- 17 ต.ค. 2563
อ.ชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ศาลยุติธรรม ได้โพสต์แสดงความเห็นว่า "กรณีกลุ่มผู้ชุมนุมเข้าไปประชิดรถพระที่นั่งของสมเด็จพระบรมราชินี"
สืบเนื่องจากการกระทำของกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมือง โดยอ้างเรื่องประชาธิปไตย แต่ประเด็นการเคลื่อนไหววันนี้ ชัดเจนแล้วว่าต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสถาบันเบื้องสูง และมีพฤติกรรมในเชิงคุกคาม โดยไม่สนใจข้อกฎหมาย
( คลิกอ่านข่าวประกอบ : เปิดความจริงม็อบคุกคามรถพระที่นั่ง จิตอาสาแพทย์ เห็นเหตุการณ์ ถ่ายคลิปเล่าหมด เอ่ยคับแค้นใจน้ำตาไหล )
ล่าสุด อ.ชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ศาลยุติธรรม ได้โพสต์แสดงความเห็นว่า "กรณีกลุ่มผู้ชุมนุมเข้าไปประชิดรถพระที่นั่งของสมเด็จพระบรมราชินี ชูสามนี้ว ตะโกนด่าด้วยถ้อยคำหยาบคายและขว้างสิ่งของไปที่รถพระที่นั่งเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 นั้น
ต้องถือว่าเป็นเหตุการณ์ร้ายแรงที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ของชาติไทย เพิ่งเกิดขึ้นมาครั้งนี้เป็นครั้งแรก อันเป็นเหตุให้นายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
แต่พรรคร่วมฝ่ายค้านและอาจารย์มหาวิทยาลัยกลุ่มหนึ่ง ออกแถลงการณ์คัดค้านการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยเห็นว่าไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงอะไร นี่คือ การแสดงให้เห็นว่า บุคคลเหล่านี้มีความคิดความเห็นอย่างไรในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
.
ก่อนหน้านั้น อ.ชูชาติ ได้โพสต์ข้อมูลเขิงกฎหมาย เกี่ยวกับการดำเนินการกับผู้กระทำผิด อันเกี่ยวเนื่องกับการก่อเหตุ ความไม่สงบ วุ่นวาย ในบ้านเมือง
"....ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๗๘ บัญญัติว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคําสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่
.....(๑) เมื่อบุคคลนั้นได้กระผิดความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๐
.....มาตรา ๘๐ บัญญัติว่า ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำ หรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำผิดมาแล้วสดๆ
.....กรณีที่เจ้าหน้าตำรวจทำการจับกุมผู้นำกลุ่มการชุมนุมที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเมื่อวานวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๓ นั้น
.....กลุ่มผู้ชุมนุมได้กระผิดต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายประการ เช่น สาดสีใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นการกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๘ เป็นต้น
.....เจ้าพนักงานตำรวจจึงมีอำนาจจับกุมผู้กระผิดได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ
.....การกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย"