- 08 ก.ย. 2563
สืบเนื่องความไม่สงบของประเทศไทยที่หลังจากโควิดสร่างซาก็มีประชาชนบางกลุ่มได้เรียกร้องประชาธิปไตยจากรัฐบาล ซึ่งการชุมนุมดังกล่าวไม่เพียงแต่เรียกร้องหาประชาธิปไตยเท่านั้น แต่ยังลุกลามไปถึงเบื้องสูง จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเผ็ดร้อนตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
สืบเนื่องความไม่สงบของประเทศไทยที่หลังจากโควิดสร่างซาก็มีประชาชนบางกลุ่มได้เรียกร้องประชาธิปไตยจากรัฐบาล ซึ่งการชุมนุมดังกล่าวไม่เพียงแต่เรียกร้องหาประชาธิปไตยเท่านั้น แต่ยังลุกลามไปถึงเบื้องสูง จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเผ็ดร้อนตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
เกี่ยวกับเรื่องนี้ อัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ ได้แชร์โพสต์ของเพจ Amthaipaper (หนังสือพิมพ์ไทยในอังกฤษ) ซึ่งได้รายงานว่า "ทูตไทยประจำลอนดอนร่อน จม.ถึงสื่อนอก ชี้แจงความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ กม.หมิ่นสถาบันฯ ซึ่งเอกอัครราชทูตไทยประจำลอนดอน ส่งหนังสือถึงไฟแนนเชียลไทม์สในวันจันทร์ (7 ก.ย.) ชี้แจงกรณีที่สื่อมวลชนแห่งนี้เผยแพร่บทความบ่งชี้ถึงความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในหนังสือที่ส่งถึงหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทม์ส ฉบับออนไลน์
นายพิษณุ สุวรรณะชฎ เอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน ระบุว่ารู้สึกผิดหวังเป็นอย่างยิ่งต่อบทความหนึ่งในนิตยสารไฟแนนเชียลไทม์ส ที่เขียนถึงพระมหากษัตริย์ของไทย โดยระบุว่าจำเป็นต้องออกถ้อยแถลงนี้ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจและแก้ไขเนื้อหาผิดๆ ของบทความดังกล่าว คำชี้แจงของเอกอัครราชทูตระบุว่า “อย่างแรกเลยคือ ไม่มีกฎหมายข้อใดที่ห้ามพูดถึงพระมหากษัตริย์ การพูดคุยเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมอบสิทธิสำหรับปกป้องสิทธิและชื่อเสียงแก่พระมหากษัตริย์ ราชินี องค์รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในแนวทางเดียวกับกฎหมายหมิ่นประมาทสำหรับบุคคลทั่วไป”
“ประเด็นต่อมา คือ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่มีได้เป้าหมายจำกัดสิทธิของประชาชนในการแสดงออกอย่างเสรีหรือความชอบธรรมของเสรีภาพทางวิชาการ หรือการถกเถียงกันเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ในฐานะสถาบันหนึ่งๆ ในปัจจุบันกฎหมายนี้มีอยู่ในหลายประเทศ ในรูปแบบที่หลากหลาย และมีเป้าหมายปกป้องสถาบันกษัตริย์ ในขณะที่หน้าที่อันสูงสุดของสถาบันพระมหากษัตริย์กีดขวางไม่ให้สถาบันฯ แก้ต่างหรือฟ้องร้องทางกฎหมาย กับความคิดเห็นหมิ่นประมาท”
“อย่างที่ 3 คือ ทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ปฏิบัติการอยู่ในเมืองไทยได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมภายใต้กฎหมาย รัฐบาลกำลังหาทางร่วมกับบรรดาบริษัทสื่อสังคมออนไลน์สำหรับจัดการกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมที่ละเมิดกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และคำร้องขอถอดหรือจำกัดการเข้าถึงเนื้อหาทางออนไลน์ที่ผิดกฎหมาย สอดคล้องกับกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของไทย”
“และสุดท้าย แต่ไม่ท้ายสุด รัฐบาลไทยให้ค่าอย่างสูงต่อสิทธิการแสดงออก ในฐานะพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนอื่นๆทั้งมวล และในฐานะส่วนหนึ่งของเสาหลักในประชาธิปไตยของเรา” หนังสือชี้แจงระบุ พร้อมกับลงชื่อ นายพิษณุ สุวรรณะชฎ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน"
ที่มา :ไฟแนนเชียลไทม์ส