- 18 ต.ค. 2563
สืบเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ถูกปลุกปั่น ให้มีการรวมตัวตามสถานที่สาธารณะเรียกร้องประชาธิปไตย กดดันให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออก ขณะที่นักการเมืองอย่าง นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธารนคณะก้าวหน้า แสดงความเห็นชัดเจน เรียกร้องให้เดินหน้าปรับรื้อโครงสร้างสถาบันกษัตริย์ โดยอ้างถึงปริมาณคนและรูปแบบการชุมนุมที่แสดงออกถึงการจาบจ้วง ดูหมิ่นสถาบันฯ อย่างชัดเจน
สืบเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ถูกปลุกปั่น ให้มีการรวมตัวตามสถานที่สาธารณะเรียกร้องประชาธิปไตย กดดันให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออก ขณะที่นักการเมืองอย่าง นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธารนคณะก้าวหน้า แสดงความเห็นชัดเจน เรียกร้องให้เดินหน้าปรับรื้อโครงสร้างสถาบันกษัตริย์ โดยอ้างถึงปริมาณคนและรูปแบบการชุมนุมที่แสดงออกถึงการจาบจ้วง ดูหมิ่นสถาบันฯ อย่างชัดเจน
(คลิกอ่านข่าวประกอบ : ดร.นิว ซัดฮีโร่หลอกเด็ก ธนาธรโผล่ม็อบ อ้างความสัมพันธ์สถาบันฯ-ปชช.ตกต่ำ จำเป็นต้องปฏิรูป )
ล่าสุด นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ทำไม ทำร้าย ประเทศไทยของฉัน แสดงข้อมูลเมื่อสอบถามถึง คำถามที่ประชาชนอยากถาม พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.9 อยากถามว่า ทำร้ายประเทศไทยของฉัน ทำไม ปลุกปั่นกระแสแตกแยกของคนในชาติของฉันทำไม ทำไปเพื่ออะไร ทำเพื่อใคร ทำไมเลือกทำตอนนี้ ในขณะที่ ร้อยละ 12.1 ไม่อยากถาม
ประเด็นน่าพิจารณา คือ เมื่อถามถึง ความเห็นต่อ ภาพเศรษฐกิจเกาะฮ่องกง ก่อนและหลัง ม็อบคนรุ่นใหม่และความขัดแย้งรุนแรงบานปลายของคนในเกาะฮ่องกง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.4 ระบุเสียหาย แย่หนักลงไปอีกหลังมีม็อบขัดแย้งรุนแรงบานปลาย ความแตกแยกของคนในเกาะฮ่องกง ในขณะที่ร้อยละ 6.6 ระบุไม่แย่ ไม่เสียหาย นอกจากนี้ เมื่อถามถึง ความเห็นต่อ ภาพเศรษฐกิจของประเทศ ลิเบีย ก่อนและหลัง ขัดแย้งรุนแรงบานปลาย เกิดจลาจล ต่างชาติอ้างความชอบธรรมเข้าแทรกแซง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.3 ระบุเสียหาย แย่หนักลงไปอีก ในขณะที่ ร้อยละ 8.7 ไม่แย่ ไม่เสียหาย
ส่วนกรณีน่าเป็นห่วงคือ เมื่อถามถึง ความเห็นต่อ ภาพเศรษฐกิจของประเทศไทย ก่อนและหลัง ม็อบขัดแย้งรุนแรงบานปลาย ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ความแตกแยกของคนในชาติ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.8 เสียหาย แย่หนักลงไปอีก ในขณะที่ร้อยละ 7.2 ไม่แย่ ไม่เสียหาย และที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.3 เป็นทุกข์และเดือดร้อน จากการชุมนุม ม็อบ ถ้าเกิดวิกฤตเศรษฐกิจและวิกฤตโควิดที่แย่ลงไปอีก ในขณะที่เพียงร้อยละ 2.7 ไม่ทุกข์ ไม่เดือดร้อนอะไร
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.4 ยังคงอยากเห็นและต้องการให้คนไทย รู้รักสามัคคี บ้านเมืองสงบสุขโดยเร็ว แต่ร้อยละ 6.6 ไม่อยากเห็น ไม่ต้องการ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.2 สนับสนุนให้ทำประชาธิปไตยอย่างสงบสุข แก้ขัดแย้งกันในสภามากกว่า พาคนลงถนน แต่ร้อยละ 6.8 ไม่สนับสนุน
ทั้งนี้ ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า คนเพียงหยิบมือเดียวจะไม่เป็นทุกข์ ไม่เดือดร้อนจากความแตกแยกรุนแรงบานปลายของคนในชาติแล้วจะไปทำร้ายตัวเองทำร้ายประเทศชาติของตัวเองไปเพื่ออะไร เพื่อใคร ทำไปทำไม เพราะจะมีประโยชน์อะไรถ้าได้ชัยชนะบนซากปรักหักพัง มีแต่แพ้กันทั้งนั้น ยกเว้นขบวนการที่อยู่เบื้องหลังจะเป็นผู้ชนะทั้งคนไทยเพียงหยิบมือและต่างชาติที่จะอ้างความชอบธรรมเข้ามาจัดระเบียบประเทศหลังการสูญเสียและเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ชาติและของประชาชนไป
“ถ้ามองไปที่ “ฮ่องกงโมเดล” ของการชุมนุมม็อบคนรุ่นใหม่ที่กำลังมีขบวนการเบื้องหลัง ออกแบบมาใช้กับประเทศไทยโดยเอาจุดเปราะบางเช่น เรื่อง กฎหมายสูงสุดที่คนรุ่นใหม่ถูกปลุกปั่นให้ต่อต้านกฎหมายที่ต้องการให้แก้ไข จะทำให้เห็นภาพของการทำลายระบบเศรษฐกิจและความเจริญเติบโตที่บรรพบุรุษของคนบนเกาะฮ่องกงเคยสร้างกันมาด้วยความเสียสละ เสียเลือดเสียเนื้อ เสียชีวิตของคนบนเกาะฮ่องกง แต่มาพังพินาศไปจากการถูกบิดเบือน ปลุกปั่นกระแสแตกแยกของประชาชนที่เคยร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา
แล้วคนไทยกำลังจะเดินตามการยุยงปลุกปั่นกระแสแตกแยกของคนในชาติ ด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยี โซเชียลมีเดีย แพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาผลประโยชน์ของคนเฉพาะกลุ่มเพียงหยิบมือเดียวที่จะไม่เป็นทุกข์ ไม่เดือดร้อน จากวิกฤตชาติและวิกฤตของประชาชน หลังม็อบรุนแรงบานปลายและสูญเสีย ที่คนไทยทุกคนควรตั้งคำถามว่าสุ่มหัวร่วมมือกัน ทำร้ายประเทศไทยของฉัน ทำไม”