- 02 ส.ค. 2567
การไฟฟ้านครหลวง (MEA) ครบรอบ 66 ปี สู่เส้นทางการเป็นองค์กรพลังงานที่ยั่งยืงยืน "66th Year : To be Sustainable Energy Utity"
นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA หรือ การไฟฟ้านครหลวง เปิดเผยในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา MEA ครบรอบ 66 ปี วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ณ อาคารวัฒนวิภาส การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ว่า MEA ได้จัดกิจกรรม ครบรอบ 66 ปี สู่เส้นทางการเป็นองค์กรพลังงานที่ยั่งยืน "66th Year : To be Sustainable Energy Utity"
การจัดงานครั้งนี้คำนึงถึงแนวคิดการเป็นองค์กร ลดคาร์บอน (Decarbonization) ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งตกแต่งสถานที่ด้วยวัสดูที่ไม่สร้างขยะ จัดโซนนิทรรศการวันดินโลก แสดงความสำคัญของดิน "ดินดี น้ำดี ชีวีมีสุข อย่างยั่งยืน" พร้อมร่วมบริจาคเงินให้กับ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร และร่วมสนับสนุนสินค้ามูลนิธิแม่ฟ้าหลวง
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน MEA ได้ดำเนินกิจการด้วยความตระหนักต่อประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมตามแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก คือ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (Environment, Social, Governance: ESG) ผ่านการดำเนินโครงการต่าง ๆ
อาทิ โครงการ MEA GO (Green Organization) สร้างความตระหนักให้แก่พนักงานในการใส่ใจด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) ผ่านกิจกรรม Zero waste การนำขยะที่สามารถนำไปแปลงเป็นพลังงาน(Waste to energy) การจัดซี้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (GreenProcurement) การจัดประชุมที่มีการคำนึงถึงการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดพลังงานที่ใช้ในอาคารของ MEA เพื่อให้ใช้พลังงานมีประสิทธิภาพสูงสุด โครงการ Pickup Retrofit นำรถยนต์เก่ามาทดสอบตัดแปลงมอเตอร์ไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์ประกอบ เพื่อใช้งานภายใน MEA ช่วยลดมลพิษ PM 2.5 ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง เพื่อก้าวไปสู่การเป็นองค์กรชั้นนำด้านธุรกิจพลังงานไฟฟ้าในระดับสากล
และเป็นองค์กรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (MEA Organization) ภายในปี 2570 ควบคู่ไปกับการพัฒนางานบริการให้เข้าถึงและตอบโจทย์ประชาชาชนมากยิ่งขึ้นตามมาตรฐานศูนย์ราชการสะดวก (GECC) ด้วยระบบการให้บริการออนไลน์ ลดการเดินทางมาติดต่อ ณ ที่ทำการ รวมถึงโครงการ MEA e-Bill ที่รณรงค์ลดการใช้เอกสารกระถาษ ไปแล้วกว่า 12 ล้านแผ่นต่อปี
ในด้านระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าของ MEA ยังคำนึงคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาด้านสิ่งแวดล้อม จากการรื้อถอนอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพจำนวนมาก โดย MEA เริ่มกระบวนการ upcycle ลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า(Insulators) ที่หมดอายุการใช้งาน ให้นำไปไช้งานในหลายรูปแบบ อาทิ การนำไปบดหยาบเพื่อทำวัสดุกันลื่นบนถนน (Anti skid road ceramic particles) สำหรับลูกถ้วยที่บดละเอียด
นำไปผลิตเป็นแผ่นรองดูดซึมน้ำประสิทธิภาพสูง ซึ่งได้นำมากดสอบนำร่องการใช้งานกายในองค์กร ก่อนขยายพื้นที่การใช้งานไปยังเครือข่ายพันธมิตรและชุมชนอื่น ๆ ส่วนเสาไฟฟ้าที่ถูกรื้อถอนจากโครงการสายไฟฟ้าใต้ดิน ได้มาปักเป็นแบวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า และชายฝั่ง ย่านบางขุนเทียน รวมระยะทางกว่า 2,500 เมตร
สำหรับด้านระบบนิเวศน์ยานยนต์ไฟฟ้า MEA เป็นรัฐวิสาหกิจหน่วยงานแรกที่นำรถยนต์ไฟฟ้า (EV)ใช้ในกิจการ และได้นำเทคโนโลยีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในองค์กรกว่า 10 ปี มีการต่อยอดสร้างนวัตกรรม PLUG ME EV ระบบอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าที่เหมาะกับพื้นที่อาคารสำนักงาน หรืออาคารชุดที่ต้องการรองรับผู้ใช้งานรถ EV จำนวนมาก ช่วยลดต้นทุนกว่าร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับเครื่องอัดประจุไฟฟ้า AC ทั่วไปในท้องตลาด
