28ปี “เจ้ากระเบนธงจู่โจม” รถถังที่ทัพบกไทยเป็นผู้ใช้เพียงรายเดียวในโลก!!.." คอมมานโด สติงเรย์"

28ปี “เจ้ากระเบนธงจู่โจม” รถถังที่ทัพบกไทยเป็นผู้ใช้เพียงรายเดียวในโลก!!.." คอมมานโด สติงเรย์"

เมื่อกว่ายี่ปีแล้วที่กองทัพบกมีความต้องการรถถังขนาดเบารุ่นใหม่ เพื่อนำไปบรรจุเข้าประจำการในกองพลทหารม้าที่ 1 จึงได้จัดซื้อรถถังจาก 2 ประเทศเข้าแข่งกันคือ รถถังแบบ TH-301 จากเยอรมัน และรถถังสติงเรย์ จากคาดิลแลคเกจ อเมริกา โดยทั้งคู่ต้องทดสอบสมรรถนะต่างๆ ตามที่กำหนด สำหรับรถถังนอกจากต้องทดสอบการขับเคลื่อนแล้ว ยังต้องทดสอบสมรรถนะต่างๆ อีกมากมาย เช่น ข้ามสิ่งกีดขวาง ข้ามคูน้ำ การยิงปืนใหญ่รถถังทั้งจอดนิ่ง และเคลื่อนที่ และการทดสอบอื่นๆ ตามเกณฑ์มาตรฐานรถถังทั่วโลกที่รับรองใช้งาน

 

28ปี “เจ้ากระเบนธงจู่โจม” รถถังที่ทัพบกไทยเป็นผู้ใช้เพียงรายเดียวในโลก!!.." คอมมานโด สติงเรย์"

 

กองทัพบกได้จัดสั่งซื้อและนำรถถังสติงเรย์เข้าประจำการ 106 คัน รวมทั้งปืนใหญ่รถถังและอะไหล่ต่างๆ และเรียกว่า รถถังขนาดเบา 32 เนื่องจากนำเข้าประจำการเมื่อปี พ.ศ. 2532 ตอนนั้นก็มีกระแสข่าวที่พูดกันถึงความน่าเชื่อถือชองบริษัทผู้ผลิต ซึ่งบริษัท คาดิลแลคเกจ อเมริกา ผู้ผลิตเอง มีโครงการพัฒนารถถังสติงเรย์มาตั้งแต่ปี พ.ศ.  2526 (1983) โดยเฉพาะตัวป้อมปืนของสติงเรย์ น้ำหนัก 5 ตัน มีรูปทรงไม่สูงมากแบนลาด เมื่อติดตั้งกับตัวรถจะทำให้ตัวรถถังมีความสูงไม่มากนัก เหมาะกับการใช้งานพื้นที่ จึงเป็นที่มาของฉายาว่า “เจ้ากระเบนธงจู่โจม” และยังสามารถลำเลียงขึ้นเครื่องบิน C-130 เฮอร์คิวลิศ ได้อย่างสบายๆ รวมถึงมีการติดตั้งที่รับปลอกกระสุนปืนใหญ่ เมื่อยิงปืนใหญ่ออกไปแล้ว ภาพรถถังยิงปืนใหญ่ออกไปแล้วจะมีแรงถอยทำให้รถถังเด้งถอยหลังตามแรงปืนใหญ่ ซึ่งบางคันก็มีแรงถอยมาก สำหรับสติงเรย์มีระบบรับแรงถอยของปืนใหญ่ ซึ่งสามารถปรับได้ตามความจำเป็นและตามความต้องการได้ ที่พิเศษกว่านั้นคือ ป้อมปืนของสติงเรย์สามารถนำไปติดตั้งในยานรบรุ่นอื่นๆได้อีกเช่น รถถังเชอร์ริแดน, รถถัง M 41 หรือยานเกราะ V 300 ได้ด้วย

 

ทั้งนี้รถถังขนาดเบา 32 Commando Stingray รถถังที่กองทัพบกไทยใช้เพียงรายเดียวในโลก เพราะเป็นระบบที่ประสบความสำเร็จในการส่งออกในประเทศไทยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น

สมรรถนะโดยรวมของรถถังสติงเรย์

รถถังขนาดเบาน้ำหนักพร้อมรบ (หมายถึงออกไปปฎิบัติการจริง) ประมาณ 20 ตัน

พลประจำรถ 4นายคือ ผบ.รถ (หัวหน้าทีมค่อยสั่งการ), พลยิง (มีหน้าที่ยิงและควบคุมปืนใหญ่รถถัง), พลบรรจุ (ทำหน้าที่บรรจุกระสุนปืนและทั่วๆไป) และพลขับ ซึ่งรถถังสติงเรย์ออกแบบมาให้พลขับอยู่ตรงกลางและออกแบบมาให้ขณะเคลื่อนที่พลขับสามารถมองเห็นได้สะดวกในการบังคับรถ หรือแม้กระทั่งขับในสภาพปิดป้อมขับ ภายในรถก็มีอุปกรณ์ดับเพลิงและชุดสำหรับป้องกันอาวุธชีวะเคมีอีกด้วย

28ปี “เจ้ากระเบนธงจู่โจม” รถถังที่ทัพบกไทยเป็นผู้ใช้เพียงรายเดียวในโลก!!.." คอมมานโด สติงเรย์"

