ประชุมใหญ่ “ชมรมแม่บ้านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น” รุกขับเคลื่อน “ถังขยะเปียกรักษ์โลก-คำนวนคาร์บอนเครดิต”

ติดตามเพิ่มเติม www.tnews.co.th

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2562 เวลา 13.00 น. ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ และประธานชมรมแม่บ้านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พร้อมด้วยนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นประธานการประชุมชมรมแม่บ้านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และประธานชมรมแม่บ้านท้องถิ่นไทยจังหวัด ประจำปี 2562 โดยมีผู้บริหารกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ประธานและกรรมการแม่บ้านท้องถิ่นไทยจังหวัดจากทุกจังหวัด กว่า 200 คน เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 5501 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยก่อนหน้านั้นในเวลา 12.00 น. ได้เยี่ยมชมแปลงปลูกผักสาธิต โดยใช้สารบำรุงดินที่ได้จากการทำถังขยะเปียกของชมรมแม่บ้านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ณ บริเวณสนามหญ้าด้านข้างพระที่นั่งนงคราญสโมสร กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

นายสุทธิพงษ์ กล่าวขอบคุณการทำงานของสมาชิกชมรมแม่บ้านท้องถิ่นไทยทั่วประเทศ ที่ทำงานอย่างหนักเพื่อสาธารณประโยชน์ในรอบปีที่ผ่านมา สำหรับในปี 2562 ถือว่าเป็นปีมหามงคลของชาวไทย ซึ่งจะมีการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2562 ในโอกาสนี้ จึงอยากเชิญชวนสมาชิกชมรมแม่บ้านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นทั่วประเทศได้ร่วมกันทำความดี เพื่อเฉลิมฉลองและแสดงความจงรักภักดีถวายแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวาระนี้ 
 
สำหรับความดีที่อยากชวนลงมือทำในปีมหามงคลนี้ มี 5 เรื่องด้วยกัน นั่นคือ 1.อยากเห็นแผ่นดินนี้ไร้ซึ่งกลิ่นเหม็นของขยะ โดยตั้งเป้าหมายว่า ทุกครัวเรือนต้องมี “ถังขยะอินทรีย์หรือถังขยะเปียกครัวเรือน” และอยากเห็นสองมือของสตรีที่เป็นสมาชิกชมรมแม่บ้านฯ ร่วมกันขับเคลื่อน สร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อโลกที่ดีกว่าได้ 2.อยากเห็นสมาชิกชมรมแม่บ้านฯ ในแต่ละจังหวัด ร่วมกันยกระดับคุณภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยการลงไปเยี่ยมเยือน และให้การสนับสนุนในเรื่องต่างๆ 3.โครงการ “1 อปท. 1 ถนน ท้องถิ่นใส่ใจสิ่งแวดล้อม” โดย อปท.และชุมชน ร่วมกันพัฒนา ปรับปรุง สิ่งแวดล้อมบริเวณถนนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นการปลูกไม้หรือไม้ดอก ไม้ประดับอื่นๆ ที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ให้ดูร่มรื่น และสวยงามทั้งสองข้างถนน และให้สะท้อนถึงวัฒนธรรม วิถีชุมชน หรือเอกลักษณ์ของชุมชน ไปจนถึงมีการดูแลสิ่งแวดล้อมของถนนเส้นนั้นอย่างเป็นระบบด้วย 4.โครงการ “คืนคลองสวยทั่วไทย สุขใจเที่ยวท้องถิ่น” โดย อปท.และชุมชน ปรับปรุงและพัฒนาคูคลองและพื้นที่บริเวณริมคลองดังกล่าวให้มีภูมิทัศน์ที่สะอาดและสวยงาม ด้วยการปลูกดอกไม้หรือไม้ประดับที่มีสีสันสวยงามตามสภาพพื้นที่ เพื่อเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยว และส่งเสริมให้ทุกพื้นที่สามารถเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจให้แก่พี่น้องประชาชน และ 5.โครงการ "ห้องน้ำท้องถิ่น สะอาดและปลอดภัย" โดยนอกเหนือจากที่ อปท. และชุมชน ร่วมกันพัฒนาห้องน้ำสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบ เช่น ห้องน้ำในสำนักงาน ห้องน้ำของวัด มัสยิด ศาสนสถานต่างๆ สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐานแล้ว ยังต้องการเห็นแม่บ้านทุกท่านร่วมกันดูแลห้องน้ำในครัวเรือนให้สะอาด และได้มาตรฐานไปพร้อมกันไปด้วย