รวมถึงการจัดทำตราสัญลักษณ์รับรองมาตรฐานเครื่องอัดประจุไฟฟ้าที่มีความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค หรือ Charge Sure by MEA รวมถึงดำเนินโครงการที่สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่การใช้พลังงานจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบัน MEA รับซื้อไฟฟ้าจากกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) จำนวน 13,735 ราย คิดเป็น กำลังผลิตกว่า 238 เมกะวัตต์ และมีการติดตั้งระบบ Solar Cell ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ รวมเป็นจำนวนว่า 84 เมกะวัตต์ ทั้งหมดนี้ ช่วยส่งผลประหยัดประมาณ 190,000 tonCo2/ปี
เพื่อมุ่งสู่การใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าสูงสุด MEA ยังมีโครงการที่มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชน ภายใต้โครงการ MEA Energy Mind Award ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2550 เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะกลุ่มบุคลากร และเยาวชนในสถานศึกษาต่าง ๆ สร้างเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว (Green Youth) ส่งมอบสู่สังคมไทย ในส่วนของผู้ประกอบการ
โครงการ MEA Energy Award เป็นโครงการที่มอบรางวัลให้กับอาคารในประเภทต่าง ๆ ภายใต้คิด "ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และคุณภาพอากาศได้มาตรฐาน" ซึ่งได้ดำเนินโครงการมีอาคารผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานอาคารประหยัดพลังงานของ MEA ไปแลวทั้งสิ้น 313 แห่ง ช่วยให้ประหยัด 46.33 ล้านหน่วยต่อปี คิดเป็นมูลค่า 180.93 ล้านบาทต่อปี ลดคาร์บอน 26,589 tonCo2 ต่อปี
ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการที่ MEA กำหนดเป้าหมาย Carbon Neutrality ความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี พ.ศ. 2593 และ กำหนดเป้าหมาย Net Zero Emission การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี พ.ศ. 2608 ดำเนินการขับเคลื่อนจากภายในองค์กรไปสู่ภายนอก และเดินหน้าผลักดันให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Net Zero ) ตามนโยบายของรัฐบาลในอนาคตต่อไป
พร้อมกันนี้ทาง MEA ยังร่วมกับ สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยฯ จัดประกวดภาพถ่ายไฟประดับ ชิงเงินรางวัลรวม 1 แสนบาท จึงขอเชิญชวนชมไฟประดับใน “โครงการราชดำเนินทัศนา ประชา สุขใจ สว่างไสวด้วยไฟประดับ” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ วันที่ 28 กรกฎาคม 2567 ณ พระบรมมหาราชวัง บริเวณท้องสนามหลวง ถนนราชดำเนิน
และรอบพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
รวมระยะทางติดตั้งไฟประดับกว่า 9 กิโลเมตร ประดับด้วยหลอดไฟ LED สีเหลืองอ่อน รวมจำนวน 8,500,000 ดวง เพื่อเป็นแหล่งศูนย์รวมการท่องเที่ยวให้ประชาชนร่วม สัมผัสความงดงามสว่างไสวของดวงไฟประดับเนื่องในโอกาสมหามงคลนี้ โดยสามารถเที่ยวชมได้ ตั้งแต่วันนี้ - 20 สิงหาคม 2567 เวลา 18.00 - 00.00 น. ของทุกวัน
ซึ่งทาง MEA ได้ร่วมกับ สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญชมไฟประดับและบันทึกภาพถ่ายทอดเรื่องราวความงดงามของไฟประดับในโครงการฯ
เงินรางวัลรวม 100,000 บาท โดยแบ่งออกเป็น
- รางวัลชนะเลิศ - เงินรางวัล 50,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 - เงินรางวัล 20,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 - เงินรางวัล 10,000 บาท
- รางวัลยอดเยี่ยม จำนวน 10 รางวัล มีรางวัล รางวัลละ 2,000 บาท
เปิดรับผลงาน : วันที่ 26 กรกฎาคม - 7 ตุลาคม 2567
ส่งภาพและรายละเอียดกติกาเพิ่มเติม
http://rpst.or.th/home/gallerydetails,php?id=99
#ประกวดภาพถ่าย #ไฟประดับ#โครงการเฉลิมพระเกียรติ #ราชดำเนินทักมาประชาสุขใจสว่างโสวด้วยไฟประดับ #MEA #การไฟฟ้านกรหลวง #พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร
#วันคล้ายวันสถาปนาการไฟฟ้านครหลวงครบรอบ66ปี #66ปีสู่เส้นทางการเป็นองค์กรพลังงานที่ยั่งยืน #Tobesustainableenergyutility66th #CarbonNeutrality #MEAGO #CSR#งานวันดินโลก #ESG #การไฟฟ้านครหลวง #MEA#พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร