- 01 พ.ค. 2563
ผู้ที่ประกันตนในระบบประกันสังคม ไม่ว่าจะเป็นมาตรา 33, มาตรา 39 หรือมาตรา 40 ก็ยังได้รับความช่วยเหลือตามสิทธิประกันสังคมอยู่บ้าง ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่ละมาตรา วันนี้เราจะพาไปเช็กกันดูว่า มาตราการไหนช่วยเหลืออย่างไรบ้าง ตามไปดูกันเลย
ผู้ที่ประกันตนในระบบประกันสังคม ไม่ว่าจะเป็นมาตรา 33, มาตรา 39 หรือมาตรา 40 ก็ยังได้รับความช่วยเหลือตามสิทธิประกันสังคมอยู่บ้าง ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่ละมาตรา วันนี้เราจะพาไปเช็กกันดูว่า มาตราการไหนช่วยเหลืออย่างไรบ้าง ตามไปดูกันเลย
1.ผู้ประกันตน มาตรา 33
ผู้ประกันตน มาตรา 33 คือ พนักงาน มนุษย์เงินเดือน หรือลูกจ้างเอกชนที่ยังทำงานกับนายจ้างอยู่ในสถานประกอบการ ซึ่งทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะส่งเงินสมทบเดือนละ 5% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 750 บาท ทั้งนี้ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโรค ผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 จะได้รับสิทธิ์หลายข้อ ทั้งกรณีรักษาพยาบาล กรณีว่างงาน ดังนี้
กรณีตรวจหาเชื้อโรค
สามารถตรวจฟรีที่โรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม หากเข้าเกณฑ์กลุ่มเสี่ยง คือ
1.เคยมีไข้ หรือมีอุณหภูมิร่างกาย 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับอาการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง (ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อย ปอดอักเสบ)
2.มีประวัติเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่ง คือ
-เคยเดินทางไปหรือมาจากประเทศเสี่ยง หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
-ประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับนักท่องเที่ยว สถานที่แออัด หรือติดต่อกับคนจำนวนมาก
-ไปในสถานที่ชุมนุมชน หรือสถานที่ที่มีการรวมกลุ่มคน เช่น ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สถานพยาบาล หรือขนส่งสาธารณะ
-สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อ
แต่หากไม่สามารถไปโรงพยาบาลตามสิทธิได้ เช่น ตอนนี้อยู่ต่างจังหวัด อยู่ต่างพื้นที่ เราสามารถเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ หรือโรงพยาบาลรัฐทุกแห่งตามระบบประกันสังคมได้ก่อนเลย โดยจะเบิกจ่ายเป็นกรณีฉุกเฉิน 72 ชั่วโมง ซึ่งหากเราต้องสงสัยว่าติดเชื้อและต้องถูกกักกัน ให้แจ้งโรงพยาบาลตามสิทธิเพื่อรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
หากไม่เข้าเกณฑ์ 2 ข้อนี้ แต่อยากตรวจหาเชื้อ สามารถไปตรวจได้ที่สถานพยาบาลต่าง ๆ ที่รับตรวจ โดยต้องออกค่าใช้จ่ายเอง
กรณีป่วยติดเชื้อต้องรักษาตัว
หากตรวจพบว่าติดเชื้อ สามารถเข้ารับการรักษาตัวได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 2 ทางคือ
1.ค่าจ้างจากนายจ้าง สามารถใช้สิทธิ์ลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างจากนายจ้างไม่เกิน 30 วัน/ปี
2.เงินทดแทนการขาดรายได้จากประกันสังคม
กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ประกันสังคมจะจ่ายเงินทดแทนฯ ให้ในอัตรา 50% ของค่าจ้าง หรือสูงสุดวันละ 250 บาท (คิดจากฐานอัตราเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท) โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นเป็นโรคเรื้อรัง จะได้รับเงินทดแทนฯ ไม่เกิน 365 วัน แต่ต้องมีหนังสือรับรองจากนายจ้างว่าได้รับค่าจ้างในวันลาป่วยครบ 30 วันทำงานใน 1 ปีปฏิทินแล้ว ส่วนที่ลาป่วยเกิน 30 วัน จึงสามารถยื่นขอรับเงินทดแทนฯ จากประกันสังคมได้
