- 13 ส.ค. 2564
นายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม รักษาการหัวหน้าพรรคไทยภักดี ได้นำหลักฐานเอกสารเข้ายื่นส่งฟ้อง ครม.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กระทรวงไอซีที กสทช.และกทค. ในสมัยนั้น รวม 52 ราย
วันนี้ ( 13 ส.ค.) ที่ ศาลอาญาคดีทุจริตแลประพฤติมิชอบกลาง เมื่อเวลา 13.30 น. นายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม รักษาการหัวหน้าพรรคไทยภักดี ได้นำหลักฐานเอกสารเข้ายื่นส่งฟ้อง ครม.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กระทรวงไอซีที กสทช.และกทค. ในสมัยนั้น รวม 52 ราย หลังมติครม.รัฐบาลยิ่งลักษณ์ 20 กันยายน 2554 ที่มอบให้บริษัทไทยคมนำใบเอกสารขายงานดาวเทียมตำแหน่งที่ 120E ไปร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการพิเศษฮ่องกง โดยเห็นชอบให้กสทช.ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม เพื่อใช้อนุญาตเข้าถึงวงจรดาวเทียมโดยไม่ชอบ มีความผิดตามมาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งระบบใบอนุญาตทำให้กรรมสิทธิ์ดาวเทียมไม่ต้องโอนเป็นของรัฐแต่ยังเป็นของเอกชน
โดยพบว่ามีปลัดและรองปลัดกระทรวงไอซีทีให้ความช่วยเหลือเพื่อประโยชน์ไม่บังคับให้เป็นไปตามสัญญาสัมปทานและไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ตามมาตรา 83, 84, 86, 152 และ 157 ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
พร้อมกันนี้ นายแพทย์วรงค์ ยังได้ส่งเอกสารยื่นถึงผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กรณีพ.ร.บ.กสทช.ที่ให้อำนาจ
กสทช.เปิดประมูลใบอนุญาตดาวเทียมในวันที่ 28 สิงหาคมนี้ของกสทช. นั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากพบปัญหาฉ้อฉลในกิจการดาวเทียมกรณีดาวเทียมไทยคม 7 และ 8 โดยเปลี่ยนแปลงจากระบบสัมปทานเป็นระบบใบอนุญาตที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกเป็นของเอกชนเดิมสัญญาณดาวเทียมไทยคมในระบบสัมปทานดาวเทียมทุกดวงและสถานีภาคพื้นดินจะต้องโอนมาเป็นของประเทศไทย
แต่ในช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์โดยนายอนุดิษฐ์นาครทัพเป็นรัฐมนตรีได้เสนอครม. มีมติมอบให้ไทยคงไปร่วมลงทุนกับเอเชียแซทของฮ่องกงในสาธารณรัฐประชาชนจีนส่งดาวเทียมขึ้นสู่ตำแหน่งดังกล่าวโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม
นายแพทย์วรงค์ ระบุว่า จากการตรวจสอบ พบ 4 ประเด็นสำคัญคือ 1 สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่มอบให้ไปร่วมกับเขตบริหารพิเศษฮ่องกงเป็นการกระทำผิดตามบทบัญญัติมาตรา 190 และรัฐบาลยิ่งลักษณ์รู้ว่าผิดจึงได้แก้ไขมาตรา 190 ต่อมาในปี 56 ก็มีผู้ร้องศาลรัฐธรรมนูญโดยศาลได้มีคำวินิจฉัยว่าการแก้ไขมาตราดังกล่าวเป็นโมฆะถือว่าครม. ยิ่งลักษณ์ย้ำผิดมาตรา 190 กรณีไทยคม7
2. การที่กสทช. ออกใบอนุญาตให้ไทยเป็นการประกอบโดยไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้อนุญาตกสทชกระทำได้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้ไทยคมและเป็นการออกใบอนุญาตที่ผิดรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 305(1) และบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
3. พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมพ. ศ. 2562 ฉบับที่ 3 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 60 มาตรา 274
4. ประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด( package) เมื่อวันที่ 14 พ.ค.2564 ของกสทช.เป็นประกาศที่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญพ. ศ. 2560 มาตรา 60 จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญโดยหวังว่ากสทชควรจะล้มการประมูลใบอนุญาตดาวเทียมในวันที่ 28 สิงหาคมนี้ออกไปก่อน
ทั้งนี้นายแพทย์วรงค์ ขอเตือนกสทช.ที่กำลังเดินหน้าประมูลใบอนุญาต วงจรดาวเทียม ว่า กำลังทำในสิ่งที่เรียกว่าขัดรัฐธรรมนูญ ให้กลับมาตั้งหลักใหม่ เพราะถ้ายิ่งเดินหน้า จะส่งผลให้ชาติยิ่งเสียหาย