ดร.ปรัชญา จวก คณบดีมธ.เปรียบ "น้ำในหู" ยิ่งลักษณ์ เป็นความยุติธรรม คือ วิชาการวิปริต !!!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

ดร.ปรัชญา จวก คณบดีมธ.เปรียบ "น้ำในหู" ยิ่งลักษณ์ เป็นความยุติธรรม คือ วิชาการวิปริต !!!

             จากกรณีที่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลยในคดีโครงการรับจำนำข้าว ได้ยื่นเรื่องต่อศาลว่า จำเลยไม่สามารถเดินทางมาที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ โดยอ้างเหตุผลว่า ป่วยน้ำในหูไม่เท่ากัน แต่ศาลมองว่าจำเลยไม่มีใบรับรองแพทย์ และมีพฤติการณ์หลบหนี จึงให้ออกหมายจับและริบเงินประกัน ๓๐ ล้านบาท และเลื่อนอ่านคำพิพากษาเป็น ๒๗ กันยายน ๒๕๖๐ ซึ่งกรณีนี้กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงอยู่ในสังคม

            ล่าสุดนายอนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่เดินทางมาฟังคำพิพากษาของศาล

"..คำที่น.ส. ยิ่งลักษณ์ใช้ว่า น้ำในหูไม่เท่ากัน ในแง่หนึ่งตีความในเชิงสัญลักษณ์ได้ว่า ระบบยุติธรรมมันไม่เสมอ เพราะน.ส.ยิ่งลักษณ์เอง ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีอาการที่เป็นโรคหรือเป็นไข้อะไร.."

"...ข้อความที่คุณยิ่งลักษณ์ใช้อ้างอาจเป็นการสื่อสารในเชิงสัญลักษณ์ว่า ไม่สามารถที่จะมารับฟังคำพิพากษาได้ด้วยเหตุที่ว่า เห็นว่ากระบวนการนี้นั้นไม่เป็นธรรม..."

"...ส่วนกรณีของนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันว่าความไม่เป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรมที่น.ส.ยิ่งลักษณ์กำลังประสบ..."

ดร.ปรัชญา จวก คณบดีมธ.เปรียบ "น้ำในหู" ยิ่งลักษณ์ เป็นความยุติธรรม คือ วิชาการวิปริต !!!

          นอกจากนี้ ดร.เวทิน ชาติกุล ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีการให้สัมภาษณ์ของคณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (มธ.) ว่า

 "น้ำในหู"="ความยุติธรรม" : วิชาการวิปริต เมื่อ "คำตอแหล" กลายเป็น "การแสดงออกทางสัญลักษณ์"    

        จริงๆผมไม่ได้สนใจเนื้อหาอะไรที่นักวิชาการคนหนึ่งออกมาพูดตามที่เป็นข่าวนะครับที่ว่า "..คำที่น.ส. ยิ่งลักษณ์ใช้ว่า น้ำในหูไม่เท่ากัน ในแง่หนึ่งตีความในเชิงสัญลักษณ์ได้ว่า ระบบยุติธรรมมันไม่เสมอ เพราะน.ส.ยิ่งลักษณ์เอง ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีอาการที่เป็นโรคหรือเป็นไข้อะไร.."

           ถ้าเข้าใจว่าเป็น "การแสดงออกทางกิจกรรมการเมือง" ก็พอเข้าใจได้ เพราะเขาก็ออกมาแสดงกิจกรรมทำนองนี้บ่อยๆอยู่แล้วที่ผ่านมาหรือถ้าจะเป็นการโชว์โง่ มันก็เป็นเรื่องส่วนตัวของเขา อยากทำผมก็ไม่มีสิทธิไปห้าม แต่ที่คิดว่าสำคัญและไม่น่าจะปล่อยผ่านได้คือ #การตีความและบิดเบือนข้อเท็จจริง ชนิดที่ถ้าใครก็ตามที่ตระหนักตนว่าเป็นนักวิชาการหรือเป็นอาจารย์จะไม่พูดแบบนี้ต่อสาธารณะ

          เพราะนักวิชาการย่อมถูกคาดหวังว่าต้องให้ความรู้ ความเข้าใจกับคนทั่วไป ซึ่งถ้าคนทั่วไปที่ตามข่าวใครก็รู้ว่า การอ้างอาการป่วยของยิ่งลักษณ์คือ คำพูดอันเป็นเท็จของยิ่งลักษณ์ คือการ "โกหก" ต่อศาล จนนำมาซึ่งการออกหมายจับในที่สุด

           และข่าวต่อมาที่บอกว่าคุณยิ่งลักษณ์แอบหนีออกนอกประเทศไปตั้งแต่ก่อนจะถึงวันที่ศาลนัดแล้วนั้นยิ่งกลายเป็นการยืนยันว่าคำอ้างเรื่องน้ำในหูไม่เท่ากันคือการหลอกศาล หลอกฝ่ายที่สนับสนุนเธอ หลอกฝ่ายที่ด่าเธอ พูดง่ายๆคือ การโกหก ตอแหล หลอกทุกคน(ยกเว้นใครก็ตามที่พาหนี?หรือปล่อยให้หนี?) ไม่ใช่คำพูดเชิงสัญลักษณ์เหี้ยอะไรเลย ซึ่งเรื่องนี้ชาวบ้าน คนทั่วไปก็รู้ แต่นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัยเสือกไม่รู้

           ที่นี้ ถ้าคนระดับคณบดีมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของประเทศ นักวิชาการ-อาจารย์มหาวิทยาลัยผู้สนับสนุนประชาธิปไตย แกนนำเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหาร มาบอกต่อสาธารณะว่า คำตอแหล คือ การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์จนกลายเป็นข่าว มันก็ต้องถามแล้วละครับว่าเกิดอะไรขึ้นกับวงการนักวิชาการ?
เกิดอะไรขึ้นกับอาจารย์มหาวิทยาลัย? และจะมีอะไรเกิดขึ้นกับการเรียนการสอนที่หากมี #การบิดเบือนข้อเท็จจริง โดยทำให้ผู้เรียนเข้าใจว่าเป็น #การตีความทางวิชาการ และใช้เด็กให้แสดงออกมาโดยเอาเสรีภาพทางวิชาการมาอ้าง

          จริงๆแล้วมีวิธีแสดงออกทางวิชาการเยอะแยะเรื่องที่คุณยิ่งลักษณ์หนี จะต้องคำถามกับผู้มีอำนาจ? จะมองถึงอนาคตของพรรคเพื่อไทย? จะกระตุ้นให้มวลชนชาวบ้านเป็นตัวของตัวเองทางการเมืองมากขึ้น? สารพัด สารพัด สารพัด สาระของเรื่องนี้มันใหญ่โตกว่าที่มีใครคนหนึ่งออกมาพูดอะไรแล้วน่าหัวเราะเยาะ ถ้ามันเป็นสัญญานบ่งชี้ว่ามี "ความวิปริต" ที่ยากรักษาแฝงฝังอยู่ในหมู่นักวิชาการ?

 

 

โดย ดร.เวทิน ชาติกุล