วันมหามงคลชนชาวไทย "วันฉัตรมงคล" พระราชพิธีราชาภิเษก ๒ รัชกาล ในวันเดียวกัน ย้อนประวัติและความสำคัญ

ประกาศสำนักพระราชวัง วันที่ 1 ม.ค. 2562 เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยรางกูร ในวันที่ 4 พฤษภาคม พุทธศักราช 2562

นับเป็นข่าวดีรับต้นปีที่ทำให้พสิกรไทยปลื้มปิติกันถ้วนหน้า จากกรณี ประกาศสำนักพระราชวัง วันที่ 1 ม.ค. 2562 เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ระบุความว่า เลขาธิการพระราชวังรับพระราชโองการเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า โดยที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยรางกูร ได้เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย ตามคำกราบบังคัมทูลเชิญของประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ประธานสภา กราบบังคมทูลในนามของปวงชนชาวไทยนั้น

ประกาศสำนักพระราชวัง

 

ทรงพระราชดำริว่า เป็นโอกาสอันควรที่จะได้ประกอบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามพระราชประเพณี เพื่อความเป็นสวัสดิมงคลของประเทศชาติและราชอาณาจักร ให้เป็นที่ชื่นชมยินดีของประชาชนผู้มีความหวังตั้งใจอยู่ทั่วกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้น ดังนี้

 

ในหลวง ร.10

วันที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และเสด็จออกมหาสมาคม พระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล จากนั้น พระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร

วันที่ ๕ สภาคมพุทธศักราช ๒๕๖๒ พระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามมาภิไธยและสถาปนาฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศานุวงค์ จากนั้นเสด็จเลียบพระนคร โดยกระบวนพยุหยาตรา ทางสถลมารค

วันที่ ๖ พฤษภาคมพุทธศักราช ๒๕๖๒ เสด็จออก ณ สีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท พสกนิกรเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล จากนั้นเสด็จออก ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท คณะฑูตานุทูต และกงสุล ต่างประเทศเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล

ส่วนการเสด็จเรียบร้อยนครโดยขบวนพยุหะตราทางชลมารค ทรงพระกรุณาโปรดเก้าโปรดกระหม่อมให้มีขึ้นในช่วงการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชบุตรสนถวายผ้าพระกฐินปลายปีพุทธศักราช ๒๕๖๒  จึงประกาศมาให้ทราบทั่วกัน 

ต่อกรณีดังกล่าว จะเห็นได้ว่าตามหมายกำหนดนั้นเป็นวันเดียวกับ "วันฉัตรมงคล" ที่ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อปวงชนยาวไทย เพราะมีความหมายตามพจนานุกรมว่าพระราชพิธี ฉลองพระเศวตฉัตร ทำในวันซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษก โดยในวันนี้จะเป็นการรำลึกถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี และราชอาณาจักรไทย ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

 

ในหลวง ร.9

โดยหลังจากที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ต่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2489 และดำรงพระอิสริยยศเป็น "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช" เนื่องจากยังมิได้ทรงผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระองค์ทรงพระราชดำเนินไปทรงศึกษาอยู่ ณ ทวีปยุโรป จนกระทั่งทรงบรรลุนิติภาวะ จึงได้เสด็จนิวัตประเทศไทย ถัดนั้นรัฐบาลไทยและพสกนิกร จึงได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม จัดงานพระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตรหรือรัฐพิธีฉัตรมงคล หรืออาจเรียกว่าพระราชพิธีฉัตรมงคล ถวายเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2493

ทั้งนี้พระองค์ได้มีพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้นว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" นับแต่นั้นมาประเทศไทยจึงถือเอาวันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวัน "ฉัตรมงคล"

ในอดีตนั้นระราชพิธีฉัตรมงคลถือเป็นพิธีของเจ้าพนักงานในพระราชฐาน ที่มีหน้าที่รักษาเครื่องราชูปโภคและพระทวารประตูวัง ได้จัดการสมโภชสังเวยเครื่องราชูปโภคที่ตนรักษาทุกปีในเดือนหก และเป็นงานส่วนตัว ไม่ถือเป็นงานหลวง จนสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ ได้ทรงกระทำพิธีฉัตรมงคลขึ้นเป็นครั้งแรก ในวันบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2393 ด้วยมีพระราชดำริว่า

"วันบรมราชาภิเษกเป็นมหามงคลสมัยที่ควรแก่การเฉลิมฉลองในประเทศที่มีพระเจ้า แผ่นดิน จึงถือให้วันนั้นเป็นวันนักขัตฤกษ์มงคลกาล และควรที่จะมีการสมโภชพระมหาเศวตฉัตรให้เป็นสวัสดิมงคลแก่ราชสมบัติ แต่เนื่องจากเป็นธรรมเนียมใหม่ ยากต่อการเข้าใจ อีกทั้งเผอิญที่วันบรมราชาภิเษกไปตรงกับวันสมโภชเครื่องราชูปโภคที่มีแต่ เดิม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงอธิบายว่า วันฉัตรมงคลเป็นวันสมโภชเครื่องราชูปโภค จึงไม่มีใครติดใจสงสัย"

พระราชพิธีราชาภิเษก

จวบจนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 5 วันบรมราชาภิเษกตรงกับเดือน 12 จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉัตรมงคลในเดือน 12 แต่ไม่ได้รับการยินยอม พระองค์จึงทรงแก้ไขด้วยการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยตราจุลจอมเกล้าสำหรับตระกูลขึ้น ให้มีพระราชทานตรานี้ตรงกับวันคล้ายบรมราชาภิเษก จึงได้รับการยินยอมจากผู้หลักผู้ใหญ่ให้เลื่อนงานฉัตรมงคลมาตรงกับวันบรมราชาภิเษก แต่ยังให้รักษาประเพณีสมโภชเครื่องราชูปโภคอยู่ตามเดิม รูปแบบงานวันฉัตรมงคลจึงเป็นเช่นนี้จนถึงปัจจุบัน

และในโอกาสนี้วันที่ 5 พฤษภาคม กำลังจะเวียนมาบรรจบอันจะเป็นวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของในหลวง รัชกาลที่ 10 และเป็น "วันฉัตรมงคล" อีกด้วย จึงเป็นหน้าที่ของพสกนิกรชาวไทยที่ควรน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ที่ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันมีคุณอนันต์อย่างหาที่สุดมิได้

 

ในหลวง ร.9 กับ ในหลวง ร.10

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดการ "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก" เปิดที่มา "น้ำอภิเษก" ใช้น้ำจากสถานที่ต่างกันกว่า 18 แห่ง
- นายกรัฐมนตรี เปิดหมายกำหนดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พร้อมประกาศวันหยุด