- 27 ธ.ค. 2565
สอน SEO ฟรี เรียน SEO ฉบับอัพเดทที่มือใหม่ควรรู้ก่อนลงมือทำจริง อยากลองทำ SEO แต่ไม่มีความรู้ทางด้านนี้เลย
“อยากลองทำ SEO แต่ไม่มีความรู้ทางด้านนี้เลย” “เพิ่งย้ายสายงานมา อยากเรียนรู้ SEO เพิ่ม แต่ยิ่งหาอ่านก็ยิ่งไม่เข้าใจ ไม่รู้จะเริ่มต้นจากตรงไหนดี” “มือใหม่คงทำ SEO ไม่ได้แน่ๆ” อย่าเพิ่งถอดใจกัน มาทางนี้…
ก่อนที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้าน SEO ครั้งหนึ่งทุกคนคงเคยผ่านการเป็นมือใหม่มาก่อน ถึงแม้ว่าการทำ SEO อาจไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากรายละเอียดที่จำเป็นค่อนข้างเยอะ แต่เชื่อว่าทุกอย่างจะต้องมีก้าวแรกเสมอ และคงไม่ยากเกินกว่าที่เราจะเรียนรู้ได้
ดังนั้น บทความนี้เราจะพามือใหม่เข้าสู่ก้าวแรกของการทำ SEO ไปพร้อมๆกัน ด้วยการสอน SEO ให้แบบฟรีๆ ตั้งแต่พื้นฐานการเรียน SEO ไม่ว่าจะเป็น SEO คืออะไร? หลักการทำ SEO ที่เหมาะสม รูปแบบต่างๆ รวมไปจนถึงการสร้างเว็บไซด์ รวบรวมมาให้ทั้งหมดในที่นี่ที่เดียว
SEO คืออะไร?
SEO ย่อมาจากคำว่า “Search Engine Optimization” คือ กระบวนการที่ปรับเว็บไซต์ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ทำให้เว็บไซต์นั้นมีโอกาสที่จะติดอันดับแรกๆ ในการค้นหาตามแพลตฟอร์มต่างๆ หรือ Search Engine เช่น การค้นหาบนหน้า Google
แล้วเพราะอะไรเราถึงต้องพยายามทำให้เว็บไซต์ติดอยู่ที่อันดับแรกๆหล่ะ? เนื่องจากเว็บไซต์อันดับแรกๆบน Search Engine มักจะได้รับความสนใจในการเข้าชมและมีโอกาสที่คนส่วนใหญ่จะมองเห็นมากกว่าอันดับหลังๆ ส่งผลให้ยอดการเข้าชมของลูกค้า (Organic Traffic) หรือยอดขายของธุรกิจนั้นๆ เพิ่มสูงขึ้นนั่นเอง
โดยวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการทำ SEO ก็จะมีจุดสำคัญหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การเลือก Keyword ที่เหมาะสมกับธุรกิจ การปรับแต่งเว็บไซต์ให้อยู่ในเกณฑ์การพิจารณาอันดับ การใช้ Content รูปแบบต่างๆ รวมไปจนถึงการทำ Backlink เป็นต้น ซึ่งหลายๆ ส่วนนี้ ผู้เรียน SEO จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม เพื่อนำไปปรับใช้ในการทำเว็บไซต์อย่างเหมาะสม
ข้อดี และข้อเสีย ของการทำ SEO
ก่อนที่จะเข้าสู่หลักการสอน SEO อย่างเป็นทางการ เรามาดูกันก่อนดีกว่าว่าการเลือกทำ
SEO มีข้อดีและข้อเสียอะไรที่เราควรรู้บ้าง
ข้อดี
● เว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือ
● ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าวิธีอื่นๆ
● เอกลักษณ์แบรนด์ถูกจดจำได้ง่าย
● มีโอกาสที่ลูกค้าจะมองเห็นเว็บไซต์ได้มากกว่า
● ลูกค้าสามารถเข้าถึงธุรกิจได้ตลอดเวลา
● สามารถดึงดูดลูกค้าใหม่ๆได้
● กลุ่มเป้าหมายตรงกับความต้องการ
● ได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจประเภทเดียวกัน
● เพิ่มโอกาสในการซื้อซ้ำอีกครั้ง
ข้อเสีย
● ใช้ระยะเวลาในการทำอันดับค่อนข้างนาน
● ต้องหมั่นอัปเดตเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง เพราะอันดับอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอด
● มีการปรับ Algorithm บ่อย ผู้ทำต้องเรียนรู้ SEO ควบคู่กับการอัพเดตข้อมูลอยู่เสมอ
● ต้องติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ
E-A-T factor คืออะไร?
