- 05 ก.พ. 2567
ศาลแขวงปทุมวัน พิพากษาจำคุก ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ - พรรณิการ์ วานิช - ปิยบุตร แสงกนกกุล - พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ปรับคนละ 11,200 บาท
ศาลตัดสินจำคุก ธนาธร - พรรณิการ์ - ปิยบุตร - พิธา ปรับอีก 11,200 : วันนี้ (5 กุมภาพันธ์ 2567) ศาลแขวงปทุมวัน นัดฟังคำพิพากษาคดีแฟลชม็อบปี 62 ที่แกนนำพรรคก้าวไกลและคณะก้าวหน้า ร่วมชุมนุมทางการเมืองที่สกายวอล์กเมื่อปลายเดือน ธ.ค.2562
โดย คดีดังกล่าวเกิดขึ้นที่สกายวอล์ก หน้าหอศิลป์แยกปทุมวัน เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.2562 หลัง กกต.มีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ปมนายธนาธรให้พรรคกู้ยืมเงิน
ซึ่งมีแกนนำพรรคอนาคตใหม่ขณะนั้น 5 คน นำโดย น.ส.พรรณิการ์ วานิช , นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ , นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ , นายปิยบุตร แสงกนกกุล และ นายไพรัฏฐโชติก์ จันทรขจร ที่ได้ปราศรัยจุดยืนทางการเมืองในช่วงสถานการณ์โควิด-19
อัยการโจทก์ ยื่นฟ้องความผิดใน 5 ข้อหาได้แก่
1. ข้อหาร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะ โดยไม่แจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้ง
2. ร่วมกันจัดการชุมนุมสาธารณะ โดยกีดขวางทางเข้าออกหรือรบกวนการปฏิบัติงานหรือการใช้บริการสถานีรถไฟ
3. ร่วมกันจัดการชุมนุมสาธารณะ โดยไม่ดูแลและรับผิดชอบการชุมนุมสาธารณะไม่ให้เกิดการขัดขวางเกินสมควรต่อประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะฯ
4. ทำการชุมนุมสาธารณะในระยะไม่เกิน 150 เมตรจากพระราชวัง
5.ร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ถือว่าละเมิดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การชุมชนสาธารณะ พ.ศ. 2558 และ พ.ร.บ. ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493
ทั้งนี้ ตามพฤติการดังกล่าว เข้าข่ายกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะปี 2558 ในหลายมาตรา ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนและปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และโทษตาม พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงปี 2493 มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
ล่าสุดผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลฯพิพากษาคดี นายธนาธร , น.ส.พรรณิการ์ , นายปิยบุตร และ นายพิธา คดีแฟลชม็อบปี 62 จำคุก 4 เดือนรอลงอาญา 2 ปี ปรับคนละ 11,200 บาท
โดย วันนี้ (5 กุมภาพันธ์ 2567) ที่ศาลแขวงปทุมวัน ถนนนครไชยศรี ศาลนัดฟังคำพิพากษา ในคดีหมายเลขดำที่ 767/2563ที่ พนักงานอัยการคดีศาลแขวง 6 (ปทุมวัน) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา , นายพริษฐ์ ชีวารักษ์ , นายธนวัฒน์ วงค์ไชย , นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ , นายปิยบุตร แสงกนกกุล , น.ส.พรรณิการ์ วานิช , นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และนาย ไพรัฏฐโชติก์ จันทรขจร เป็นจำเลย 1 - 8
ในความผิดตาม พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะฯ , ร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะ โดยไม่แจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง , ร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะในรัศมี 150 เมตร จากพระบรมมหาราชวังฯ , ร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะโดยกีดขวางทางเข้าออกหรือรบกวนการปฏิบัติงานหรือการใช้บริการสถานีรถไฟ , ร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะโดยไม่ดูแลและรับผิดชอบการชุมนุมสาธารณะไม่ให้เกิดการขัดขวางเกินสมควรต่อประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะฯ
, ร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะก่อให้เกิดความไม่สะดวกแก่ประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะอันเป็นที่ชุมนุม หรือทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนเกินที่พึงจะคาดหมายได้ฯ , พ.ร.บ. ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ
จากกรณีที่ กลุ่มจำเลยร่วมในการชุมนุมแฟลชม็อบ บริเวณสกายวอล์กสี่แยกปทุมวัน หน้าหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.2562
ศาลพิจารณาเเล้วเห็นว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องโจทก์สั่งจำคุก 8 คนคนละ 4 เดือน รอลงอาญา 2 ปี ส่วนความผิดตามข้อหาอาญาเเละความผิดพินัยไม่เเจ้งการชุมนุม เเละไม่ใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตรวมปรับ 11,200 บาท
สำหรับ คดีแฟลชม็อบปี 2562 สืบเนื่องจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติ 5 ต่อ 2 ยื่นศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ เพราะกู้ยืมเงินจากนายธนาธร จำนวน 191,200,000 บาท เป็นการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 72 แห่งพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 หรือไม่ และขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรคอนาคตใหม่ ตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง (3) ประกอบมาตรา 93 แห่งพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 เมื่อวันที่ 11 ธ.ค.2562
ต่อมานายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ นัดหมายประชาชนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ให้เข้าร่วมกิจกรรมแฟลชม็อบชื่อว่า “เมื่อเสียงที่พวกเราเลือกเข้าสภาไม่มีค่า ได้เวลาประชาชนออกมาส่งเสียงด้วยตัวเอง” โดยใช้สกายวอร์ก เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่จัดการชุมนุมในช่วงเวลา 17.00-18.00 น. ของวันที่ 14 ธ.ค. 2562 ซึ่งในวันชุมนุมมีผู้ชุมนุมมาร่วมชุมนุมที่หอศิลป์เป็นจำนวนมาก
โดยมี นายธนาธร, นายปิยบุตร, น.ส.พรรณิการ์ นายพิธา สลับกันขึ้นปราศรัย เหตุการณ์หลังจากนั้น สน.ปทุมวัน ได้เรียกทั้ง 4 คน มารับทราบข้อกล่าวหา ร่วมกันจัดการชุมนุมสาธารณะโดยกีดขวางทางเข้าออกหรือรบกวนการปฏิบัติงานหรือการใช้บริการสถานีรถไฟ , ร่วมกันจัดการชุมนุมสาธารณะโดยไม่ดูแลและรับผิดชอบการชุมนุมสาธารณะไม่ให้เกิดการขัดขวางเกินสมควรต่อประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะฯ , ร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ต่อมาอัยการคดีพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง 6 ยื่นฟ้องต่อศาลแขวงปทุมวันเมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2563
โดยมีทั้งหมด 5 ข้อหา ประกอบด้วย
1. ข้อหาร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะ โดยไม่แจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้ง
2. ร่วมกันจัดการชุมนุมสาธารณะ โดยกีดขวางทางเข้าออกหรือรบกวนการปฏิบัติงานหรือการใช้บริการสถานีรถไฟ
3. ร่วมกันจัดการชุมนุมสาธารณะ โดยไม่ดูแลและรับผิดชอบการชุมนุมสาธารณะไม่ให้เกิดการขัดขวางเกินสมควรต่อประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะฯ
4. ทำการชุมนุมสาธารณะในระยะไม่เกิน 150 เมตรจากพระราชวัง
5. ร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ถือว่าละเมิดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การชุมชนสาธารณะ พ.ศ. 2558 และ พ.ร.บ. ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493