- 10 ต.ค. 2563
นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความ เป็นจดหมายเปิดผนึกถึง Frihjof Schmidt.สมาชิกรัฐสภาBundestag บิดเบือนก้าวล่วงสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย
ติดตามต่อเนื่องจากจุดเริ่มที่ "คณะก้าวหน้า" และสำนักข่าวบางแห่ง นำคลิปและข้อมูลการอภิปรายในสภาฯเยอรมนี ของ นายฟริตยอฟ ชมิดต์ ( Frithjof Schmidt ) ส.ส.พรรคกรีน ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันเบื้องสูงของไทย ในลักษณะบิดเบือนจากข้อเท็จจริง โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการใช้พระราชอำนาจทางการเมือง สอดรับกับการปลุกระดมมวลชนของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "คณะราษฎร" ให้ออกมากดดันพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมไปถึงการเรียกร้องให้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง โครงสร้างสถาบันกษัตริย์
( คลิกอ่านข่าวประกอบ : ดร.นิว ออกโรงแฉ 5 ปมพิรุธ เบื้องหลังล็อบบี้ ส.ส.เยอรมนี โจมตีสถาบันฯ )
ล่าสุด นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ได้โพสต์ข้อความ เป็นจดหมายเปิดผนึกถึง Frihjof Schmidt.สมาชิกรัฐสภาBundestag แสดงใจความสำคัญ ระบุว่า "เรียน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเยอรมันประจำประเทศไทย ท่านเอกอัตรราชทูตเยอรมันได้โปรดส่งผ่านจดหมายฉบับนี้ไปให้ Mr. Frihjof Schmidt. สมาชิกรัฐสภา Bundestag. จากพรรคกรีน ที่ได้ตั้งกระทู้ถาม Mr. Maas รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมัน ในรัฐสภา แต่กระทู้ดังกล่าวพาดพิงถึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินของไทย ในทางที่ไม่ดี
ผมขอถือโอกาสนี้ พูดแทนคนไทยที่จงรักภักดี และปรารถนาที่จะเห็นความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลเยอรมัน ตลอดจนความสัมพันธ์อันดียิ่งระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ
ขอได้โปรดส่งผ่านความรู้สึกผิดหวังไม่พอใจที่ Mr.Schmidt. ได้พูดถึงองค์พระประมุขของไทยในทางที่ไม่ให้ความเคารพอันพึงจะมี และในทางที่จะทำลายความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศของเราทั้งสองที่ประวัติความสัมพันธ์อันดียิ่งมาเป็นเวลาร้อยกว่าปี
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จประทับที่เยอรมันถึงสองครั้ง และทรงประทับรักษาพระวรกายในเยอรมัน รวมทั้งได้ทรงมีพระราชดำริให้สร้างศาลาไทยในเมืองบาดฮอมบวร์ก คนไทยมีความชื่นชม และนิยมสินค้าที่ผลิตจากเยอรมัน ทั้งรถยนต์ และเครื่องไฟฟ้า ตลอดจน เยอรมันโดยเฉพาะอย่างยิ่งแคว้นบาวาเรียเป็นจุดหมายสำคัญของการท่องเที่ยวของคนไทย
การอภิปรายของ ส.ส.Schmidt ได้สร้างความรู้สึกที่เจ็บปวดต่อคนไทยที่มีความหวังดี ปรารถนาดีต่อความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ. ขอให้ท่านเอกอัครราชทูตได้โปรดส่งผ่านความรู้สึกของคนไทยให้ Mr.Schmidt และสมาชิกรัฐสภา Bundestag ได้รับทราบด้วย