- 28 พ.ค. 2562
ภูมิปัญญาในสมัยก่อน ส่งเสริมผู้สูงอายุดูแลสุขภาพ และสามารถถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่ลูกหลาน
สังคมไทยภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ ส่งผลให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เข้ามาพัฒนาประเทศ แต่ก็นำมาซึ่งภาวะเสื่อมเสียทางสังคมอย่างมากมาย เช่นเดียวกัน
ประเทศไทยคงปฏิเสธกันอีกไม่ได้ว่า กำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น ซึ่งหากกล่าวถึงผู้สูงอายุแล้วนั้น จำเป็นต้องมีมาตรการสำคัญสำหรับผู้สูงอายุมารองรับ โดยใช้ทฤษฎีทางการแพทย์แผนไทย เรื่อง หลักธรรมานามัยมาเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ที่สอดคล้องกับบริบทและวัฒนธรรมของไทยสามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับการดำเนินชีวิตประจำวันผู้สูง ด้วยหลัก 3 ประการ
1. กายานามัย ถือเป็นหลักป้องกันก่อนการเจ็บป่วย ซึ่งผู้ที่มีอายุเกิน 30 ปีขึ้นไปในทางการแพทย์แผนไทยถือว่าธาตุทั้ง 4 เสื่อมลง จำเป็นต้องดำรงชีวิตด้วยความไม่ประมาท ต้องดูแลร่างกายในเรื่อง
1.1 การบริโภคอาหารที่ถูกกับโรค ถูกกับธาตุ มีการปรับธาตุด้วยรสชาติอาหารต่างๆ ตามธรรมชาติ โดยเลือกบริโภคเนื้อปลาเป็นหลัก และมีผักพื้นบ้านต่างๆ เป็นประจำทุกมื้อ นอกจากนี้ยังควรบริโภคอาหารตามวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ เช่น การเลือกรับประทานข้าวกล้อง งา สมุนไพรและผลไม้ตามฤดูกาล
1.2 การออกกำลังกาย โดยการใช้การออกกำลังกายแบบไทยๆ คือ ใช้ท่าฤๅษีดัดตนซึ่งเป็นท่าที่ไม่ฝืนร่างกายจนเกินไป สำหรับผู้สูงอายุซึ่งสามารถปรับโครงสร้างร่างกายได้ นอกจากนี้ยังเป็นการปรับ และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ข้อต่อ เส้นเอ็นต่างๆ ได้
2. จิตตานามัย คือ การบริหารจิตด้วยทาน ศีล ภาวนา เพื่อเป็นการออกกำลังจิตให้แข็งแรงอยู่เสมอ
2.1 ทาน เป็นการเพื่อช่วยขัดเกลาจิตใจให้เกิดความเสียสละ ลดความโลภ โกรธ และความหลง
2.2 ศีล เป็นการส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีงามถูกต้องเหมาะสม เพื่อช่วยทำให้สภาพความเป็นอยู่โดยทั่วไปเกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งช่วยฝึกความประพฤติทางจริยธรรมด้วยการไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
2.3 ภาวนา เป็นการฝึกสติ ให้เกิดจิตตั้งมั่น สงบนิ่ง เป็นสมาธิ ซึ่งมิก่อให้เกิดโทษต่อตนเองและผู้อื่น
3. ชีวิตานามัย คือ การดำเนินชีวิตที่ดี มีอาชีพสุจริต เว้นจากความทุจริตทั้งปวง นอกจากนี้ยังรวมถึงการทำชีวิตให้อยู่ในหลักของธรรมชาติ คือ การปรับธาตุทั้ง 4 ภายนอกและภายในร่างกายให้เกิดสมดุล
เพียงแค่ นี้ก็ถือว่าเป็นหลักการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ในด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นวิธีทางธรรมชาติเน้นการทำให้ร่างกายสมดุล เป็นการส่งเสริมสุขภาพมากกว่าการรักษาโรค จะช่วยให้เกิดการพัฒนาสุขภาพอย่างยั่งยืนผู้ ทั้งนี้ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกในสังคมไทยเต็มเปี่ยมไปด้วยศักยภาพ ทั้งในด้านภูมิความรู้ที่ถ่ายทอดสะสมกันมา สามารถ
ถ่ายทอดสู่ลูกหลาน สู่คนในสังคม สู่ชุมชน ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ภูมิปัญญาด้านการแพทย์และสาธารณสุข จึงจำเป็นต้องอนุชนรุ่นหลังช่วยกันอนุรักษ์ไว้เพื่อดูแลรักษาสุขภาพของผู้สูงอายุไทย อันได้แก่ ภูมิปัญญาด้านความสามารถจัดการป้องกันและการรักษาสุขภาพของคนในชุมชน ด้วยยาสมุนไพรใกล้ตัว หรือ การนวดแผนไทย เป็นการดูแลรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้าน เช่นนี้แล้วภูมิปัญญาท้องถิ่นของสังคมไทย จึงมีการหยิบยกขึ้นมาส่งเสริมอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้แสดงศักยภาพด้านภูมิปัญญาของตนเอง และนำภูมิปัญญาดีๆเหล่านั้นมา