ประชุมใหญ่ “ชมรมแม่บ้านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น” รุกขับเคลื่อน “ถังขยะเปียกรักษ์โลก-คำนวนคาร์บอนเครดิต”

ประชุมใหญ่ “ชมรมแม่บ้านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น” รุกขับเคลื่อน “ถังขยะเปียกรักษ์โลก-คำนวนคาร์บอนเครดิต”

ประชุมใหญ่ “ชมรมแม่บ้านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น” รุกขับเคลื่อน “ถังขยะเปียกรักษ์โลก-คำนวนคาร์บอนเครดิต”

นายสุทธิพงษ์ ยังย้ำต่อถึงบทบาทของชมรมแม่บ้านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และชมรมแม่บ้านท้องถิ่นไทยจังหวัดในการสนับสนุนการคัดแยกขยะเศษอาหารในครัวเรือน ตามโครงการถังขยะเปียกรักษ์โลก ว่า เนื่องมาจากปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาขยะของประเทศไทย ถือเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาล ได้มีมติเพื่อให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะของประเทศ ซึ่งขยะในประเทศไทยเข้าสู่ขั้นวิกฤตเนื่องจากมีการสร้างขยะเพิ่มมากขึ้น และหนึ่งในหนทางการแก้ไขที่สามารถทำได้ทันที คือ การจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือถังขยะเปียกประจำครัวเรือนและชุมชนให้ได้มากที่สุด ซึ่งผู้ที่ช่วยขับเคลื่อนเรื่องนี้ให้เป็นรูปธรรม นั่นคือท่าน ดร.ปฤถา พรหมเลิศ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ได้มีดำริให้จัดทำ “ถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกครัวเรือน” เริ่มจากจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นลำดับแรก และขยายผลไปยังส่วนราชการต่างๆ และกรมฯ ก็ได้สานต่อแนวทางดังกล่าวต่อไปยังสถานศึกษา โรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด อปท. และศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน รวมไปถึงครัวเรือนของข้าราชการ ผู้บริหาร อปท. ครัวเรือนสมาชิกสภา อปท. ครัวเรือนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน และครัวเรือนของพี่น้องประชาชน เพื่อคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกครัวเรือน ไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำปุ๋ย สำหรับปลูกพืชชนิดต่างๆ ซึ่งมีเป้าหมายให้ทุกครัวเรือนมีถังขยะเปียกให้ครบ 100 % 

ทางด้าน ดร.วันดี กล่าวว่า สำหรับชมรมแม่บ้านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และชมรมแม่บ้านท้องถิ่นไทยจังหวัด ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานความคิดและร่วมกันดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ สาธารณกุศล รวมถึงส่งเสริม สนับสนุน ร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาของเด็กและเยาวชน ส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงจัดกิจกรรมร่วมกับองค์กรหรือหน่วยงานอื่นในอันที่จะเทิดทูนไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในพลังของแม่บ้านในการเป็นจิตอาสาห่วงใยสิ่งแวดล้อม ห่วงใยสังคม และชุมชน จึงได้จัดตั้งชมรมแม่บ้านท้องถิ่นไทยจังหวัด ทุกจังหวัดขึ้น และในวันนี้ ก็เป็นการประชุมเพื่อรับมอบนโยบาย และเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง นั่นคือ ครัวเรือน ซึ่งแม่บ้านเป็นผู้ใกล้ชิดที่สุด โดยนำหลักการ 3Rs หรือ 3ช : Reduce (ใช้น้อย) Reuse (ใช้ซ้ำ) และ Recycle (นำกลับมาใช้ใหม่) ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการขยะต้นทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำการคัดแยกขยะเศษอาหารหรือขยะเปียกออกจากขยะทั่วไป ด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดี โดยคณะกรรมการและสมาชิกชมรมแม่บ้านฯ ต้องมีถังขยะเปียกในครัวเรือนของตนเอง และช่วยรณรงค์สร้างความรับรู้ ความเข้าใจ และจิตสำนึกให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะและตระหนักถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะ โดยเชิญชวนเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) เพื่อร่วมมือกันดูแลครอบครัวของตนเองให้รู้จักการคัดแยกขยะเปียก ขยะแห้ง และขยะพิษ โดยให้เป็นผู้นำในการสร้างจิตสำนึกให้แก่คนในครอบครัว ชุมชน ตำบล และหมู่บ้าน ในการมีส่วนร่วมด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมถ่ายทอดความรู้ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ 

