ราชกิจจา ประกาศเผยแพร่ สถาปนาสมเด็จพระราชินี

โดยที่ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส กับ พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยาถูกต้องตามกฎหมายและราชประเพณีโดยสมบูรณ์ทุกประการแล้วจึงมีพระราชโองการให้สถาปนา พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา พระอัครมเหสี เป็น สมเด็จพระราชินีสุทิดา ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป

วันนี้ (01/05/2562) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้ออกมาประกาศระบุว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า โดยที่ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส กับ พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยาถูกต้องตามกฎหมาย

 

และราชประเพณีโดยสมบูรณ์ทุกประการแล้วจึงมีพระราชโองการให้สถาปนา พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา พระอัครมเหสี เป็น สมเด็จพระราชินีสุทิดา ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป

ประกาศณ วันที่ ๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน 

 

พลเอกหญิง ท่านผู้หญิงสุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา

 

ราชกิจจา ประกาศเผยแพร่ สถาปนาสมเด็จพระราชินี

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง วันมหามงคลชนชาวไทย "วันฉัตรมงคล" พระราชพิธีราชาภิเษก ๒ รัชกาล ในวันเดียวกัน ย้อนประวัติและความสำคัญ
 

สำหรับ พลเอกหญิง ท่านผู้หญิงสุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา เกิด 3 มิถุนายน 2519 เป็นนายทหารบกหญิงชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นรองสมุหราชองครักษ์ กรมราชองครักษ์ (อัตราเงินเดือน น.๙) และยังได้รับพระกรุณาให้เป็นราชองค์รักษ์เวรในพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ ก่อนหน้านี้เธอเคยเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินมาก่อน

วันที่ 7 ธันวาคม 2557 ท่านผู้หญิงสุทิดาโดยเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ขณะที่ยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารในพิธีพระราชทานธงชัยเฉลิมพล และวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559 ได้ตามเสด็จในพิธีสังเวยพระป้ายในเทศกาลตรุษจีน ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน และปรากฏตัวอีกครั้งในวันประสูติพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติในปีเดียวกัน แต่เป็นที่น่าสังเกตเพราะในเนื้อข่าวมิได้ระบุชื่อของท่านผู้หญิงไว้แต่อย่างใด

ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2559 ทางกองพระราชพิธี สำนักพระราชวังได้เผยแพร่รายงานการเสด็จพระราชดำเนินที่ท่านผู้หญิงได้ตามเสด็จพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติไปทอดพระเนตรพระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยนามสกุลของท่านผู้หญิงนั้นได้มีการเพิ่มเติมเป็น วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีหมายกำหนดการที่ระบุว่าท่านผู้หญิงได้ใช้ชื่อสกุลดังกล่าวมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีเดียวกัน

วันที่ 14 ตุลาคม 2559 ท่านผู้หญิงโดยเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ขณะที่ยังทรงเป็นสยามมกุฎราชกุมาร พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ในพระราชพิธีถวายน้ำสรงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

การรับราชการ
10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เป็น นายทหารปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด (อัตรา พลตรี)
9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็น ผู้บังคับการโรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด (อัตรา พลตรี)
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็น เสนาธิการหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลตรี)
26 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็น นายทหารปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลโท)
1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เป็นรองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอก)
6 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เป็นรองสมุหราชองครักษ์ กรมราชองครักษ์ (อัตราเงินเดือน น.๙)

ลำดับยศ
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ร้อยตรีหญิง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ร้อยโทหญิง
1 เมษายน พ.ศ. 2554 ร้อยเอกหญิง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 พันตรีหญิง
1 เมษายน พ.ศ. 2555 พันโทหญิง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 พันเอกหญิง
10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 พลตรีหญิง
26 สิงหาคม พ.ศ. 2559 พลโทหญิง
1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 พลเอกหญิง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 3 ตริตราภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
พ.ศ. 2557 -เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
พ.ศ. 2559 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)
พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าฝ่ายใน (ป.จ.)