ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมายได้ที่ https://www.facebook.com/partiharn99/

พระราชพิธีตรียัมปวาย พิธีโล้ชิงช้าที่มีมาแต่โบราณ ถือเป็นพิธีกรรมที่เก่าแก่และคู่แผ่นดินไทยมาช้านาน สำหรับในปีนี้จะมีขึ้นในวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๐ - ๗ มกราคม ๒๕๖๑ ซึ่งก็คือว่าเป็นพิธีที่สำคัญพิธีหนึ่ง และหน้าที่สำคัญในพิธีนี้นั่นก็คือ "พระยายืนชิงช้า" คือผู้ที่มีบทบาทสำคัญผู้หนึ่งในพระราชพิธีตรียัมปวาย - ตรีปวาย เนื่องจากพระยายืนชิงช้าคือผู้แทนของพระมหากษัตริย์ และผู้แทนของพระอิศวร ที่เสด็จลงมาทอดพระเนตรการโล้ชิงช้าในพระราชพิธีตรียัมปวาย - ตรีปวาย ตามตำนานการทดสอบความมั่นคงแข็งแรงของโลก โดยพราหมณ์จะเป็นผู้ผูกดวงชะตา และทำพิธีอัญเชิญพระอิศวรให้สิงสถิตพระยายืนชิงช้า ก่อนจะแห่แหนไปยังโรงพิธีใกล้เทวสถานโบสถ์พราหมณ์เพื่อให้เป็นมงคลแก่บ้านเมือง

ไม่ใช่ว่าใครก็ได้ เฉพาะผู้ถูกเลือกเท่านั้น !!! เปิดประวัติลับ "พระยาประดิพัทธภูบาล" พระยายืนชิงช้าคนสุดท้ายแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ !!! #มีคลิป

สำหรับพระยายืนชิงช้าคนสุดท้ายแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก็คือ มหาอำมาตย์ตรีพระยาประดิพัทธภูบาล (คอยู่เหล ณ ระนอง) ขณะเป็นพระยายืนชิงช้าในพระราชพิธีตรียัมปวายในปีมะแม พ.ศ.๒๔๗๔ (ตรงกับรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว) ถือเป็นพระยายืนชิงช้าคนสุดท้ายของกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านเป็นบุตรของพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซูเจียง ณ ระนอง) ท่านเกิดที่เกาะปีนังและจบการศึกษาเนติบัณฑิตจากประเทศอังกฤษ ได้เข้ามารับราชการกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ นำความเจริญต่างๆ มาสู่ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ได้ถวายงานรับใช้เป็นกงสุลสิงคโปร์ มลายู และปีนัง เป็นสายตระกูล ณ ระนอง ที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างยิ่ง

การแต่งตั้งพระยายืนชิงช้าในสมัยนั้นมักแต่งตั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาพรเทพซึ่งอยู่ในตำแหน่งเกษตราธิบดีแต่เพียงผู้เดียว ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาจนถึงรัชกาลที่ ๔ จึงทรงมีพระราชดำริเปลี่ยนแปลงว่า ถ้าเจ้าพระยาพลเทพจะต้องแห่ทุกปีอาจทำให้ขบวนแห่ดูจืดชืด ไม่ครึกครื้นเท่าที่ควร จึงโปรดฯให้บรรดาข้าราชการผู้ใหญ่ที่ได้รับพระราชทานพานทอง (พระยาพานทอง) ได้มีโอกาสแห่แหนเป็นเกียรติยศกันคนละครั้ง หมุนเวียนไปทุกปี และได้ยึดถือเป็นประเพณีสืบมา 

ไม่ใช่ว่าใครก็ได้ เฉพาะผู้ถูกเลือกเท่านั้น !!! เปิดประวัติลับ "พระยาประดิพัทธภูบาล" พระยายืนชิงช้าคนสุดท้ายแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ !!! #มีคลิป

