ผู้ว่าการ MEA ตรวจเยี่ยมภารกิจอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าใต้ดิน Outgoing ชิดลม

ผู้ว่าการ MEA ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมภารกิจการบำรุงรักษาอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าใต้ดิน Outgoing ชิดลม โมงค์สายส่งไฟฟ้าใต้ดินขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

   นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมภารกิจการบำรุงรักษาอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าใต้ดิน Outgoing ชิดลม ซึ่งเป็นอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าใต้ดินขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2564 มีระบบไฟฟ้าแรงดัน 115/69 และ 24 กิโลโวลต์ (kV) อยู่ใต้ถนนชิดลม ถึง ถนนสารสิน และถนนเพลินจิต (จากสี่แยกชิดลม ถึงสี่แยกเพลินจิต) เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.6 เมตร ยาว 1.3 กิโลเมตร อยู่ลึกกว่า 35 เมตร 

ผู้ว่าการ MEA ตรวจเยี่ยมภารกิจอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าใต้ดิน Outgoing ชิดลม

 

   มีการเชื่อมโยงกับอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าใต้ดินเดิมที่มีขนาดแรงดัน 230 kV เชื่อมต่อระหว่างสถานีต้นทางบางกะปิถึงสถานีต้นทางชิดลม ยาว 7 กิโลเมตร อยู่ลึกกว่า 30 เมตร ลอดใต้แนวคลองแสนแสบ อุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน และอุโมงค์ระบายน้ำของ กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเพื่อรองรับความต้องการการใช้ไฟฟ้าในย่านธุรกิจสำคัญใจกลางเมืองที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องช่วยสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ลดปัญหาไฟฟ้าดับ ลดความเสี่ยงทางกายภาพที่อาจเกิดขึ้นกับสายไฟฟ้าแรงสูงบนพื้นดิน พร้อมทั้งสร้างภูมิทัศน์ที่สวยงามให้กับเมืองมหานครของประเทศไทย

ผู้ว่าการ MEA ตรวจเยี่ยมภารกิจอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าใต้ดิน Outgoing ชิดลม

ผู้ว่าการ MEA ตรวจเยี่ยมภารกิจอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าใต้ดิน Outgoing ชิดลม
   ทั้งนี้ นอกจากการดำเนินโครงการนำสายไฟฟ้าแรงดันสูง 230 กิโลโวลต์ (kV) ลงใต้ดินแล้ว MEA ยังได้นำสายไฟฟ้าแรงดันสูงขนาด 12/24 กิโลโวลต์ (kV) รวมถึงแรงดันต่ำขนาด 220/380 โวลต์ (V) ลงใต้ดินภายใต้ชื่อโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน มีระยะทางดำเนินโครงการทั้งสิ้น 236.1 กิโลเมตร มีเป้าหมายก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในปี 2570

 

โดยขณะนี้ สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จรวม 62 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่สำคัญในถนนต่าง ๆ เช่น ถนนสีลม ถนนสุขุมวิท ถนนพหลโยธิน ถนนพญาไท ถนนพระราม 1 ถนนราชดำริ ถนนราชวิถี ถนนราชปรารภ ถนนศรีอยุธยา ถนนสวรรคโลก ถนนสาธุประดิษฐ์ และถนนสว่างอารมณ์ เป็นต้น

ผู้ว่าการ MEA ตรวจเยี่ยมภารกิจอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าใต้ดิน Outgoing ชิดลม

ขณะเดียวกันมีโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ 174.1 กิโลเมตร เช่น โครงการพระราม 3 โครงการรัชดาภิเษก และโครงการก่อสร้างตามแนวรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ โดย MEA คาดว่า ภายในสิ้นปี 2566 จะมีระยะทางที่ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จเพิ่มขึ้นอีก 29.2 กิโลเมตร ทำให้มีระยะทางสายใต้ดินสะสมรวมทั้งสิ้น 91.2 กิโลเมตร

ผู้ว่าการ MEA ตรวจเยี่ยมภารกิจอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าใต้ดิน Outgoing ชิดลม

#ผู้ว่าการMEA
#อุโมงค์สายส่งไฟฟ้าใต้ดิน
#MEA #การไฟฟ้านครหลวง
#พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร

ผู้ว่าการ MEA ตรวจเยี่ยมภารกิจอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าใต้ดิน Outgoing ชิดลม