ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

นพ.สุวิทย์  โรจนศักดิ์โสธร  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา  เปิดเผยว่า โรคพิษสุนัขบ้าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ หากประชาชนป่วยจะทำให้เสียชีวิตทุกราย  พบข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรคตั้งแต่ 1 มกราคม-21 กุมภาพันธ์ 2561 มีผู้เสียชีวิติ 1 รายที่จังหวัดสุรินทร์ และในปี 2560พบผู้เสียชีวิต 2 รายในจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์(จากการถูกลูกสุนัขกัดเห็นว่าเป็นแผลเล็กน้อยและไม่ไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีน) รวมทั้งพบโรค-    พิษสุนัขบ้าในสัตว์พาหะ(สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม)เช่น สุนัข แมว ต่อเนื่องทุกปี  โดยพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา พบรายงานของกรมปศุสัตว์ ในปี 2560 มีหัวสัตว์พาหะมีเชื้อพิษสุนัขบ้า 14 ตัวอย่าง (อำเภอโนนสูง 8 ,เมืองนครราชสีมา 4,   บัวลาย 1, จักราช 1ตัวอย่าง ซึ่งปี 2651นี้ (1ม.ค.-7มี.ค.61)  พบรายงานหัวสัตว์พาหะมีเชื้อพิษสุนัขบ้า  8 ตัวอย่าง  (อำเภอโนนสูง 2 ,สีดา 2 , เมืองนครราชสีมา 1  และขามสะแกแสง 1 ตัวอย่าง  )   ทั้งนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา      ( นายวิเชียร จันทรโณทัย )  จึงประกาศให้เป็นพื้นที่ทุกอำเภอของจังหวัดนครราชสีมา  เป็นพื้นที่เฝ้าระวังภัยโรคพิษสุนัขบ้า  ตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ภายใต้โครงการ “สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า” ที่ทรงห่วงใยและมีพระประสงค์ลดปัญหาสุนัขจรจัด กวาดล้างโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศไทย  และเพิ่มการฉีดวัคซีนในสัตว์เลี้ยงมากกว่าร้อยละ 80  เร่งรัดมาตรการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า  ค้นหาติดตามผู้สัมผัสทุกคนให้ได้รับวัคซีนครบ 100%  และสามารถลดจำนวนคนถูกกัดในพื้นที่เสี่ยง

ด่วนเฝ้าระวัง! โคราชตรวจพบเชื้อพิษสุนัขบ้า 8 ตัวอย่าง ประกาศให้ทุกอำเภอในพื้นที่เฝ้าระวังภัย ส่วนผู้ที่สัมผัสทุกคนให้ไปรับวัคซีน..!?

ด่วนเฝ้าระวัง! โคราชตรวจพบเชื้อพิษสุนัขบ้า 8 ตัวอย่าง ประกาศให้ทุกอำเภอในพื้นที่เฝ้าระวังภัย ส่วนผู้ที่สัมผัสทุกคนให้ไปรับวัคซีน..!?

ด่วนเฝ้าระวัง! โคราชตรวจพบเชื้อพิษสุนัขบ้า 8 ตัวอย่าง ประกาศให้ทุกอำเภอในพื้นที่เฝ้าระวังภัย ส่วนผู้ที่สัมผัสทุกคนให้ไปรับวัคซีน..!?

สำหรับ โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ ชาวอีสานเรียก โรคหมาว้อ เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่รู้จักกันมากว่า 500ปี โรคนี้มีอันตรายถึงเสียชีวิต  แต่สามารถป้องกันได้ โรคพิษสุนัขบ้าในคนสาเหตุมากจากคนได้รับเชื้อเรบีส์ (Rabies)  ติดต่อโดยจากการถูกสุนัขแมวที่มีเชื่อเรบีส์ กัด ขีดข่วน หรือเลียบาดแผล    ซึ่งเชื้อจะอยู่ในน้ำลายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อาการในคนเริ่มแรก คือ เบื่ออาหาร เจ็บคอ มีไข้ อ่อนเพลีย มีอาการคันบริเวณที่ถูกกัด แล้วลามไปส่วนอื่น ต่อมาจะสับกระส่าย กลัวแสง กลัวคน ไม่ชอบเสียงดังเพ้อเจ้อ  กลืนลำบากโดยเฉพาะของเหลว กลัวน้ำ ปวดท้องน้อยและขา กล้ามเนื้อกระตุก แน่นหน้าอกหายใจไม่ออกเกร็งอัมพาตหมดสติและเสียชีวิตในที่สุด ดังนั้นจึงขอความร่วมมือประชาชนร่วมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ดังนี้ นำสุนัข-แมวไปรับวัคซีนเป็นประจำทุกปี ทำหมันและเลี้ยงสัตว์อย่างมีความรับผิดชอบ ไม่นำไปทิ้งในที่สาธารณะเพิ่มภาระให้สังคม หากถูกสุนัขหรือแมวกัดควร รีบล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาดใส่ยาฆ่าเชื้อทันที กักสัตว์ที่กัดหรือมีอาการสงสัยไว้ 10 วัน(หากสัตว์เสียชีวิตควรตัดหัวตัวอย่างส่งตรวจ) คนถูกสัตว์กัดต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าภายใน 2วัน

