"วราวุธ"เผยพะยูนในธรรมชาติเพิ่ม เดินหน้า "มาเรียมโปรเจค" ต่อเนื่อง

“วราวุธ”เผยพะยูนในธรรมชาติเพิ่ม เดินหน้า “มาเรียมโปรเจค” ต่อเนื่อง ทช.จัดงานสัปดาห์พะยูนแห่งชาติร่วมพันธมิตรตั้งสถาบันวิจัยอนุรักษ์พะยูน


    กระแสต่อเนื่องด้านการอนุรักษ์พะยูน นับตั้งแต่สูญเสีย “น้องมาเรียม” เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2562 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เสนอให้วันที่ 17 สิงหาคม ของทุกปีเป็น “วันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ” สำหรับปีนี้ (2565) ได้มีการจัดงานสัปดาห์พะยูนแห่งชาติ (ThailandDugong&SeagrassWeek2022) เป็นครั้งแรก 

  ด้านนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานเปิดงานและร่วมเป็นสักขีพยานลงนามจัดตั้งสถาบันวิจัยเพื่อการอนุรักษ์พะยูนและสัตว์ทะเลหายาก โดยความร่วมมือระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง  หวังเพิ่มจำนวนพะยูนในธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง พร้อมเผยผลงานจำนวนพะยูนในธรรมชาติเพิ่มขึ้นหลังเดินหน้าแผนอนุรักษ์พะยูนจริงจัง

 

\"วราวุธ\"เผยพะยูนในธรรมชาติเพิ่ม เดินหน้า \"มาเรียมโปรเจค\" ต่อเนื่อง
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า ตนคงจะต้องตอกย้ำให้กับสังคมในสิ่งที่เป็นบทเรียนที่หลายคนยังจดจำกันไม่ลืม นับตั้งแต่เราได้สูญเสียพะยูน“มาเรียม”เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2562 จนกลายเป็นกระแสสังคมดังไปทั่วโลก จนถึงวันนี้ (17 สิงหาคม 2565) ก็ครบ 3 ปี พอดี ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่เคยหยุดทำงานเพื่อแก้ไขและฟื้นฟูเพิ่มจำนวนพะยูนรวมถึงสัตว์ทะเลหายากในท้องทะเลไทย บทเรียนจากเศษขยะทะเลเพียงไม่กี่ชิ้นที่สร้างความสูญเสียอันใหญ่หลวงจนประเมินค่าไม่ได้ ต่อยอดสู่การอนุรักษ์สัตว์ป่าและสัตว์ทะเลหายากภายใต้ “มาเรียมโปรเจค”ผลความสำเร็จเราสามารถเพิ่มจำนวนเพิ่มจำนวนพะยูนในธรรมชาติจาก 250 ตัว เป็น 265 ตัว 

\"วราวุธ\"เผยพะยูนในธรรมชาติเพิ่ม เดินหน้า \"มาเรียมโปรเจค\" ต่อเนื่อง

 


และตั้งเป้าหมายไว้ที่ 280 ตัว โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดตรังที่นับว่าเป็นแหล่งพะยูนและหญ้าทะเลที่สมบูรณ์และใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สำหรับการดำเนินงานที่ผ่านมา ตนต้องขอชื่นชมกับพี่น้องประชาชนในจังหวัดตรัง นักท่องเที่ยว และภาคส่วนต่างๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกขั้นตอน แก้ไขปัญหาครอบคลุมทุกมิติตั้งแต่การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และจัดการปัญหาขยะทะเลตั้งแต่ต้นทางก่อนลงสู่ทะเล ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการจัดการแบบเต็มรูปแบบ และที่สำคัญวันนี้ ตนต้องขอขอบคุณสมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ที่ร่วมกันจัดตั้งสถาบันวิจัยเพื่อการอนุรักษ์พะยูนและสัตว์ทะเลหายาก เพื่อช่วยรักษา ดูแล อนุรักษ์และฟื้นฟูจำนวนพะยูนพื้นที่อำเภอปะเหลียน อำเภอหาดสำราญ อำเภอย่านตาขาว อำเภอกันตัง และอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง และพื้นที่ใกล้เคียง 

สุดท้าย ตนอยากจะฝากถึงพี่น้องประชาชน “วันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ 17 สิงหาคม ของทุกปี เราจะมาร่วมกันแสดงความยินดีถึงความสำเร็จจากความร่วมมือของเราทุกฝ่ายที่ช่วยกันทำให้จำนวนพะยูนในธรรมชาติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีเรายังเพาะพันธุ์พะยูนเองไม่ได้ แต่เรารักษาระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมให้พะยูนได้อาศัยและเพิ่มจำนวนโดยธรรมชาติได้ ซึ่งต้องช่วยกันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อความสมบูรณ์ของท้องทะเลและลูกหลานของเราในอนาคต”สำหรับการขยายผลภายใต้โครงการมาเรียมโปรเจค กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังคงมีแผนยกระดับเพื่อดูแลสัตว์ป่าและสัตว์ทะเลหายากอื่นๆ โดยได้มอบหมายนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำกับหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงฯ  และเร่งหาพันธมิตรในการร่วมกันดำเนินการเพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน “นายวราวุธ กล่าว”

\"วราวุธ\"เผยพะยูนในธรรมชาติเพิ่ม เดินหน้า \"มาเรียมโปรเจค\" ต่อเนื่อง
ด้าน นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้จัดงานสัปดาห์พะยูนแห่งชาติ (ThailandDugong&SeagrassWeek2022) ระหว่างวันที่ 17 - 23 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุมใหญ่ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา อ.เมือง จ.ตรัง โดยกิจกรรมภายในงานจะมุ่งเน้นการให้ความรู้ทางวิชาการ การถอดบทเรียนจากเหตุการณ์ต่างๆ

