พระพักตร์ ที่แท้จริงของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระบรมราชานุสาวรีย์เยอะที่สุด และยังมีเรื่องเล่าตำนานของปาฏิหาริย์บารมีมากมาย แม้กระทั่ง พระพักตร์ของพระองค์ก็ยังเป็นปริศนามาจนถึงทุกวันนี้

"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระบรมราชานุสาวรีย์เยอะที่สุด และยังมีเรื่องเล่าตำนานของปาฏิหาริย์บารมีมากมาย แม้กระทั่ง พระพักตร์ของพระองค์ก็ยังเป็นปริศนามาจนถึงทุกวันนี้

 

พระพักตร์ ที่แท้จริงของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

 

โดยเรื่องราวปริศนาของ "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"นั้น ยังคงเป็นปมปริศนาที่รอการพิสูจน์อยู่จนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเชื้อสาย และรวมไปถึงพระพักตร์ของพระองค์ว่าแท้จริงแล้วนั้น เป็นแบบไหนกันแน่ "สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี" หรือ "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" มีพระนามเดิมว่า "สิน" เป็นคนไทยเชื้อสายจีน เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรธนบุรี และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของราชอาณาจักรนั้น สำหรับพระราชประวัติของพระองค์นั้นเต็มไปด้วยเงื่อนงำและปริศนามากมาย แม้กระทั่งพระพักตร์ของพระองค์ ที่มีการถ่ายทอดออกมาอย่างมากมาย โดยแท้จริงแล้วเป็นแบบไหน ก็ยังคงเป็นปริศนามาถึงทุกวันนี้

 

พระพักตร์ ที่แท้จริงของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

 

โดยทางเพจ "กลุ่มผู้สะสมบูชาเหรียญพระเจ้าตากสิน" ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีพระพักตร์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยระบุข้อความว่า

 

พระพักตร์ ที่แท้จริงของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

 

"พระพักตร์ที่แท้จริงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระองค์ทรงมีคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อปวงชนชาวไทยโดยเฉพาะบทบาทในการกอบกู้เอกราชของชาติไทย การชำระพระราชพงศาวดารตามเหตุผลทางการเมืองในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นเหตุให้พระราชประวัติของพระองค์เต็มไปด้วยเงื่อนงำและปมปริศนา เริ่มตั้งแต่ชาติกำเนิดที่ยังสรุปไม่ได้ว่าพระองค์ท่านเป็นลูกใคร ตามด้วยชีวิตในวัยเด็กว่าสมัยเมื่อเป็นมหาดเล็กนั้นท่านไว้ผมเปียจริงหรือ และสุดท้ายคือกรณีสวรรคตที่ทุกๆคนค้นหาคำตอบ และที่คนไทยทุกคนอยากรู้เป็นอันดับต้นๆนั้นคือ "พระพักตร์" ที่แท้จริงของพระองค์ว่าเป็นอย่างไรกันแน่ ด้วยออกมาให้เห็นในปัจจุบันนั้นมีไม่น้อยกว่า ๕ แบบจนหาข้อยุติไม่ได้ ด้วยต่างฝ่ายต่างหาเหตุผลมาสนับสนุนให้ฝ่ายตน"

 

พระพักตร์ ที่แท้จริงของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

๑.ภาพจากวัดลุ่ม 

๒.ภาพจากอิตาลี 

๓.ภาพจากวัดเชิงท่า 

๔.ภาพจากบางแก้ว 

๕.ภาพจากวงเวียนใหญ่

 