ส่วนการแต่งกายของพระยายืนชิงช้านั้น กำหนดให้นุ่งผ้าเยียระบับ (เป็นผ้าทอด้วยไหมกับทองแล่ง) วิธีนุ่งนั้นเรียกว่าบ่าวขุน คือมีชายผ้าห้อยอยู่ตรงกลางเบื้องหน้า สวมเสื้อเยียระบับ คาดเข็มขัด สวมเสื้อครุยและลมพอกเกี้ยว (หมวกยอดแหลมคล้ายชฎา) สำหรับพิธีการสำคัญของพิธีตรียัมปวายคือ "การโล้ชิงช้า" ซึ่งผู้ที่ขึ้นไปทำหน้าที่โล้ชิงช้านั้นเรียกว่า "นาลิวัน" โดยจะเลือกจากพราหมณ์หนุ่มที่มีอายุระหว่าง ๑๘-๒๐ ปี และมีร่างกายแข็งแรง ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี สำหรับแผ่นไม้กระดานนั้นจะขึงโยงลงมาจากคานบนของเสาด้วยเชือก ๘ เส้น ตัวเชือกทำด้วยหนังวัวเผือก โดยถือเคล็ดว่าวัวเป็นพาหนะของพระอิศวร ที่แผ่นกระดานมีรูสำหรับร้อยเชือก ๘ รู มีช่วงระยะห่างเท่าๆ กัน เชือกทั้ง ๘ เส้นนี้ นอกจากจะใช้ผูกติดกระดานแล้ว ยังช่วยยึดเหนี่ยวในขณะโยกตัวมิให้ร่วงหล่น ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้ การโล้ชิงช้าจะแบ่งเป็น ๓ ชุด หรือเรียกว่า ๓ กระดาน คือ กระดานเอก มีเงินรางวัลสูงสุดถึง ๑๒ บาท กระดานโท ๑๐ บาท และกระดานตรี ๘ บาท ในแต่ละกระดานจะมี "นาลิวัน" ขึ้นไปโล้โลดโผนถึงครั้งละ ๔ คน รวม ๓ ชุด ๑๒ คน ส่วนเงินรางวัลจะบรรจุในถุงซึ่งแขวนอยู่บนหัวเสาไม้ที่ปักไว้ข้างเสาชิงช้า ก่อนที่ “นาลิวัน” ทั้ง ๔ คน จะขึ้นไปโล้ชิงช้า ทุกคนจะต้องนั่งลงกราบถวายบังคมพระเจ้าอยู่หัว ๓ ลา แล้วจึงสวมหัวนาคโดยสมมติว่าเป็นพญานาค เมื่อขึ้นบนแผ่นกระดานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พวก "นาลิวัน" ที่อยู่เบื้องล่างจะช่วยกันดึงเชือกให้แผ่นกระดานแกว่งตัวไปมาทีละน้อยจนแรงขึ้นสูงขึ้นทุกขณะ ส่วน "นาลิวัน" ที่ยืนอยู่บนกระดานเริ่มกระแทกน้ำหนักส่งจังหวะให้เกิดแรงเหวี่ยง จนเมื่อกระดานโยกตัวสูงขึ้นใกล้กับยอดเสาไม้ไผ่ที่ปักล่อเงินรางวัล แต่มีกฎเกณฑ์ว่าห้ามใช้มือเอื้อมหยิบ ต้องใช้ปากคาบอย่างเดียว

ไม่ใช่ว่าใครก็ได้ เฉพาะผู้ถูกเลือกเท่านั้น !!! เปิดประวัติลับ "พระยาประดิพัทธภูบาล" พระยายืนชิงช้าคนสุดท้ายแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ !!! #มีคลิป

ดังนั้นคนที่ยืนอยู่หัวกระดานจะต้องยื่นศีรษะคอยคาบถุงเงินออกมา ส่วนคนหลังจะบังคับกระดานให้โยนตัวตรงเป้า ในช่วงนี้จะเป็นนาทีระทึกใจ เพราะผู้ชมที่อยู่เบื้องล่างจะส่งเสียช่วยลุ้นช่วยเชียร์กันอยางกึกก้อง เมื่อคาบถุงเงินได้สำเร็จในแต่ละกระดานก็จะมีเสียงโห่ร้องแสดงอาการดีอกดีใจดังไปทั่วบริเวณ หลังจากโล้ชิงช้าจนครบ ๓ กระดานแล้ว "พวกนาลิวัน" ทั้ง ๔ คน ก็จะไต่ลงมาข้างล่าง เพื่อกราบถวายบังคมพระเจ้าอยู่หัวอีกครั้งหนึ่งตามประเพณี 

พระราชพิธีตรียัมปวาย "โล้ชิงช้า" มาสิ้นสุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗) เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๔ โดยมี พระยาประดิพัทธภูบาล (คอยู่เหล ณ ระนอง) เป็นพระยายืนชิงช้าคนสุดท้ายแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เหตุที่รัชกาลที่ ๗ ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ยกเลิกพระราชประเพณีนี้เป็นเพราะในขณะนั้นสภาพบ้านเมืองประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และการจัดพิธีนี้ในแต่ละครั้งก็ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ในขณะนั้นประเทศจำเป็นต้องประหยัดงบประมาณแผ่นดิน จึงทรงเห็นสมควรให้ยกเลิกพระราชพิธีตรียัมปวาย "โล้ชิงช้า" ตั้งแต่นั้นตราบจนปัจจุบัน

สำหรับในปีนี้ พิธีตรียัมปวายได้ขึ้นในวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๐ - ๗ มกราคม ๒๕๖๑ ซึ่งเมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๖๑ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะพราหมณ์ประกอบพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย เฝ้าทูลละอองพระบาท ถวายสิ่งของเครื่องพิธีด้วย 

ไม่ใช่ว่าใครก็ได้ เฉพาะผู้ถูกเลือกเท่านั้น !!! เปิดประวัติลับ "พระยาประดิพัทธภูบาล" พระยายืนชิงช้าคนสุดท้ายแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ !!! #มีคลิป

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.srichinda.com/index.php?mo=3&art=181442