ใครมีสิทธิ์ : ต้องส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนวันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล โดยแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัว
กรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย
จะได้รับเงินกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย ตามเงื่อนไขดังนี้
-นายจ้างหยุดกิจการเอง ลูกจ้างไม่สามารถทำงานตามปกติได้
-หน่วยงานภาครัฐสั่งหยุดกิจการชั่วคราว เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด
-นายจ้างไม่ให้ทำงาน โดยให้ลูกจ้างกักตัว 14 วัน เนื่องจากสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด 19
ใครมีสิทธิ์ : ต้องเป็นผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนการว่างงานหรือถูกรัฐสั่งให้กักตัว หากส่งเงินสมทบไม่ครบ 6 เดือน จะไม่สามารถรับเงินชดเชยได้
รับเงินชดเชยเท่าไร : ได้รับเงิน 62% ของค่าจ้างรายวัน ตลอดระยะเวลาที่นายจ้างหยุดประกอบกิจการ แต่ไม่เกิน 90 วัน ดังนั้น จะได้รับเงินสูงสุดไม่เกินเดือนละ 9,300 บาท (ฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท)
วิธียื่นรับสิทธิ์
-กรอกแบบฟอร์มขอรับประโยชน์ กรณีว่างงาน (สำหรับลูกจ้าง/ผู้ประกันตน) ที่นี่
-นายจ้างต้องกรอกแบบฟอร์มยืนยันการหยุดงานของลูกจ้างด้วย (ที่นี่) ลูกจ้างจึงจะได้รับสิทธิ์เงินชดเชยจากประกันสังคม
เปิดขั้นตอน ลงทะเบียนประกันสังคม มาตรา 33 โครงการ "เหตุสุดวิสัย" รับเงินทดแทน 62% แต่กรณีต่อไปนี้ ไม่สามารถขอรับเงินว่างงานจากประกันสังคมได้
-ลูกจ้างถูกปรับลดเงินเดือน
-ลูกจ้างยินยอมลางานโดยไม่รับค่าจ้าง (Leave without Pay)
-สถานประกอบการหยุดชั่วคราว ลูกจ้างไม่ต้องมาทำงาน แต่นายจ้างยังคงจ่ายเงินให้ลูกจ้างอยู่ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเท่าไรก็ตาม
-นายจ้างหยุดชั่วคราวเนื่องจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ และไม่ให้ลูกจ้างทำงาน (กรณีนี้ นายจ้างต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้าง 75% ของค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน)
กรณีลาออกจากงานเอง
รับเงินชดเชยเท่าไร : หากลาออกเองในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 จะได้รับเงิน 45% ของค่าจ้างรายวัน แต่ไม่เกิน 90 วัน ดังนั้น จะได้รับเงินสูงสุดไม่เกินเดือนละ 6,750 บาท (ฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท)
ใครมีสิทธิ์ : ต้องเป็นผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนการว่างงาน
วิธียื่นรับสิทธิ์
-ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์กรมการจัดหางาน โดยใช้เลขบัตรประชาชนในการเข้าสู่ระบบ กรอกข้อมูลจากบัตรประชาชน พร้อมกรอกเลขหลังบัตรประชาชน (laser Code) จะได้รหัสผ่านเพื่อใช้งานระบบ
-เมื่อลงทะเบียนเข้าสู่ระบบเสร็จสิ้นแล้ว ให้ยื่นคำขอ "รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) e-form" บนเว็บไซต์
-รายงานตัวเดือนละครั้ง ผ่านเว็บไซต์กรมการจัดหางาน
กรณีถูกเลิกจ้าง
รับเงินชดเชยเท่าไร : หากลาออกเองในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 จะได้รับเงิน 70% ของค่าจ้างรายวัน แต่ไม่เกิน 200 วัน เท่ากับว่าจะได้รับเงินสูงสุดไม่เกินเดือนละ 10,500 บาท (ฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท)
ใครมีสิทธิ์ : ต้องเป็นผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนการว่างงาน
