ศรีสุวรรณฮึ่มแรง ฟ้องอาญาไม่เว้นครม.  ถ้ารฟม.ฝืนแก้ทีโออาร์รถไฟฟ้าสีส้ม เอื้อบริษัททุนโยงการเมือง

สืบเนื่องจากที่ก่อนหน้านี้ เป็นประเด็นใหญ่ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง สำหรับโครงการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร ภายหลัง ผู้บริหารองค์การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. มีแนวทางจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขทีโออาร์ จากเดิมที่กำหนดไว้ก่อนหน้า จนทำให้ถูกจับตาว่าการดำเนินการทั้งหมด เป็นไปเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ทางธุรกิจ กับบริษัทรับเหมาก่อสร้างรายยักษ์แห่งหนึ่งหรือไม่ เพราะรฟม.ได้มีการเปิดให้มีการซื้อเอกสารประกวดราคาไปก่อนหน้านานแล้ว และมีบริษัทเอกชนใหญ่ๆ ให้ความสนใจมากถึง 10 ราย ด้วยหลักการที่รับรู้ รับทราบ ตั้งแต่เริ่มต้นว่าจะยึดเอาผลการประมูลว่าด้วยผลตอบแทนต่อรัฐ หรือ ผู้ให้ราคาตอบแทนสูงสุดเป็นตัวชี้วัด รวมถึงมีไทม์ไลน์สำคัญ คือ รฟม.กำหนดให้มีการยื่นซองประมูลในเดือนก.ย. ที่ผ่านมา

สืบเนื่องจากที่ก่อนหน้านี้ เป็นประเด็นใหญ่ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง สำหรับโครงการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร ภายหลัง ผู้บริหารองค์การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. มีแนวทางจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขทีโออาร์   จากเดิมที่กำหนดไว้ก่อนหน้า จนทำให้ถูกจับตาว่าการดำเนินการทั้งหมด เป็นไปเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ทางธุรกิจ กับบริษัทรับเหมาก่อสร้างรายยักษ์แห่งหนึ่งหรือไม่ เพราะรฟม.ได้มีการเปิดให้มีการซื้อเอกสารประกวดราคาไปก่อนหน้านานแล้ว และมีบริษัทเอกชนใหญ่ๆ ให้ความสนใจมากถึง 10 ราย  ด้วยหลักการที่รับรู้ รับทราบ ตั้งแต่เริ่มต้นว่าจะยึดเอาผลการประมูลว่าด้วยผลตอบแทนต่อรัฐ หรือ ผู้ให้ราคาตอบแทนสูงสุดเป็นตัวชี้วัด รวมถึงมีไทม์ไลน์สำคัญ คือ รฟม.กำหนดให้มีการยื่นซองประมูลในเดือนก.ย. ที่ผ่านมา

กระทั่ง ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์  รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ อดีตรองผู้ว่าฯกทม.ได้โพสต์แสดงความเห็นในประเด็นว่าด้วย   "เปลี่ยนเกณฑ์ประมูล รถไฟฟ้าสายสีส้ม ใครได้ประโยชน์?"  มีใจความสำคัญระบุว่า  "เป็นข่าวที่สร้างความประหลาดใจให้แก่ผู้สนใจการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มมาเป็นระยะเวลาหนึ่งว่า เหตุใดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จึงเปลี่ยนหลักเกณฑ์ การคัดเลือกเอกชนให้เข้ามาร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม หลังจากปิดขายซองเอกสารประมูลแล้ว

 

ศรีสุวรรณฮึ่มแรง ฟ้องอาญาไม่เว้นครม.  ถ้ารฟม.ฝืนแก้ทีโออาร์รถไฟฟ้าสีส้ม เอื้อบริษัททุนโยงการเมือง

อ่านข่าว - ดร.สามารถ ชำแหละยับรฟม. จู่ๆรื้อเกณฑ์ประมูล รถไฟฟ้าสีส้ม คาใจสุดใครได้ประโยชน์
 