ภาพจากวัดลุ่มมหาชัยชุมพล

           จากการค้นคว้าโดยละเอียดถี่ถ้วนและยาวนานทำให้ผู้เขียนได้ข้อสรุปโดยไม่ต้องสงสัยเลยว่า “พระพักตร์” ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้น แตกต่างจากนี้ไปไม่ได้อีกแล้ว โดยเริ่มในปี พ.ศ.๒๕๒๘ ผู้เขียนได้บวชเรียนที่วัดลุ่มมหาชัยชุมพลจังหวัดระยองที่มีศาลสักการะพระองค์ตั้งอยู่ โดยนับเป็นศาลสักการะแห่งแรกในประเทศไทยและมีพระบรมสาทิสลักษณ์ ที่วาดไว้เป็นต้นแบบเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗ ประดิษฐานไว้ให้ผู้คนเคารพบูชาผู้เขียนพินิจพิจารณาพระบรมสาทิสลักษณ์นี้อย่างละเอียดถี่ถ้วนอยู่หลายวัน กลับไม่เกิดศรัทธาสูงสุดเมื่ออยู่กับพระบรมสาทิศลักษณ์หรือภาพนั้น ด้วยเป็นภาพที่ไม่น่าเกรงขามและขาดซึ่งความสง่างามตามที่ "นักรบผู้ยิ่งใหญ่" จำเป็นต้องมี ผิดกันไกลในความรู้สึกเมื่อขณะพูดถึงพระมหาวีรกรรม โดยไม่จำเป็นต้องมีภาพนั้นเป็นองค์ประกอบ พวกเราที่ได้ยินได้ฟังจะขนแขนลุกตั้งตลอดเวลา ผู้เขียนได้เก็บความรู้สึกนี้ไว้ในใจจนได้โอกาสจึงสอบถามเอาจากเจ้าคุณพระวินัยการกวีพระอุปัชฌาย์ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น ได้ความจริงว่าเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗ คุณยายทองปาน ภู่สุวรรณ เจ็บป่วยกระเสาะกระแสะอยู่ตลอดเวลา

 

 

พระพักตร์ ที่แท้จริงของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

 

ต่อมาวันหนึ่งได้ฝันไปว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาบอกว่าพระองค์ไม่มีที่ประทับให้คุณยายเป็นธุระให้ด้วย คุณยายทองปานฯจึงได้มาปรึกษาพระอธิการผลิท่านเจ้าอาวาสในขณะนั้นซึ่งเป็นพระอาจารย์ของท่านเจ้าคุณพระวินัยการกวีอาจารย์ของผู้เขียนอีกต่อหนึ่ง ท่านอธิการผลิเจ้าอาวาสจึงแนะนำให้คุณยายทองปานฯสร้างศาลาที่ประทับถวายแด่พระองค์เพื่อให้ประชาชนได้สักการะบูชาและเป็นการสเดาะเคราะห์ให้คุณยายทองปานอีกทางหนึ่งด้วย คุณยายฯ จึงร่วมกับชาวระยองสร้างศาลเป็นไม้ถวายแด่พระองค์ข้างต้นสะดือที่พระองค์ทรงผูกช้างและชอบเสด็จมาประทับในอดีต เมื่อครั้งอยู่ที่เมืองระยองพร้อมทั้งหล่อพระบรมรูปทองเหลืองประทับยืนสูง ๗๐ซม. ไว้เป็นเครื่องสักการะ โดยก่อนทำการหล่อพระบรมรูปนั้นได้ให้จิตกรวาดพระบรมสาทิสลักษณ์ต้นแบบขึ้นมาก่อนโดยจิตกรจินตนาการตามความฝันของคุณยายทองปานฯมิได้อ้างอิงข้อมูลใดๆ ฉะนั้นพระบรมสาทิสลักษณ์ที่วัดลุ่มนี้จึงมิใช่พระบรมสาทิสลักษณ์ที่แท้จริงของพระองค์(ศาลนี้ต่อมาเมื่อพ.ศ.๒๕๐๓ได้มีการปรับปรุงจากไม้เป็นก่ออิฐฉาบปูนและหล่อพระบรมรูปยืนเท่าคนจริงไว้สักการะส่วนพระบรมรูปเดิมเก็บรักษาไว้ในโบถส์ ศาลปัจจุบันนี้นับเป็นศาลที่๓) ถึงตรงนี้ก็คงไม่สามารถสรุปได้ว่า'พระพักตร์'ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นอย่างใดกันแน่