“E-A-T factor คืออะไร?” E-A-T factor คือ ปัจจัย หรือเกณฑ์ที่ระบบ Algorithm นำมาใช้วัดคุณภาพ ความเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าชม ความเชี่ยวชาญ ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์นั้นๆ เพื่อจัดลำดับการแสดงผลการค้นหาใน Search Engine ซึ่ง 3 หลักเกณฑ์ที่ผู้เรียน SEO ควรรู้ ได้แก่…
1. E ย่อมาจาก Expertise หรือความเชี่ยวชาญ
2. A ย่อมาจาก Authoritativeness หรือความมีอิทธิพล
3. T ย่อมาจาก Trustworthiness หรือความน่าเชื่อถือ
องค์ประกอบหลักของการทำ SEO
มาถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลายๆคนคงจะเริ่มร้อนใจอยากทำให้เป็นเร็วๆ แล้ว ทางเราก็จะไม่รอช้าในการพาทุกคนเข้าไปสู่หลักการทำ SEO ที่มือใหม่ควรต้องเรียนรู้แบบจริงจัง เพราะการทำ SEO มีองค์ประกอบหลายส่วนที่มีผลต่อการทำอันดับให้ติดหน้าแรกๆ ดังนี้
1. พื้นฐานการทำ SEO
พื้นฐานการทำ SEO เป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับผู้เริ่มต้น เพราะหากพื้นฐานยังไม่แน่นมากพอ ก็อาจจะส่งผลกระทบในยามที่ลงมือทำจริงได้ โดยข้อมูลพื้นฐานหลักที่มือใหม่เรียน SEO ควรรู้ ยกตัวอย่างเช่น…
- ก่อนที่จะลงมือทำ สิ่งสำคัญคือการวางแผน ทุกโครงการจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจนว่าต้องการให้ธุรกิจได้ผลลัพธ์อะไรบ้าง การเลือกกลุ่ม Keyword ที่สอดคล้อง การสร้างเว็บไซต์ที่จำได้ง่าย ปลอดภัย และเข้าถึงได้สะดวก การเขียนเนื้อหาบนเว็บไซต์ ปรับแต่ง วัดผล ฯลฯ
- นอกจากเรื่องที่ควรรู้ อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันเลยคือ ข้อห้ามในการทำ SEO ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเขียนคอนเทนต์แบบไม่ใส่คีย์เวิร์ด การ Copy คอนเทนต์หรือบทความจากเว็บไซต์ของคนอื่นมาลง หรือแม้แต่การทำสแปม Backlink เพื่อดันอันดับเว็บไซต์ตนเอง เป็นต้น
2. On-Page SEO
ในการสอน SEO สิ่งที่จะขาดไปไม่ได้เลย นั่นก็คือ การทำ On-Page เพราะการทำ On-page SEO เป็นการปรับแต่งเว็บไซต์ภายในให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานและแพลตฟอร์มอย่าง Google โดยการทำ On-Page SEO ที่ดี ควรต้องมีการปรับแต่งและวัดผลหลักๆ ดังนี้
- การใช้กลุ่ม Keyword ที่มีความสอดคล้องกับธุรกิจ ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย อย่างเหมาะสมและถูกวิธี
- ปรับแต่ง Meta Description URL และ Title tags ด้วยการใส่ Keyword ที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
- ปรับให้ไฟล์ภาพและวิดีโอบนเว็บไซต์มีขนาดเล็ก เพื่อให้หน้าเว็บไซต์แสดงผลการทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น
- ทำ Heading และ Subheadings ลงบนบทความ เพื่อบ่งบอกความสำคัญของพาร์ทนั้นๆ
- เชื่อมต่อ Internal Link ไปยังหน้าอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องกัน
