ครั้งเมื่อ ร.9 ทรง ให้ชาวนายืมเงิน

เรื่องรับฎีกานี้ถือเป็นพระราชประสงค์ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งก่อนสวรรคตได้รับสั่งกับขุนนางผู้ใหญ่ว่า ให้ทูลผู้ที่จะมาเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อไปให้เป็นธุระรับฎีการาษฎร เพราะบางครั้งราษฎรเองก็เดือดร้อน ถูกกลั่นแกล้ง ไม่รู้จะพึ่งใครได้นอกจากพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งในหลวงเองก็ทรงรับสนองพระบรมราโชบายเรื่องนี้เรื่อยมา

เรื่องรับฎีกานี้ถือเป็นพระราชประสงค์ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งก่อนสวรรคตได้รับสั่งกับขุนนางผู้ใหญ่ว่า ให้ทูลผู้ที่จะมาเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อไปให้เป็นธุระรับฎีการาษฎร เพราะบางครั้งราษฎรเองก็เดือดร้อน ถูกกลั่นแกล้ง ไม่รู้จะพึ่งใครได้นอกจากพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งในหลวงเองก็ทรงรับสนองพระบรมราโชบายเรื่องนี้เรื่อยมา

 

ครั้งเมื่อ ร.9 ทรง ให้ชาวนายืมเงิน

 

ประชาชนก็มีวิธีการส่งฎีกาถึงในหลวงต่างกันออกไป บางคนจ่าหน้าซองถึงในหลวงแล้วส่งมายังสำนักราชเลขาธิการ บางคนยื่นให้กับพระหัตถ์โดยตรง หรือฝากข้าราชบริพารในช่วงที่พระองค์เสด็จฯ ไปเยี่ยมเยียนราษฎร บรรดาข้าราชบริพารจะคอยทำหน้าที่คัดกรองฎีกาก่อนจะถึงพระหัตถ์ เรื่องที่ชาวบ้านขอความช่วยเหลือมีทั้งเรื่องหนี้สิน ความเจ็บป่วย ขอทุนเรียนต่อ น้ำไม่พอ ฝนแล้ง ขาดไฟฟ้า ฯลฯ ถ้าเป็นเรื่องสำคัญมากๆ เช่น ฎีกาจากนักโทษประหาร จะทรงอ่านอย่างละเอียด ด้วยทรงเห็นว่าเกี่ยวกับชีวิตคน

 

ครั้งเมื่อ ร.9 ทรง ให้ชาวนายืมเงิน

 

หลังจากที่ทรงรับฎีกามาแล้ว จะทรงมอบหมายให้คนไปสำรวจว่าเรื่องที่ส่งมาจริงหรือไม่ โดยสิ่งสำคัญที่เจ้าหน้าที่ต้องเตรียมก็คือ จดบ้านเลขที่ให้เรียบร้อยเพื่อจะตามรายละเอียดได้ จากนั้นก็ลงไปพูดถึงปัญหาและหาทางแก้ที่เหมาะสม ครั้งหนึ่ง มีชาวนาจาก อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี นำที่ดินไปจำนองแล้วขาดส่งดอกเบี้ย ที่ดินกำลังจะถูกยึด จึงถวายฎีกาเข้ามาที่สำนักราชเลขาธิการ เมื่อในหลวงทรงทราบจึงรับสั่งให้เจ้าหน้าที่ไปสอบถาม ได้ความว่าที่ดินนี้มีไม่กี่ไร่แต่เป็นสมบัติชิ้นเดียวของชาวนาคนนั้น หากถูกยึดไปก็หมดทางทำมาหากิน เมื่อเจ้าหน้าที่กลับมารายงาน ในหลวงจึงพระราชทานเงินก้อนหนึ่งให้ไปไถ่ที่คืน

 

ครั้งเมื่อ ร.9 ทรง ให้ชาวนายืมเงิน

 

แต่ในหลวงไม่ได้ทรงให้เงินเปล่าๆ ทรงต้องการสอนให้ชาวบ้านรู้จักช่วยตัวเองด้วย จึงโปรดฯ ให้นำข้าวที่ชาวนาคนนั้นเกี่ยวได้จากที่ดินของตนมาเป็นดอกเบี้ย และข้าวเหล่านี้ก็นำมาสีที่โรงสีในสวนจิตรลดานั่นเอง ชาวนาก็ส่งดอกเบี้ยเป็นข้าวอย่างสม่ำเสมอจนครบปี พอขึ้นปีที่ 2 ในหลวงจึงรับสั่งว่า ชาวนารายนี้ซื่อตรงถึงเวลาส่งข้าวเข้ามาตามกำหนด และน้ำหนักเดิมด้วย ดังนั้น หนี้ที่เหลืออยู่ก็ยกให้เลย

 

ครั้งเมื่อ ร.9 ทรง ให้ชาวนายืมเงิน

 

อ้างอิงข้อมูลดีๆจาก - เฟสบุ๊คเพจ สานต่อที่พ่อทำ