เป็นตัวแทนของประชาชนจากจังหวัดพัทลุงสอบถามมาว่าจะสร้างสนามบินที่จังหวัดพัทลุงหรือไม่ตนได้นำไปหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหลังจากนั้นก็ได้สั่งการให้ทาง กรมท่าอากาศยานจัดของเงินงบประมาณได้ 7 ล้านบาทโดยประมาณและขณะนี้ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงการคลังแล้วและนำไปสู่การทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างสนามบินที่จังหวัดพัทลุงส่วนตัวคิดว่าสิ้นเดือนนี้น่าจะมีความคืบหน้าและ จะได้เสนอต่อไปยังประชาชนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดพัทลุงได้ทราบต่อไป

อีกเรื่องคือหลังจากที่ตั้งคณะ ทำงานขึ้นมาตรวจสอบการสอบทุจริตหรือการทำงานที่ไม่ได้ประสิทธิภาพแล้วปรากฏว่าคณะกรรมการกฤษฎีการายงานมาว่าคณะกรรมการชุดนี้หมดอำนาจแล้วแต่อย่างไรก็ตามภายในเดือนนี้จะแถลงส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติให้การบินไทยส่งเรื่องรัฐบาลเพื่อดำเนินการต่อไปในสิ่งที่เราพบว่ามีการสอบทุจริตเกิดขึ้น

 

ถาวร แจงสภาฯรัฐบาลชุดไหนดันทุรัง ไม่ฟังสภาพัฒน์ค้าน ทำการบินไทยเจ๊ง 6.2 หมื่นล้าน

 

คลิกเพื่อชมคลิปสำรอง