\"วราวุธ\"เผยพะยูนในธรรมชาติเพิ่ม เดินหน้า \"มาเรียมโปรเจค\" ต่อเนื่อง

เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของภาคส่วนต่า ๆ ได้เห็นความสำคัญและเข้ามาร่วมแสดงบทบาทร่วมกันอนุรักษ์และดูแลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยเฉพาะ “พะยูน”ของไทย ซึ่งคาดว่าการจัดงานจะมีผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า1,000 คน นอกจากนี้ กรม ทช. ได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยเพื่อการอนุรักษ์พะยูนและสัตว์ทะเลหายาก ณ อ่าวสิเกา จังหวัดตรัง ร่วมกับสมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง 

\"วราวุธ\"เผยพะยูนในธรรมชาติเพิ่ม เดินหน้า \"มาเรียมโปรเจค\" ต่อเนื่อง

ซึ่งโครงการนี้นับเป็นโครงการใหญ่อีกหนึ่งโครงการใช้เวลาในการดำเนินโครงการกว่า 15 ปี ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ศูนย์รักษาและฟื้นฟูสัตว์ทะเลหายากที่เจ็บป่วย ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้านพะยูนและสัตว์ทะเลหายาก และศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง โดยตั้งเป้าหมายจำนวนพะยูนในธรรมชาติได้รับการคุ้มครอง ดูแล และเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายนี้ ตนขอขอบคุณองค์กรพันธมิตรและพี่น้องประชาชนทุกคนที่ได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริม อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะทรัพยากรพะยูนที่นับวันจะสูญหายไปจากท้องทะเลตรังให้กลับมามีจำนวนเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

\"วราวุธ\"เผยพะยูนในธรรมชาติเพิ่ม เดินหน้า \"มาเรียมโปรเจค\" ต่อเนื่อง

  ดร. ชวัลวัฒน์ อริยวรารมย์ นายกสมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ กล่าวว่า ทางสมาคมฯ ได้หารือร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมาตั้งแต่ปี 2562 นับตั้งแต่สูญเสีย “พะยูนมาเรียม” โดยได้แสดงความประสงค์ที่จะให้การสนับสนุน การดำเนินงานเพื่อการอนุรักษ์และดูแลพะยูนในจังหวัดตรังและพื้นที่อื่นๆ ทั้งนี้ การจัดตั้งสถาบันวิจัยเพื่อการอนุรักษ์พะยูนและสัตว์ทะเลหายาก นับเป็นแนวทางการบริหารจัดการที่ครบวงจรในทุกมิติ อีกทั้งยังได้พันธมิตรที่มีแนวคิดและอุดมการณ์เดียวกัน ซึ่งตนเชื่อว่าจะสามารถดูแลและอนุรักษ์พะยูนได้อย่างที่สมาคมฯ คาดหวังและตั้งใจ

 

อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้จะร่วมกับ กรม ทช. ในการออกแบบโครงการ สนับสนุนงบประมาณและดูแลการออกแบบ การก่อสร้างอาคารและระบบสาธารณูปโภคที่เป็นส่วนประกอบของโครงการฯ รวมถึงสนับสนุนจัดหาอุปกรณ์พื้นฐานต่างๆ ซึ่งจะได้หารือกัน ต่อไป ทั้งนี้ ตนและทางสมาคมฯ ได้เตรียมแผนงานเพื่อการประชาสัมพันธ์และสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์พะยูน เพื่อปลุกจิตสำนึกและกระตุ้นเตือนสังคมให้มีส่วนช่วยดูแลพะยูนให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ต่อไป 

\"วราวุธ\"เผยพะยูนในธรรมชาติเพิ่ม เดินหน้า \"มาเรียมโปรเจค\" ต่อเนื่อง
ผศ.โกสินทร์ พัฒนมณี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้ดำเนินการตามขั้นตอนส่งคืนพื้นที่ป่าชายเลนให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเพื่อใช้ประโยชน์ด้านการอนุรักษ์ โดยมหาวิทยาลัยพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมพัฒนาและดำเนินงานซึ่งที่ผ่านมาได้ทำงานร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในการช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายากหลายชนิด เช่น พะยูน เต่าทะเล และโลมา ฯลฯ 

\"วราวุธ\"เผยพะยูนในธรรมชาติเพิ่ม เดินหน้า \"มาเรียมโปรเจค\" ต่อเนื่อง
โดยให้การสนับสนุนทีมนักวิชาการ เครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำงานในพื้นที่ รวมถึงจัดเจ้าหน้าที่ร่วมทำงานมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับครั้งนี้ภายใต้การดำเนินงานสถาบันวิจัยเพื่อการอนุรักษ์พะยูนและสัตว์ทะเลหายาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ศรีวิชัยมีศักยภาพและความพร้อมอย่างยิ่งทั้งบุคลากร ผู้บริหาร นักวิจัย อาคารสถานที่ เครื่องมือ ครุภัณฑ์ เพื่อสนับสนุนให้ภารกิจโครงการดังกล่าวบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยฯ ได้เตรียมพร้อมเสนอแนวทางดำเนินงานและขยายผลการเรียนรู้ระบบนิเวศให้กับนักศึกษาและชุมชนได้ประโยชน์สูงสุดจากสถาบันวิจัยฯ ต่อไป 

\"วราวุธ\"เผยพะยูนในธรรมชาติเพิ่ม เดินหน้า \"มาเรียมโปรเจค\" ต่อเนื่อง