- 24 ก.ย. 2563
สืบเนื่องจาก หลายปีที่ผ่านมาคดีการฟ้องร้องว่าด้วยความผิด การทุจริตโครงการบ้านเอื้ออาทรของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ถือเป็นอีกหนึ่งประวัติศาตร์แฟ้มอาชญากรรม ที่มีหลักฐานเป็นซากสิ่งปลูกสร้าง ของการเคหะแห่งชาติ แต่ไม่สามารถนำผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ จนกระทั่งมีการนำกรณีเข้าสู่การพิจารณาของ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเริ่มต้นขั้นตอนไต่สวน จนถึงวันนัดคำพิพากษา 24 ก.ย. 2563 โดยมีนักการเมืองชื่อดัง อย่าง นายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ตกเป็นจำเลยร่วมกับผู้ต้องหารวม 14 ราย
สืบเนื่องจาก หลายปีที่ผ่านมาคดีการฟ้องร้องว่าด้วยความผิด การทุจริตโครงการบ้านเอื้ออาทรของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ถือเป็นอีกหนึ่งประวัติศาตร์แฟ้มอาชญากรรม ที่มีหลักฐานเป็นซากสิ่งปลูกสร้าง ของการเคหะแห่งชาติ แต่ไม่สามารถนำผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ จนกระทั่งมีการนำกรณีเข้าสู่การพิจารณาของ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเริ่มต้นขั้นตอนไต่สวน จนถึงวันนัดคำพิพากษา 24 ก.ย. 2563 โดยมีนักการเมืองชื่อดัง อย่าง นายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ตกเป็นจำเลยร่วมกับผู้ต้องหารวม 14 ราย
(คลิกอ่านข่าวประกอบ : นับถอยหลัง ศาลฎีกาฯนัดชี้ชะตา วัฒนา เมืองสุข กับพวก คดีมรดกบาป ทุจริตบ้านเอื้ออาทร )
กระทั่งศาลฎีกาฯ อ่านคำพิพากษาคดีทุจริตโครงการบ้านเอื้ออาทรเสร็จสิ้น โดยสั่งให้จำคุกนายวัฒนา จำเลยที่ 1 เป็นเวลา 99 ปี ตามกฎหมายให้จำคุกได้สูงสุด 50 ปี พร้อมจำคุกเสี่ยเปี๋ยง จำเลยที่ 4 เป็นเวลา 66 ปี ให้จำคุกได้สูงสุด 50 ปี จำคุกจำเลยที่ 5 เป็นเวลา 20 ปี จำเลยที่ 6 เป็นเวลา 44 ปี จำเลยที่ 7 เป็นเวลา 32 ปี ปรับจำเลยที่ 8 2 แสนกว่าบาท และจำคุกนายอริสมันต์ จำเลยที่ 10 เป็นเวลา 4 ปี ยกฟ้องจำเลยที่ 2, 3, 9, 11-14
(คลิกอ่านข่าวประกอบ : ด่วน!! ศาลฎีกาฯ พิพากษาจำคุก 99 ปี "วัฒนา เมืองสุข" คดีทุจริตบ้านเอื้ออาทร )
ล่าสุด ศาลฎีกาฯ อนุญาตให้ประกัน วัฒนา มีเงื่อนไขห้ามออกนอกประเทศ เว้นได้รับอนุญาต ภายหลังยื่นหลักทรัพย์ 10 ล้าน เป็นเงินในบัญชีธนาคาร + หลักทรัพย์เดิม 5 ล้าน เเละเติมเงินสดเพิ่มอีก 5 ล้าน
ทั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 แม้ว่าศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาเสร็จสิ้นแล้ว แต่ให้ถือว่าคดียังไม่ถึงที่สุด พร้อมให้สิทธิคู่ความในการยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ภายใน 30 วัน