ทางสะดวก "กรมคุมประพฤติ" ไม่ห้าม ทักษิณ ยุ่งการเมือง ระหว่างพักโทษ

"กรมคุมประพฤติ" แจงขั้นตอนพักโทษ - นัดรายงานตัวเดือน มี.ค. "ทักษิณ" ไม่มีข้อห้ามนั่งบอร์ด - ที่ปรึกษาทางการเมือง แต่มีข้อแม้

"กรมคุมประพฤติ" เข้าพบ "ทักษิณ" บ้านจันทร์ส่องหล้าเรียบร้อยแล้ว พร้อมแจงขั้นตอนพักโทษ - นัดรายงานตัวเดือน มี.ค. พร้อมผ่าขั้นตอนละเอียดยิบ "ทักษิณ ชินวัตร" ห้ามทำอะไรบ้างระหว่างพักโทษ ผ่านหลักการ "5 ห้าม 5 ให้" ย้ำชัด ไม่มีข้อห้ามทักษิณนั่งบอร์ดกรรมการ-ที่ปรึกษาทางการเมือง ชี้ ต้องดูการกำหนดคุณสมบัติของบอร์ดนั้นๆ

 

ทางสะดวก \"กรมคุมประพฤติ\" ไม่ห้าม ทักษิณ ยุ่งการเมือง ระหว่างพักโทษ

 

 

จากกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ต้องขังเด็ดขาดชั้นกลาง ของเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ได้รับการพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษ เนื่องจากเจ็บป่วยร้ายแรง หรือพิการ หรือมีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป และแจ้งสถานที่พักโทษเป็นบ้านจันทร์ส่องหล้า เลขที่ 472 ซ.จรัญสนิทวงศ์ 69 แขวงและเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 

 


โดยสิ้นสุดกระบวนการรักษาตัวภายนอกเรือนจำบนชั้น 14 อาคารมหาภูมิพลราชานุสรณ์ 88 พรรษา รพ.ตำรวจ ก่อนเดินทางออกจากอาคารเมื่อช่วงเช้าของวันอาทิตย์ที่ 18 ก.พ. และตรงเข้าบ้านจันทร์ส่องหล้า ทั้งนี้ช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 19 ก.พ. - 21 ก.พ. คือ ระยะเวลา 3 วัน ที่นายทักษิณต้องรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่คุมประพฤติ 
 

ทางสะดวก \"กรมคุมประพฤติ\" ไม่ห้าม ทักษิณ ยุ่งการเมือง ระหว่างพักโทษ

 

เพื่อเข้าสู่กระบวนการพักการลงโทษจนกว่าจะพ้นโทษในเดือน ส.ค. และเมื่อวันที่ 20 ก.พ.ที่ผ่านมา ปรากฏรถตู้ของกรมคุมประพฤติ สีบรอนซ์เงิน ยี่ห้อ Toyota ทะเบียน 1 นง 6601 กรุงเทพมหานคร ขับเข้าภายใน ซ.จรัญสนิทวงศ์ 69 และขับผ่านหน้าบ้านจันทร์ส่องหล้า ตามที่ได้มีการรายงานข่าวไปแล้วนั้น 

 

 

ความคืบหน้าในเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 23 ก.พ. ผู้สื่อข่าวไทยนิวส์ได้รับการเปิดเผยจาก พ.ต.ท.มนตรี บุณยโยธิน รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ ว่า ภายหลังจากที่มีการรายงานข่าวตามสื่อมวลชนตลอดสัปดาห์ว่า 1 ใน 930 ผู้ได้รับการพักโทษ คือ นายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งในประเด็นดังกล่าว อดีตนายกรัฐมนตรีได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการพักการลงโทษ โดยมีเงื่อนไขคุณสมบัติผ่านเข้าโครงการพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษฯ 
 

ทางสะดวก \"กรมคุมประพฤติ\" ไม่ห้าม ทักษิณ ยุ่งการเมือง ระหว่างพักโทษ

และเข้าพักอาศัยยังสถานที่พักโทษที่ได้มีการแจ้งไว้ (บ้านจันทร์ส่องหล้า) โดยเมื่อวันอังคารที่ 20 ก.พ.ที่ผ่านมา ทางผู้บริหารที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมคุมประพฤติ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพมหานคร 1 ซึ่งเป็นสำนักงานที่เป็นผู้รับผิดชอบในพื้นที่เขตดังกล่าว ได้เดินทางเข้าพบนายทักษิณและผู้อุปการะ พร้อมกับแจ้งเงื่อนไข ข้อกำหนดการพักโทษและนัดหมายรายงานตัวในครั้งถัดไป 

 

สำหรับการนัดหมายรายงานตัวในเดือน มี.ค. กรณีหากนายทักษิณ ยังคงอยู่ระหว่างการพักฟื้นรักษาตัว หรือการตรวจรักษากับแพทย์ ทางเจ้าหน้าที่คุมประพฤติจะต้องประสานติดต่อกับผู้อุปการะว่าสะดวกให้เข้าพบยังบ้านจันทร์ส่องหล้าในวันเวลาใด หรือถ้ายังไม่สะดวกในเดือนนั้น ๆ ก็สามารถแจ้งเลื่อนได้ 