- ปรับแต่งโครงสร้างเว็บไซต์ให้สามารถรองรับได้กับทุกอุปกรณ์การแสดงผล เพื่อผู้ใช้งานจะได้เข้าถึงเว็บไซต์ได้ง่าย เป็นมิตรต่อผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น
3. Off-Page SEO
จากพาร์ทข้างบน เมื่อมี On-Page SEO ก็ต้องมี Off-Page SEO โดยการทำ Off-Page SEO นั้น จะเป็นการทำให้เว็บไซต์มีเว็บอื่นๆ มาอ้างอิงเนื้อหา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็น Backlink ชี้กลับมายังเว็บไซต์ทางธุรกิจของเรานั่นเอง
โดยการทำ Backlink สามารถทำได้อย่างง่ายดายหลากหลายวิธี ได้แก่…
● ลงบทความผ่านสื่อทาง Social Networks เช่น Facebook, IG
● หาพาร์ทเนอร์ที่เว็บไซต์มีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อแลกลิ้งค์เว็บ
● ทำ Blog ให้มีความสอดคล้องกับเว็บไซต์ทางธุรกิจ เพื่อดึงดูด Backlink จากเว็บไซต์อื่น
● เขียนบทความคุณภาพสูง เพื่อเว็บไซต์ใหญ่จะได้เข้ามาอ้างอิง
กระบวนการทำ SEO
กระบวนการทำ SEO เป็นสิ่งที่มือใหม่เรียน SEO ควรจะทำความเข้าใจ โดยปกติแล้ว กระบวนการทำงานของ Google จะมีส่วนสำคัญอยู่ 4 ส่วนหลัก ดังนี้
- Technical SEO เป็นการทำ SEO เชิงเทคนิค ที่มักจะใช้กับการปรับแต่งโครงสร้างเว็บไซต์และระบบภายในให้เข้ากับเกณฑ์การพิจารณาของ Google ร่วมกับความต้องการของธุรกิจนั้นๆ เช่น การเพิ่ม Page Speed, Core Web Vitals, Meta Robots tag, Structured Data เป็นต้น
- On-Page SEO เป็นการปรับแต่งคอนเทนต์ภายในเว็บไซต์หรือหน้าการแสดงผลต่างๆ เช่น การใส่ Title, Description เป็นต้น
- Off-Page SEO เป็นการทำ Backlink, Link Building ต่างๆ
- User Signals เป็นการทำให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ใช้งานได้ง่าย สะดวก และตรงกับความต้องการ
Page Experience
ไหนๆก็สอน SEO กันแล้ว มือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นเรียนอาจสงสัยว่า “Page Experience” คืออะไร? จำเป็นต้องเข้าใจมากแค่ไหน คำตอบก็คือ มือใหม่ที่มีความสนใจในการทำเว็บไซต์ จำเป็นต้องเข้าใจในส่วนนี้อย่างมาก เพราะการที่คุณเข้าใจคำนี้ จะทำให้คุณสามารถปรับโครงสร้างเว็บไซต์ต่างๆ ออกมาได้ตรงกับปัจจัยที่ควรจะเป็น
Page Experience คือ ประสบการณ์ในการเข้าใช้งานบนหน้าเพจหรือเว็บไซต์นั้นๆ ซึ่งการที่จะสร้างเว็บไซต์ที่ดี เหมาะกับทั้งผู้เข้าชมและการเพิ่มอันดับเว็บไซต์ ควรจะต้องพิจารณาปัจจัยตามเกณฑ์ของ Google ดังนี้
● ความปลอดภัยในการเข้าชมเว็บไซต์ (Safe Browsing)
● ความเร็วในการดาวน์โหลด (Loading)
● การตอบสนอง (Interactive)
● ความคงที่ของภาพหรือเนื้อหา (Visual Stability)
● การใช้งานได้ง่ายบนเครื่องมือต่างๆ เช่น สามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค แท็ปเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น (Mobile Friendly)
● การใช้ HTTP อย่างปลอดภัย
● การโฆษณาที่รบกวนเนื้อหาหลัก (Intrusive Interstitial)
การเก็บข้อมูลของ Google ทำยังไง
ในส่วนของการเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ จะมีกระบวนการ ดังนี้