ด่วนเฝ้าระวัง! โคราชตรวจพบเชื้อพิษสุนัขบ้า 8 ตัวอย่าง ประกาศให้ทุกอำเภอในพื้นที่เฝ้าระวังภัย ส่วนผู้ที่สัมผัสทุกคนให้ไปรับวัคซีน..!?

ด่วนเฝ้าระวัง! โคราชตรวจพบเชื้อพิษสุนัขบ้า 8 ตัวอย่าง ประกาศให้ทุกอำเภอในพื้นที่เฝ้าระวังภัย ส่วนผู้ที่สัมผัสทุกคนให้ไปรับวัคซีน..!?

ด่วนเฝ้าระวัง! โคราชตรวจพบเชื้อพิษสุนัขบ้า 8 ตัวอย่าง ประกาศให้ทุกอำเภอในพื้นที่เฝ้าระวังภัย ส่วนผู้ที่สัมผัสทุกคนให้ไปรับวัคซีน..!?  

นพ.สุวิทย์  โรจนศักดิ์โสธร กล่าวเพิ่มว่า ขณะนี้ได้เร่งกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดมาตรการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าด้วย “มาตรการ 1-2-3” ดังนี้ (1) กรณีที่พบสัตว์ป่วย ให้กรมปศุสัตว์และกระทรวงสาธารณสุข แจ้งข่าว สอบสวน ควบคุมโรคร่วมกัน (2) ติดตามผู้สัมผัสโรคมารับวัคซีน ภายใน 2 วัน (3) สอบสวนและควบคุมโรคในพื้นที่ แจ้งข้อมูล และฉีดวัคซีนรอบจุดเกิดเหตุ ในรัศมีอย่างน้อย 3 กิโลเมตร และให้เพิ่มความเข้มข้นหากพบผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า โดยในระดับจังหวัดใช้กลไกคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด สอบสวน ค้นหา ติดตาม ทั้งคนและสัตว์ในทุกอำเภอ เพื่อลดจำนวนคนถูกกัดในพื้นที่เสี่ยง ส่งทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ส่ง อสม. เคาะประตูบ้าน ทำการสื่อสารความเสี่ยงในวงกว้าง และให้วัคซีนรอบจุดเกิดโรค ในส่วนของระดับอำเภอและตำบลใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ดำเนินการ   โรคพิษสุนัขบ้าป้องกันได้ หากทุกคนช่วยกัน จะลดการเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างแน่นอน ขอย้ำว่า เมื่อถูกสุนัขแมวกัดหรือข่วน ให้รีบ “ล้างแผล ใส่ยา  กักสัตว์ หาหมอด่วน” ทั้งนี้การพบแพทย์เพื่อประเมินว่าต้องรับวัคซีนหรือไม่ และต้องมาฉีดวัคซีนให้ตรงตามนัดทุกครั้ง เพราะวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าต้องฉีดให้ครบชุดจึงจะได้ผล ไม่เช่นนั้นจะเป็นโรคพิษสุนัขบ้า และเสียชีวิตทุกราย” นพ.สุวิทย์ กล่าว.

ด่วนเฝ้าระวัง! โคราชตรวจพบเชื้อพิษสุนัขบ้า 8 ตัวอย่าง ประกาศให้ทุกอำเภอในพื้นที่เฝ้าระวังภัย ส่วนผู้ที่สัมผัสทุกคนให้ไปรับวัคซีน..!?

ด่วนเฝ้าระวัง! โคราชตรวจพบเชื้อพิษสุนัขบ้า 8 ตัวอย่าง ประกาศให้ทุกอำเภอในพื้นที่เฝ้าระวังภัย ส่วนผู้ที่สัมผัสทุกคนให้ไปรับวัคซีน..!?

ด่วนเฝ้าระวัง! โคราชตรวจพบเชื้อพิษสุนัขบ้า 8 ตัวอย่าง ประกาศให้ทุกอำเภอในพื้นที่เฝ้าระวังภัย ส่วนผู้ที่สัมผัสทุกคนให้ไปรับวัคซีน..!?

ภาพ/ข่าว  ไพฑูรย์ ดาบพิมาย  ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จ.นครราชสีมา