วิธียื่นรับสิทธิ์
-ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์กรมการจัดหางาน โดยใช้เลขบัตรประชาชนในการเข้าสู่ระบบ กรอกข้อมูลจากบัตรประชาชน พร้อมกรอกเลขหลังบัตรประชาชน (laser Code) จะได้รหัสผ่านเพื่อใช้งานระบบ
-เมื่อลงทะเบียนเข้าสู่ระบบเสร็จสิ้นแล้ว ให้ยื่นคำขอ "รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) e-form" บนเว็บไซต์
-รายงานตัวเดือนละครั้ง ผ่านเว็บไซต์กรมการจัดหางาน
การจ่ายเงินสมทบ
ผู้ประกันตนจะได้ปรับลดอัตราการส่งเงินสมทบประกันสังคม จาก 5% เหลือ 1% เท่ากับว่าจากเดิมเคยส่งเงินสมทบสูงสุดเดือนละ 750 บาท จะเหลือเดือนละ 150 บาท เป็นเวลา 3 เดือน (มีนาคม-พฤษภาคม 2563) หากใครส่งเงินสมทบ 5% ไปแล้วในเดือนมีนาคม 2563 สามารถยื่นขอรับเงินสมทบคืนได้
ประกันสังคม มาตรา 39
ผู้ประกันตน มาตรา 39 คือ พนักงาน-ลูกจ้างเอกชนที่เคยเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 12 เดือน แต่ปัจจุบันได้ลาออกจากงานแล้ว ไม่ได้ทำงานประจำแล้ว และสมัครใจเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 เพื่อรักษาสิทธิประกันสังคม ภายใน 6 เดือน หลังลาออก ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของโรค คือ
กรณีตรวจหาเชื้อ
สามารถตรวจฟรีที่โรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม หากเข้าเกณฑ์กลุ่มเสี่ยง คือ
1.เคยมีไข้ หรือมีอุณหภูมิร่างกาย 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับอาการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง (ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อย ปอดอักเสบ)
2.มีประวัติเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่ง คือ
-เคยเดินทางไปหรือมาจากประเทศเสี่ยง หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
-ประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับนักท่องเที่ยว สถานที่แออัด หรือติดต่อกับคนจำนวนมาก
-ไปในสถานที่ชุมนุมชน หรือสถานที่ที่มีการรวมกลุ่มคน เช่น ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สถานพยาบาล หรือขนส่งสาธารณะ
-สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อ
แต่หากไม่สามารถไปโรงพยาบาลตามสิทธิได้ เช่น ตอนนี้อยู่ต่างจังหวัด อยู่ต่างพื้นที่ เราสามารถเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ หรือโรงพยาบาลรัฐทุกแห่งตามระบบประกันสังคมได้ก่อนเลย โดยจะเบิกจ่ายเป็นกรณีฉุกเฉิน 72 ชั่วโมง ซึ่งหากเราต้องสงสัยว่าติดเชื้อและต้องถูกกักกัน ให้แจ้งโรงพยาบาลตามสิทธิเพื่อรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
หากไม่เข้าเกณฑ์ 2 ข้อนี้ แต่อยากตรวจหาเชื้อ สามารถไปตรวจได้ที่สถานพยาบาลต่าง ๆ ที่รับตรวจ โดยต้องออกค่าใช้จ่ายเอง
กรณีป่วยติดเชื้อต้องรักษาตัว
หากตรวจพบว่าติดเชื้อสามารถเข้ารับการรักษาตัวได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้อันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยและต้องหยุดงาน ตามคำสั่งของแพทย์ในอัตรา 50% ของค่าจ้าง (วันละ 80 บาท) โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นเป็นโรคเรื้อรัง จะได้รับไม่เกิน 365 วัน
ใครมีสิทธิ์ : ต้องส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนวันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล โดยแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัว
กรณีว่างงาน