1. ระบบประมวลผลของ Google จะส่งบอทเข้ามาเก็บข้อมูลตามเว็บไซต์ต่างๆ (Crawling)
2. นำข้อมูลที่ได้ไปทำดัชนีในการค้นหา (Indexing)
3. เกิดการจัดอันดับเว็บไซต์ที่มีคุณภาพตามเกณฑ์การพิจารณาของ Google (Retrieval & Ranking)
หลักการทำ SEO
จากที่ได้กล่าวไว้ในพาร์ทกระบวนการทำ SEO ว่าในการทำเว็บไซต์เชิง SEO จะมีส่วนสำคัญอยู่ 4 ส่วนหลักๆ ได้แก่ Technical SEO, On-Page SEO, Off-Page SEO และUser Signals ซึ่งหลักการทำ SEO เราก็จะนำเทคนิคต่างๆ เข้ามาปรับแต่งให้ทั้ง 4 ส่วนหลักนี้ตรงกับเกณฑ์การพิจารณา เพื่อที่จะทำให้เว็บไซต์ถูกจัดอันดับแรกๆนั่นเอง
Research Keyword
หากบอกว่าสอน SEO แต่ไม่กล่าวถึง Research Keyword ก็คงไม่ใช่การสอน SEO ที่แท้จริง ในวงการการทำ SEO ให้เว็บไซต์ติดอันดับแรก สิ่งที่สำคัญมากๆ คือ การ Research Keyword
Research Keyword เป็นการค้นหา Keyword เพื่อให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายทางธุรกิจ เมื่อคุณได้ Keyword ที่ดี ก็จะช่วยให้เว็บไซต์มีปริมาณ Traffic ที่มากและเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ซึ่งการจะ Research Keyword จะต้องดูปัจจัยหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น…
1. วิเคราะห์ปริมาณการค้นหา คุณภาพของKeyword รวมไปจนถึงต้นทุนของค่าโฆษณาโดยเฉลี่ย จากเครื่องมือ SEO Tools เช่น Google Keyword Planner หรือ Ubersuggest
2. ค้นหา Search Intent ของกลุ่มเป้าหมาย และเลือกใช้
3. Search Volume มีปริมาณไม่ต่ำกว่า 1,000 ต่อเดือน
Competitor Analysis
การ Competitor Analysis คือการวิเคราะห์คู่แข่งทางธุรกิจในเชิงของ SEO โดยผู้ที่เป็นมือใหม่อาจใช้เครื่องมือที่ไม่ซับซ้อนมากจนเกินไปและมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย อย่าง Ahref ที่จะเป็นเครื่องมือทาง SEO คอยบอกเราว่า คู่แข่งในสายธุรกิจที่คุณทำมีใครบ้าง เราสามารถใช้เทคนิคหรือKeywordใดที่เหมาะกับธุรกิจตนเอง รวมไปจนถึงการดู Backlink ของทางคู่แข่ง ก็สามารถทำได้เช่นกัน
เรียนรู้การ Tracking Rank
แน่นอนว่าการทำ SEO มักจะมาควบคู่กับการจัดอันดับ การที่มือใหม่อย่างเราจะรู้ได้ว่าผลจากการปรับแต่งเว็บไซต์เป็นอย่างไร อันดับดีขึ้นไหม? อาจจะต้องเรียนรู้การ Tracking Rank ที่เป็นส่วนหนึ่งของการเรียน SEO
การดู Tracking Rank จะสามารถช่วยให้เราได้รู้ว่า Keyword แต่ละคำที่เราใส่ลงไปเป็นอย่างไรบ้าง บทความที่เรานำไปลงในแต่ละหน้าเว็บถูกจัดอันดับอยู่ประมาณที่เท่าไหร่ในตอนนี้ เพื่อที่จะได้นำผลมาวิเคราะห์สาเหตุและปรับปรุงในส่วนต่างๆต่อไป
วิธีการ Tracking Rank อาจทำได้ทั้งการเปรียบเทียบกับคู่แข่ง การใช้โหมดไม่ระบุตัวตนบน Google Chrome การใช้เครื่องมือ Google Search Console เป็นต้น
Website Structure