 


แต่ถ้าอดีตนายกรัฐมนตรี มีอาการดีขึ้น สะดวกในการเดินทางเข้าพบเจ้าหน้าที่คุมประพฤติด้วยตัวเอง ก็สามารถเดินทางไปรายงานตัวที่สำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพมหานคร 1 ถนนพรานนก แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ จึงขึ้นอยู่กับอาการเจ็บป่วยในช่วงเวลานั้นๆ 

 


หลักการโดยรวมของการรายงานตัวของผู้ถูกคุมความประพฤติ คือ ต้องรายงานตัวทุกเดือน โดยในแต่ละเดือนสามารถขยับวันเวลาบวกลบได้ เช่น ขยับวันเวลาการรายงานตัวเข้ามาเร็วขึ้น เพียงแค่ต้องไม่เกินปฏิทินในเดือนนั้น และถ้ารายงานตัวครบ 4 เดือน ครั้งถัดไปก็สามารถลดหย่อนได้ เป็น 2 เดือนค่อยรายงานตัว ซึ่งก็เป็นไปตามเกณฑ์ที่ถูกใช้กับผู้ถูกคุมประพฤติรายอื่นๆ 

 


ส่วนคุณสมบัติของผู้อุปการะผู้ได้รับการพักโทษ พ.ต.ท.มนตรี ระบุว่า ผู้อุปการะไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นผู้ครอบครองทะเบียนบ้านของสถานพักโทษ แต่ต้องเป็นบุคคลที่สามารถให้หลักประกันแก่กรมคุมประพฤติได้ เช่น มีสถานะ มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งในพื้นที่ กทม. เจ้าหน้าที่คุมประพฤติสามารถติดต่อได้สะดวก เพราะผู้อุปการะก็เหมือนผู้ปกครอง เวลาผู้ถูกคุมความประพฤติเกิดปัญหาใด เจ้าหน้าที่คุมประพฤติจะต้องประสานติดต่อได้

 

ทางสะดวก \"กรมคุมประพฤติ\" ไม่ห้าม ทักษิณ ยุ่งการเมือง ระหว่างพักโทษ


เมื่อถามว่าการไปดำรงตำแหน่งนั่งบอร์ดกรรมการหรือไปเป็นที่ปรึกษาในทางการเมืองสามารถทำได้ในระหว่างการพักโทษหรือไม่ พ.ต.ท.มนตรี อธิบายว่า ตนมองว่าในฐานะผู้ได้รับการพักโทษที่เตรียมจะกลับเข้าสู่สังคมเมื่อได้รับการพ้นโทษนั้น ระหว่างนี้ก็สามารถทำหน้าที่ต่างๆ ได้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องไปดูว่าบอร์ดกรรมการนั้นๆ 

 


หรือตำแหน่งที่ปรึกษาในทางการเมืองนั้นๆ มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะไปดำรงตำแหน่งโดยมีข้อยกเว้นประการใดหรือไม่ เช่น มีข้อห้ามไม่ให้ผู้ที่เป็นผู้ต้องขังเด็ดขาดมาดำรงตำแหน่งหรือไม่ เป็นต้น คล้ายลักษณะของกรณีที่บุคคลใดจะไปสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ก็จะมีข้อห้ามกำหนดไว้ว่าต้องไม่เป็นผู้ที่ต้องคำพิพากษาของศาลมาก่อน ดังนั้น ในระหว่างการพักโทษจึงยังไม่มีการห้ามในเรื่องของงานทางการเมือง เพราะอย่างไรแล้วผู้ได้รับการพักโทษ เมื่อพ้นโทษก็จะได้ใช้ชีวิตปกติและมีสิทธิในฐานะคนไทยตามรัฐธรรมนูญทุกประการ

 


พ.ต.ท.มนตรี กล่าวปิดท้ายว่า ส่วนเรื่องการติดกำไล EM ในส่วนของผู้ได้รับการพักโทษแบบปกติ จะต้องติดกำไล EM เกือบทุกราย ยกเว้นมีอาการเจ็บป่วยหนัก หรือต้องเอกซเรย์จากการประสบอุบัติเหตุ หรือมีความจำเป็นต้องถอดออกเพื่อการรักษาพยาบาล กรมคุมประพฤติก็จะทำเรื่องเสนอต่อคณะกรรมการพักการลงโทษเพื่อถอดกำไล EM ให้ได้ 

 


ส่วนผู้ได้รับการพักโทษแบบกรณีมีเหตุพิเศษฯ ถ้าเจ็บป่วยและสูงอายุจะเข้าเงื่อนไขยกเว้นให้ไม่ต้องติดกำไล EM ซึ่งทั้งหมดเป็นไปตามแนวทางที่คณะกรรมการพักการลงโทษได้กำหนดไว้ โดยสอดรับกับกฎกระทรวง ว่าด้วยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดในการติดตามตัวผู้ถูกคุมความประพฤติตามเงื่อนไขที่ศาลหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสั่ง พ.ศ. 2560
 

ทางสะดวก \"กรมคุมประพฤติ\" ไม่ห้าม ทักษิณ ยุ่งการเมือง ระหว่างพักโทษ