ครบรอบ ๒๒ ปี "สะพานพระราม ๘" ตามพระราชดำริในหลวง พระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติ ร.๘ จุดเชื่อมต่อโครงการพระราชดำริของจตุรทิศ #วันนี้ในอดีต!!

ติดตามเรื่องราวดีๆได้อีกมากมาย ได้ที่ http://www.tnews.co.th

ครบรอบ ๒๒ ปี "สะพานพระราม ๘" ตามพระราชดำริในหลวง พระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติ ร.๘ จุดเชื่อมต่อโครงการพระราชดำริของจตุรทิศ #วันนี้ในอดีต!!

          ด้วยพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๙ สะพานพระราม ๘ (อังกฤษ: Rama VIII Bridge) เป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรเสาเดี่ยว ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ ๑๓ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และมูลนิธิชัยพัฒนาในปัจจุบัน) เขตบางพลัด บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ครบรอบ ๒๒ ปี "สะพานพระราม ๘" ตามพระราชดำริในหลวง พระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติ ร.๘ จุดเชื่อมต่อโครงการพระราชดำริของจตุรทิศ #วันนี้ในอดีต!!

              สะพานนี้เกิดจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้กรุงเทพมหานครก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มอีก ๑ แห่ง เพื่อบรรเทาการจราจรบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้ารองรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี และเป็นจุดเชื่อมต่อโครงการพระราชดำริตามแนวจตุรทิศ

              สะพานพระราม ๘ จะช่วยเชื่อมการเดินทางระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีให้สะดวกสบายขึ้น ซึ่งจะช่วยระบายรถบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าได้ถึง ๓๐% และบนสะพานกรุงธน อีก ๒๐% และยังสามารถลดมลพิษทางอากาศบริเวณในเมือง โดยเริ่มเปิดให้ใช้ตั้งแต่วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ เวลา ๗.๐๐ น.

               สะพานพระราม ๘ เป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรที่ยาวติดอันดับ ๕ ของโลก รองจากประเทศเยอรมนีซึ่งติดอันดับถึง ๓ สะพาน และประเทศเนปาล โดยนับจากความยาวช่วงของสะพาน ส่วนสะพานพระราม ๙ ซึ่งเป็นสะพานขึงตัวแรกแต่เป็นแบบสมมาตร เพราะมี ๒ เสา ถือว่าอยู่ในอันดับที่ ๑๘ ของโลก โดยนับความยาวช่วงของสะพานได้ ๔๕๐ เมตร

 

ครบรอบ ๒๒ ปี "สะพานพระราม ๘" ตามพระราชดำริในหลวง พระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติ ร.๘ จุดเชื่อมต่อโครงการพระราชดำริของจตุรทิศ #วันนี้ในอดีต!!

               ความโดดเด่นสวยงามที่เกิดขึ้น ผสมผสานไปด้วยศิลปะแบบไทย จากแนวคิดในการสร้างเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร กรุงเทพมหานครจึงได้อัญเชิญ "พระราชลัญจกร" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ มาเป็นต้นแบบในการออกแบบทางสถาปัตยกรรม

ครบรอบ ๒๒ ปี "สะพานพระราม ๘" ตามพระราชดำริในหลวง พระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติ ร.๘ จุดเชื่อมต่อโครงการพระราชดำริของจตุรทิศ #วันนี้ในอดีต!!

               นอกจากนี้สิ่งพิเศษของสะพานพระราม ๘ ที่สะพานอื่นในกรุงเทพมหานครยังไม่มีก็คือ ที่ปลายยอดเสาสูงของตัวสะพานจะมีจุดชมทิวทัศน์ ซึ่งมีโครงสร้างโลหะกรุกระจก ลักษณะคล้ายดอกบัว สูงจากพื้นดินถึง ๑๖๕ เมตร หรือสูงเท่าตึก ๖๐ ชั้น พื้นที่ ๓๕ ตารางเมตร จุคนได้ครั้งละเกือบ ๕๐ คน ซึ่งจะเปิดให้บริการกับประชาชนทั่วไปด้วย แต่การก่อสร้างส่วนนี้จะแล้วเสร็จภายหลังพร้อม ๆ กับลิฟต์ของคนพิการซึ่งอยู่หัวมุม ๒ ฝั่งแม่น้ำ เนื่องจากโครงสร้างเสาสูงเป็นแบบตัว Y คว่ำ การขึ้นลงจุดชมทิวทัศน์จึงต้องติดตั้งลิฟต์ทั้งในแนวเฉียงและแนวดิ่ง โดยเป็นแนวเฉียงจากพื้นดิน ๘๐ เมตรก่อน จากนั้นจึงเป็นแนวดิ่งอีก ๑๕๕ เมตร แต่บรรทุกได้เที่ยวละประมาณ ๕ คน ใช้เวลาขึ้น-ลง ๒-๓ นาที นอกจากนี้ยังมีลิฟต์ธรรมดาอยู่คนละด้านเพื่อใช้สำหรับเจ้าหน้าที่ในการดูแลและตรวจตราสะพาน

 

ครบรอบ ๒๒ ปี "สะพานพระราม ๘" ตามพระราชดำริในหลวง พระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติ ร.๘ จุดเชื่อมต่อโครงการพระราชดำริของจตุรทิศ #วันนี้ในอดีต!!

               สะพานพระราม 8 ปรากฏในด้านหลังของธนบัตร ๒๐ บาท แบบ ๑๕ ซึ่งอยู่เบื้องหลังพระบรมสาทิศลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘

 

 

 

 

ที่มาจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/สะพานพระราม_8