ประกันสังคม มาตรา 39 คุ้มครอง 6 กรณี คือ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ แต่ไม่คุ้มครองกรณีว่างงาน ดังนั้น ผู้ประกันตนที่หยุดทำงานชั่วคราว หรือไม่ได้ทำงานประจำ จะไม่สามารถรับเงินเยียวยากรณีว่างงานจากประกันสังคมได้ แต่สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เพื่อรับเงินช่วยเหลือจากกระทรวงการคลัง จำนวน 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน
การส่งเงินสมทบ
ปรับลดอัตราการส่งเงินสมทบประกันสังคม จากเดิมจ่ายเงินสมทบเดือนละ 432 บาท จะเหลือจ่ายเพียงเดือนละ 86 บาท เป็นเวลา 3 เดือน (มีนาคม-พฤษภาคม 2563) หากใครส่งเงินสมทบเกินไปแล้ว สามารถยื่นขอรับเงินสมทบคืนได้
นอกจากนี้ ยังให้ขยายการนำส่งเงินสมทบออกไปอีก 3 เดือน คือ
-เงินสมทบเดือนมีนาคม ให้จ่ายวันที่ 15 กรกฎาคม 2563
-เงินสมทบเดือนเมษายน ให้จ่ายวันที่ 15 สิงหาคม 2563
-เงินสมทบเดือนพฤษภาคม ให้จ่ายวันที่ 15 กันยายน 2563
ประกันสังคม มาตรา 40
ผู้ประกันตน มาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ทำอาชีพอิสระ หรือเป็นแรงงานนอกระบบ เช่น พ่อค้า แม่ค้า เกษตรกร ช่างก่อสร้าง ฟรีแลนซ์ ขายของออนไลน์ และอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 หรือ 39 แต่สมัครใจสมัครเป็นผู้ประกันตนประกันสังคมเพื่อรับสิทธิ์ต่าง ๆ โดยเลือกจ่ายเงินสมทบได้ 3 ทางเลือก คือ
-ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน รัฐช่วยจ่ายสมทบ 30 บาท/เดือน รวมเป็นจ่ายสมทบ 100 บาท/เดือน
-ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน รัฐช่วยจ่ายสมทบ 50 บาท/เดือน รวมเป็นจ่ายสมทบ 150 บาท/เดือน
-ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน รัฐช่วยจ่ายสมทบ 150 บาท/เดือน รวมเป็นจ่ายสมทบ 450 บาท/เดือน
อย่างไรก็ตาม สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากสถานการณ์จะแตกต่างกันไป ตามนี้
กรณีตรวจหาเชื้อและรักษาพยาบาล
ผู้ประกันตน มาตรา 40 ไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ เนื่องจากประกันสังคม มาตรา 40 ไม่ครอบคลุมการรักษาพยาบาล หากต้องการใช้สิทธิ์ตรวจหาเชื้อ หรือรักษาพยาบาลเมื่อป่วยติดเชื้อ ต้องใช้สิทธิบัตรทอง จาก สปสช.
อย่างไรก็ตาม กรณีแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว 3 วันขึ้นไป หรือกรณีเป็นผู้ป่วยในต้องนอนโรงพยาบาล ประกันสังคมจะจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วยให้ ดังนี้
กรณีว่างงาน
หากผู้ประกันตน มาตรา 40 ต้องหยุดกิจการชั่วคราว หรือว่างงานเพราะปิดกิจการ จะไม่สามารถรับเงินเยียวยากรณีว่างงานจากประกันสังคมได้ เพราะสิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ไม่ได้คุ้มครองเรื่องนี้ แต่สามารถลงทะเบียน www.เราไม่ทิ้งกัน.com เพื่อรับเงินช่วยเหลือจากกระทรวงการคลัง จำนวน 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน
การส่งเงินสมทบ
ผู้ประกันตน มาตรา 40 ยังต้องส่งเงินสมทบเท่าเดิม ไม่ได้มีการปรับลดอัตราการส่งเงินสมทบเหมือนกับผู้ประกันตน มาตรา 33 และมาตรา 39
สามารถตรวจสอบสิทธิประกันสังคม สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 ทั้งหมดได้ที่นี่
ประกันสังคม มาตรา 40 เพิ่มสิทธิประโยชน์ใหม่อะไรบ้าง
หากตรวจสอบแล้วพบว่าเราเข้าข่ายได้รับความช่วยเหลือด้านใด ก็สามารถยื่นเรื่องขอรับสิทธิ์นั้นได้ แต่ถ้ายังมีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคม โทร. 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม, สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