ล่าสุด นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการคัดเลือกตาม ม.36 แห่ง พรบ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) ได้มีมติเมื่อวันที่ 21 ส.ค.63 มีมติเห็นชอบเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอกสารประกวดราคาใหม่(TOR) หลังจากที่มีการขายซองประกวดราคาไปแล้วนั้น

 


มติดังกล่าวส่อพิรุธหลายประการ ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นสาระสำคัญ และไม่เคยมีการดำเนินการลักษณะเช่นนี้กับโครงการขนาดใหญ่ที่เป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนมาก่อน โดยให้พิจารณาซองเทคนิคมาคิดคะแนนรวมกับซองการเงิน โดยกำหนดสัดส่วนการให้คะแนน 30/70 หากรายใดได้คะแนนรวมสูงสุดก็จะได้รับการคัดเลือก เปรียบเทียบวิธีเดิมการพิจารณาจะแยกซองเทคนิค หากผ่านตามเกณฑ์ จึงจะเปิดซองการเงิน โดยผู้ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดจะได้รับการคัดเลือก

 

การคัดเลือกโดยใช้ข้อเสนอทางเทคนิค จะเป็นช่องทางที่ส่อไปในทางไม่สุจริต ไม่เป็นธรรม หรืออาจเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มบริษัทใดบริษัทหนึ่งหนึ่งเป็นการเฉพาะหรือไม่ เพราะจะเป็นการให้น้ำหนักในการใช้ดุลยพินิจของคณะกรรมการคัดเลือกได้มากกว่าแบบเดิม ซึ่งจะทำให้ได้ผู้ชนะการประมูลไม่ใช่ผู้ที่ให้ผลตอบแทนต่อรัฐสูงสุดก็ได้ ซึ่งในที่สุดหากเอกชนจะอยู่ได้ก็ต้องขอความช่วยเหลือจากภาครัฐในการสนับสนุนภาระทางการเงิน และหรือการช่วยเหลือค่างานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้า บริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาทั้งเส้นทาง ซึ่งท้ายที่สุดก็จะไม่เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีที่มอบหมายให้ รฟม. คค. และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 พรบ.การร่วมลงทุนฯ 2562 ของโครงการฯ รับข้อสังเกตของคณะกรรมการนโยบายฯ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตาม พรบ.การร่วมลงทุนฯ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด

 


ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลง TOR ใหม่หลังจากที่มีการขายซองประกวดราคาไปแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นการขัดต่อมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อ 28 ม.ค.63 และยังขัดต่อการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐ ตาม ม.6(3) และ ม.32 ของ พรบ.ร่วมทุนฯ 2562 ประกอบกับข้อ 8(4) ของคณะกรรมการนโยบายร่วมทุนฯ อีกด้วย ดังนั้นเมื่อ รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ใช้อำนาจเปลี่ยนแปลง TOR ซึ่งจะยังผลให้ไม่เป็นไปตามมติ ครม.และกฎหมายดังกล่าวแล้ว ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ

 

 

ด้วยเหตุดังกล่าว สมาคมฯจึงจะนำความไปร้องเรียนและสอบถามต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อบอกกล่าวและตั้งประเด็นพิพาทไว้ว่า หากในที่สุดแล้วผู้ชนะการประมูลโครงการฯนี้ มิใช่ผู้ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดแก่รัฐ ครม.หรือหน่วยงานใดจะต้องรับผิดชอบทั้งทางวินัย ทางอาญาและทางปกครอง โดยสมาคมฯจะเดินทางไปยื่นคำร้องในวันจันทร์ที่ 5 ต.ค.63 เวลา 10.00 น. ณ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนฯ (ตึก กพร.เดิม) ทำเนียบรัฐบาล นายศรีสุวรรณ กล่าวในที่สุด

 

ศรีสุวรรณฮึ่มแรง ฟ้องอาญาไม่เว้นครม.  ถ้ารฟม.ฝืนแก้ทีโออาร์รถไฟฟ้าสีส้ม เอื้อบริษัททุนโยงการเมือง