- 28 พ.ย. 2563
หมอภาคย์ ชี้การดีเบตระหว่าง ดร.อานนท์-รุ้ง มีประโยชน์ ดูแล้วจะรักในหลวงร.10
วานนี้ (28/11/2563) เพจเฟซบุ๊กของ นายแพทย์ภาคย์ โลหารชุน ผู้บังคับกองพันเสนารักษ์ที่ 3 ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ ต.โพธิ์กลาง อ.เมืองฯ จ.นครราชสีมา ได้โพสต์ข้อความพร้อมกับแชร์คลิปรายการถามตรงๆ กับจอมขวัญ โดยระบุว่า เทปนี้มีประโยชน์มากครับ ได้รับความเข้าใจมากขึ้นใน ปล. อยากให้พวกเราพี่น้องชาวไทยได้ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตนเองเรื่อง ทรัพย์สินส่วนพระองค์ ในหลวง ร.10 ที่ท่านพระราชทานให้เกิดประโยชน์กับปวงชนชาวไทย เกิดสาธารณประโยชน์ต่อประเทศไทย มากมายเพียงใด แล้วเราจะรักในหลวง
จากกรณีเมื่อวันที่ 27 พ.ย.63 รายการถามตรงๆ กับจอมขวัญ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี ดำเนินรายการโดย น.ส.จอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ ในหัวข้อ 2 มุมมอง ต่อ พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ 2561 ได้มีการเชิญ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิทย์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และคณาจารย์สถาบันทิศทางไทย ร่วมดีเบตกับ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง แกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม อีกทั้งยังเพิ่งได้เป็น 1 ใน 100 ผู้หญิงที่เป็นผู้นำสร้างความเปลี่ยนแปลงจากบีบีซี ประเทศอังกฤษ
โดยเนื้อหาบางช่วง ดร.อานนท์ ได้ระบุว่า ทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่ทรัพย์สินของรัฐบาล หรือราษฎร เพราะตั้งแต่ พ.ศ.2475 ที่ผ่านมา สำหรับคนที่เล่นหุ้น ถือหุ้น แล้วไปจ้างผู้จัดการกองทุน เจ้าของจะเข้าไปบริหารกองทุนไม่ได้แล้ว แต่ยังได้รับผลประโยชน์ หรือเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ ในขณะที่ผู้จัดการกองทุน ก็บริหารไป แต่พอหมดสัญญา คนที่เป็นเจ้าของคือ คนได้รับผลประโยชน์ แต่อาจมีการเปลี่ยนผู้จัดการกองทุน แบบเดียวกัน ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ก็เป็นเช่นนั้น เพราะกฎหมายเขียนไว้ชัดเจนว่า พระมหากษัตริย์ ทรงใช้ดอกผลของทรัพย์สินได้ ตั้งแต่ปี 2479 เรื่อยมา แต่ผู้จัดการกองทุนมีการเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
>> ดีลสุดปัง! 3 วันเท่านั้น <<
กระทั่งปี 2491 ยุครัฐบาล นายควง อภัยวงศ์ เริ่มตั้งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แต่ก็ยังกำหนดให้ ประธานบอร์ดทรัพย์สิน คือ รมว.คลัง ซึ่งกระทรวงการคลัง ในฐานะบอร์ด ก็คือ ผู้จัดการกองทุน แต่ดอกผลทั้งหมดก็อยู่ที่พระเจ้าแผ่นดิน เพราะฉะนั้นคนรับดอกผลทั้งหมดก็คือเจ้าของตัวจริง และเจ้าของตัวจริงก็มีสิทธิ์ไล่ผู้จัดการกองทุนออกไปเมื่อไรก็ได้ ถ้าหมดสัญญา หรือไม่พอใจ ซึ่งก็เป็นกฎหมายปกติของแพ่งและพาณิชย์
เมื่อถาม รุ้ง ปนัสยา ว่า อยากอธิบายในมุมของตัวเองหรือไม่ รุ้ง เผยว่า 1 ใน 10 เรื่อง ที่เรียกร้องการปฏิรูปสถาบัน คือ เรื่องทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งสิ่งที่เรียกร้อง คือ อยากให้แบ่งทรัพย์สินให้ชัดเจน ว่าเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ กับ ทรัพย์สินส่วนที่ใช้ในสถาบัน ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ทำโครงการต่างๆ ส่วนพระองค์ เพื่อที่ว่าจะได้ตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส ในส่วนของ พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ 2561 คือ การรวมเงินไว้ที่จุดๆ เดียว ซึ่งอาจทำให้ตรวจสอบไม่ได้ และผลประโยชน์ของสถาบันฯ จะหายไปด้วย
เมื่อถามว่า จากงานเขียนของอาจารย์หมายความว่า ทรัพย์สินเป็นของใคร ย่อมชอบธรรมที่จะกลับไปเป็นเจ้าของเดิมนั้น และมีอำนาจจัดการ ผศ.ดร.อานนท์ ระบุว่า ไม่ใช่ตั้งแต่ 2561 แต่มันเป็นแบบนี้มาตั้งแต่ 2475 พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ 2561 เป็นการทำให้การถือครองกรรมสิทธิ์กลับไปอยู่ที่เจ้าของแค่นั้นเอง ซึ่ง ตั้งแต่ปี 2560 และ 2561 พ.ร.บ. ก็ต่างกัน เพราะ 2560 แก้คำจาก ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เนื่องจากอาจจะมองว่าใช้คำฟุ่มเฟือย เดิมมีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์ และสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ในปี 2560 ปรากฏว่า ตอนขึ้นรัชกาล คนที่เป็นผู้บริหารสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์ และสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เป็นชุดเดียวกันทั้งหมด จึงโปรดเกล้าฯ ให้รวมผู้จัดการให้เป็นคนเดียวกัน ไม่ใช่รวมทรัพย์สินอย่างที่ รุ้ง บอกกับผู้ชุมนุม และสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ยังแยกเป็นทรัพย์สินในพระองค์ กับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์อยู่ แยกอย่างชัดเจน เหมือนกับที่รุ้งบอก ไม่มีอะไรปนกันเลย
>> สินค้าดี ลดสุดปัง! สนใจคลิก <<
ส่วนที่บอกว่า ตรวจสอบได้ หรือไม่ได้ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เป็นนิติบุคคล ตามกฎหมาย ก็ต้องมีการทำรายงานประจำปี มีผู้ตรวจสอบบัญชี และทำรายงานประจำปี ซึ่งสามารถเข้าไปดาวน์โหลดดูได้ และเมื่อทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ และทรงมีพระราชอำนาจเต็มในการจัดการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงชี้แจงชัดเจนว่า พระราชทานไปเท่าไร บริจาคเท่าไร รวมแล้วเป็นหลายแสนล้าน เพื่อประโยชน์สาธารณะ
เมื่อถามว่า จะอธิบายอย่างไร เมื่อผู้ถือหุ้นเป็นในพระนามของในหลวง รัชกาลที่ 10 ผศ.ดร.อานนท์ อธิบายว่า ก็เพื่อทรงต้องการเสียภาษี เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย.
ภายหลังจากที่รายการดังกล่าวมีการเผยแพร่ออกไป ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการดีเบตของทั้งคู่อย่างหลากหลาย โดยครั้งนี้ส่วนใหญ่วิพากษ์ถึงการไม่ทำการบ้านของฝ่ายแกนนำปลดแอก