ภาพจากอิตาลี

เป็นสานุศิษย์ของหลวงปู่โง่นเป็นผู้นำมาเผยแพร่โดยอ้างว่า ศิลปินชาวอิตาลีมาวาดไว้ในรัชสมัยของพระองค์ และมีผู้ไปถ่ายได้มาจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอิตาลี (ปัจจุบันไม่พบแล้ว-ผู้เขียน)

 

พระพักตร์ ที่แท้จริงของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

 

ภาพจากวัดเชิงท่า

ซึ่งเป็นวัดที่พระองค์บวชในสมัยอยุธยาข้อมูลอ้างว่ามี "ศิลปิน" มาวาดไว้เมื่อครั้งถวายพระบรมศพ "พระเจ้าเอกทัศน์" เป็นรูปที่ปรากฎได้ไม่นานมานี้เพราะผู้เขียนได้เคยไปถวายโคมที่พระกุฎิของพระองค์ที่วัดแห่งนี้ก่อนปีพ.ศ.๒๕๕๐เล็กน้อย ขณะนั้นพระสงฆ์ที่เฝ้ากุฎิเป็นพระสงฆ์ที่มีพรรษาไม่สูงนักแต่ก็ค้นคว้าเรื่อง'พระพักตร์'ของพระองค์ท่านอยู่เช่นกัน

 

พระพักตร์ ที่แท้จริงของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

 

สำหรับงานวาดรูปบนผืนผ้าใบในเมืองไทยนั้นผู้เขียนได้ พยายามสืบค้นภาพวาดบนผืนผ้าใบของพระมหากษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์จักรีตั้งแต่สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ สืบย้อนขึ้นไปจนถึงสมัยธนบุรีก็ไม่เคยปรากฏว่ามีศิลปินต่างชาติเข้ามารับจ้างวาดรูปหรือวาดรูปขายในเมืองไทยแต่อย่างใดทั้งสื้น จะมีก็แต่รูปวาดของประธานาธิบดียอร์ดวอชิงตัน ประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกา ที่ราชทูตสหรัฐนำมาถวายให้พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์ละ๑ภาพซึ่งยังพบในส่วนของพระปิ่นเกล้าประดับอยู่ที่พิพิธพันสถานแห่งชาติจนถึงปัจจุบัน

 

ภาพจากบางแก้ว

 ซึ่งน่าจะเก่าแก่ที่สุดผู้เขียนเคยได้เห็นรูปนี้มาก่อนตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๒๕๓๐ ตอนนั้นทรงเครื่องทรงฮ่องเต้ ต่อมาศิลปินได้ดัดแปลงให้ทรงเครื่องทรงพระมหากษัตริย์ตามที่เห็นในปัจจุบัน โดยคง "พระพักตร์" ไว้แบบเดิม

 

พระพักตร์ ที่แท้จริงของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

 

ซึ่งจะคล้ายกับภาพที่ ๕ คือ ภาพที่๕ ภาพจากพระพักตร์ต้นแบบพระบรมราชานุสาวรีย์วงเวียนใหญ่ เป็นผลงานของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่ได้ค้นคว้าและปั้นเป็นต้นแบบไว้เพื่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์วงเวียนใหญ่ มีศิลปินไทยได้วาดไว้และนสพ.เดลินิวส์นำมาลงเต็มหน้าเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๓๕ ซึ่งเมื่อพิจารณาภาพทั้งหมดแล้วหากตัดภาพจากวัดลุ่มฯ ออกไปจะมีแต่ภาพจากอิตาลีเท่านั้นที่มีพระพักตร์แตกต่างออกไปที่เหลืออีก ๓ ภาพนั้นใกล้เคียงกัน

 

พระพักตร์ ที่แท้จริงของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจ กลุ่มผู้สะสมบูชาเหรียญพระเจ้าตากสิน