Website Structure เป็นการวางโครงสร้างเว็บไซต์ให้เป็นระเบียบ สวยงาม สะดวกต่อการใช้งานและการเก็บข้อมูลของบอท Google เนื่องจากการวางโครงสร้างที่ดี จะช่วยให้เห็นเรื่องของความเชื่อมโยงกันในแต่ละหน้า และทำให้เมื่อเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ก็อาจส่งผลต่อแนวโน้มอันดับเว็บไซต์ที่สูงขึ้นอีกด้วย
การทำ Website Structure อาจทำได้ดังนี้
- ปรับโครงสร้างให้เหมาะสมกับขนาดของเว็บไซต์ ซึ่งขนาดอาจประมาณได้จากจำนวนหน้าเพจที่มี เป็นต้น
- ไม่ควรออกแบบเว็บไซต์ที่ซับซ้อนเกิน 3-4 คลิก เนื่องจากเข้าถึงข้อมูลได้ยากเกินไป
- จัดหมวดหมู่ หรือประเภทของเนื้อหาไว้ด้วยกัน
- ใช้ Internal link เพื่อเชื่อมโยงหน้าเพจ
การสร้างเว็บไซต์
การสร้างเว็บไซต์ที่มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน อาจทำให้ดูมีความน่าเชื่อถือทางธุรกิจที่มากกว่า ซึ่งเราสามารถสร้างเว็บไซต์ของตนเองได้ง่ายๆ เพียงแค่ใช้ตัวช่วยอย่างเครื่องมือ Wordpress ที่สามารถสร้างได้ตามความต้องการโดยไม่ต้องเขียนโค้ด แต่อย่างไรก็ตาม นอกจากการสร้างเว็บไซต์แล้ว อย่าลืมรายละเอียดเรื่องของ การจดชื่อเว็บไซต์ (Domain) หรือการซื้อพื้นที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์ (Hosting) ด้วย
Technical SEO
Technical SEO เป็นการนำเทคนิคมาใช้ปรับแต่งโครงสร้างเว็บไซต์และระบบต่างๆภายใน เพื่อทำให้เว็บไซต์มีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือ ตรงกับเกณฑ์การพิจารณาอันดับของ Google ซึ่งสามารถใช้เทคนิคได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น…
● การเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานเว็บไซต์ ด้วยการทำ HTTPS
● การทำ Sitemap
● Meta Tags อธิบายรายละเอียดในเว็บไซต์ว่าเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องใด
● ปรับปรุง Broken Links หรือลิ้งค์เสีย
● ใช้เครื่องมือ Yoast SEO ช่วยปรับแต่งเว็บไซต์
● ใช้เครื่องมือ Google Analytics และ Google Search Console วิเคราะห์ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด
Analyze Optimize
Analyze Optimize เป็นการวิเคราะห์และปรับปรุง เพื่อพัฒนาคุณภาพของเว็บไซต์ทางธุรกิจ ซึ่งการที่เราจะรู้ว่าควรปรับปรุงจุดไหน? เว็บไซต์แบบที่เป็นอยู่มีคุณภาพแล้วหรือยัง? อาจจำเป็นต้องทำการวัดผลเชิง KPI เพื่อแปลงข้อมูลเหล่านั้นออกมาเป็นตัวเลขหรือปริมาณอย่างชัดเจน
โดยสามารถดูข้อมูลเหล่านี้ได้จากเครื่องมือ Google Search Console เพราะภายในเครื่องมือนี้จะมี Dashboard ที่คอยแสดง Performance แต่ละหน้าเว็บเพจได้ ทำให้เราสามารถรู้ข้อมูลเชิงลึกของแต่ละหน้าเพจ เพื่อทำการปรับปรุงได้เลยนั่นเอง
สรุป
การทำ SEO เป็นเทคนิคที่จำเป็นต้องมีการเรียนรู้อยู่เสมอ และต้องอาศัยความอดทนในการปรับแต่งเว็บไซต์อยู่เรื่อยๆ เนื่องจากระบบประมวลผลของ Google มีการอัพเดทใหม่อยู่บ่อยครั้ง จึงทำให้การทำ SEO ต้องทำในระยะยาว เพื่อความมั่นคงและยั่งยืนของเว็บไซต์
ดังนั้น ในแง่ของมือใหม่อาจต้องเรียนจากผู้สอน SEO ควบคู่ไปกับการลองลงมือทำ เพื่อเก็บประสบการณ์ต่างๆ มาปรับใช้ในอนาคตต่อไป