ดร.วันดี ยังได้รายงานผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา (ปี 2561) และได้ย้ำถึงเป้าหมายกิจกรรมประจำปี 2562 ให้สมาชิกชมรมแม่บ้านฯ ได้ร่วมกันขับเคลื่อน โดยมี 4 โครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการบริหารจัดการขยะเศษอาหาร เพื่อทำเป็นสารบำรุงดิน ผ่านการจัดทำ “ถังขยะเปียกรักษ์โลก” ซึ่งจะช่วยลดรายจ่ายจากการนำสารบำรุงดินที่ได้จากการทำถังขยะเปียกมาใช้ในการปลูกผักสวนครัว หรือประโยชน์ด้านเกษตรกรรมอื่นๆ และที่สำคัญช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชนในพื้นที่ ในการลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น ทั้งยังสามารถเพิ่มรายได้ทางตรง คือรายได้จากการจำหน่ายสารบำรุงดินอีกด้วย ต่อมาคือ โครงการประกวดผลสำเร็จชมรมแม่บ้านท้องถิ่นไทยจังหวัด ในการบริหารจัดการขยะเศษอาหารจากครัวเรือน โดยจะมีการสุ่มตรวจและมอบรางวัลให้กับชมรมแม่บ้านฯ ที่มีการรายงานข้อมูลคนแยกขยะเศษอาหาร และจำนวนถังขยะเปียกที่มากที่สุด และร่วมในกระบวนการถอดบทเรียนเลือกชมรมแม่บ้านฯ ที่มีแนวทางการบริหารจัดการที่ดีที่สุด (Best Practice) โดยร่วมมือกับสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจด้วย

ประชุมใหญ่ “ชมรมแม่บ้านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น” รุกขับเคลื่อน “ถังขยะเปียกรักษ์โลก-คำนวนคาร์บอนเครดิต”

ประชุมใหญ่ “ชมรมแม่บ้านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น” รุกขับเคลื่อน “ถังขยะเปียกรักษ์โลก-คำนวนคาร์บอนเครดิต”

 

นอกจากนี้ ยังมีการประเมินและรับรองผลการบริหารจัดการขยะเศษอาหารในการช่วยลดสภาวะโลกร้อนโดยเทียบเท่าการลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และลดมลภาวะที่เป็นพิษต่อสภาวะแวดล้อม (Carbon Credit) ซึ่งที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ร่วมกับชมรมแม่บ้านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และชมรมแม่บ้านท้องถิ่นไทยจังหวัด และ รศ.ดร.ชนาธิป ผาริโน อาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะ จัดทำโครงการวิจัยการประเมินและรับรองผลการบริหารจัดการขยะเศษอาหารตามแนวทางการจัดทำถังขยะเปียก ในการช่วยลดสภาวะโลกร้อนโดยเทียบเท่าการลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ โดยลงพื้นที่ 4 จังหวัด ซึ่งเป็นตัวแทนภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ(จังหวัดลำพูน) ภาคกลาง(จังหวัดลพบุรี) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(จังหวัดเลย) และภาคใต้(จังหวัดสงขลา) ดำเนินการเก็บตัวอย่างวัดปริมาณขยะจริงของครัวเรือนที่ร่วมโครงการฯ จำนวน 2,400 ครัวเรือน ทั้งยังเก็บตัวอย่างในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนในสังกัด อปท. จำนวน 40 และ 20 แห่งตามลำดับเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของปริมาณขยะเศษอาหารต่อคน เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงของ สถ. ในการลดภาระการจัดการขยะของส่วนรวมและสร้างมูลค่าเพิ่มจากสารปรับปรุงดิน 

ซึ่งในอนาคตนี้ การจัดทำถังขยะอินทรีย์ หรือถังขยะเปียกครัวเรือน สามารถประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้จากการดำเนินโครงการถังขยะเปียกรักษ์โลก และสามารถขึ้นทะเบียนรับรองโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศไทยตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change :UNFCCC) เพื่อพัฒนาคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ซึ่งหากการดำเนินการนี้เกิดผลสำเร็จ ก็จะเป็นการสร้างรายได้ในอนาคตอีกด้วยนั่นเอง ดร.วันดี กล่าวในตอนท้าย