รถถังสติงเรย์ถูกออกแบบมาให้ใช้งานตามความเหมาะสมอย่าง โดยพลยิงมีกล้องเล็งหลักแบบ M36E1 เป็นกล้องตรวจการณ์ และกล้องเล็งระบบ Optic Electronic ที่สามารถใช้งานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน สำหรับอุปกรณ์ควบคุมการยิงที่เลือกใช้ มีระบบหาระยะด้วยแสงเลเซอร์ โดยใช้ร่วมกับระบบควบคุมการยิงแบบดิจิทัลของ มาร์โคนี่ (Marconi) สำหรับผบ.รถ มีระบบกล้องจับภาพด้วยความร้อน และป้อมตรวจการณ์าก็ยังมีกล้องตรวจการณ์แบบสามารถขยายแสงวัตถุที่อยู่ในเงาทึบได้ที่เรียกว่า EPI Scope ถึง 7 กล้องรอบๆ ป้อม และยังมีกล้องเล็งแบบ NV 52 อีกกล้องซึ่งเป็นระบบ Optic Electronic อีกด้วย

28ปี “เจ้ากระเบนธงจู่โจม” รถถังที่ทัพบกไทยเป็นผู้ใช้เพียงรายเดียวในโลก!!.." คอมมานโด สติงเรย์"

เขี้ยวเล็บของรถถังสติงเรย์คือ ปืนใหญ่รถถังขนาด 105 มม. แบบ L 7 A3 ดัดแปลงโดย บ.โรแยล ออร์ดแนนซ์ของอังกฤษจากรุ่น L 7 เดิมคือเครื่องปิดท้ายแบบรุ่นเดิมแต่ได้รับการติดตั้งปลอกยั้งการถอยและที่ระบายแก๊สตกค้างเพิ่มเติมขึ้นมา รวมถึงมีที่ติดตั้งสำหรับปลอกกระสุนที่ยิงออกไปแล้วติดตั้งอยู่ด้านหลังของตัวปืนใหญ่ และมีอุปกรณ์ที่สามารถจัดปรับระยะถอยได้ตามความจำเป็น เพื่อลดแรงถอยของปืนใหญ่เมื่อยิง ลองนึกสภาพภายในป้อมปืนรถถังเป็นพื้นที่ปิด เมื่อยิงปืนใหญ่ออกไปแล้วภายในรถจะตลบอบอวลขนาดไหน ไหนจะเป็นแรงถอยหลังของปืนใหญ่ สิ่งเหล่านี้จึงต้องมีการติดตั้งเพิ่มเติมเพื่อให้พลประจำรถสามารถทำหน้าที่ต่อได้อย่างต่อเนื่องและที่สำคัญคือมีความปลอดภัย

28ปี “เจ้ากระเบนธงจู่โจม” รถถังที่ทัพบกไทยเป็นผู้ใช้เพียงรายเดียวในโลก!!.." คอมมานโด สติงเรย์"

ปืนใหญ่รถถังขนาด 105 มม. แบบ L 7 A3 สามารถใช้กระสุนมาตรฐานนาโต้ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขนาด 120 มม.) ได้หลายแบบเช่น กระสุนเจาะเกราะทรงตัวด้วยครีบหางและสามารถสลัดครอบทิ้งเองก่อนถึงเป้าหมาย(APFSDS), กระสุนเจาะเกราะสลัดครอบทิ้งเองแบบ(APDS), รวมไปถึงกระสุนกะเทาะเกราะ และกระสุนควัน ภายในรถมีกระสุนพร้อมรบใช้งาน 8 นัดและบรรทุกอีก 28 นัด สำรับอาวุธรองคือ ปืนกลร่วมแกนแบบ M 240 ขนาด 7.62×51 มม.พร้อมกระสุนอีก 2,400 นัด ที่ติดตั้งอยู่ทางด้านหน้าช่องทางเข้าออกของพลยิง ส่วนทางด้านหน้าช่องทางเข้าออกของผบ.รถ ก็สามารถติดแท่นยิงปืนกลต่อสู้อากาศยานขนาด 12.7×99 มม. (50Calibre) พร้อมกระสุนอีกกว่า 1,000 นัด หรือใช้ปืนกลขนาด ขนาด 7.62×51 มม.แทนได้ตามแต่ภารกิจการใช้งาน สามารถพรางตัวด้วยเครื่องยิงลูกระเบิดควันติดอยู่ทั้งสองด้านของป้อมปืนข้างละ 4 ลำกล้อง และสามารถติดรถไปได้อีก 10 ลูก

28ปี “เจ้ากระเบนธงจู่โจม” รถถังที่ทัพบกไทยเป็นผู้ใช้เพียงรายเดียวในโลก!!.." คอมมานโด สติงเรย์"

ตัวป้อมปืนและลำตัวรถเป็นเกราะผสมอลูมิเนียมแบบแคดลอย (Cadloy) มีความทนเป็นพิเศษ มีวิธีการเชื่อมเข้าด้วยกันโดยเฉพาะ การเชื่อมระหว่างป้อมปืนกับส่วนขอบวงแหวนป้อมปืนและตัวรถ โดยเกราะด้านหน้าจะลาดโค้งลง 60 องศา เพื่อลดอันตรายจากมุมกระทบของกระสุน ซึ่งสามารถป้องกันกระสุนขนาด 14.5 มม.ได้ ส่วนเกราะบริเวณรอบๆ ตัวรถสามารถป้องกันกระสุนขนาด 7.62 มม.ได้ ฝาครอบปิดช่องทางเข้าออกของพลประจำรถสามารถป้องกันอำนาจการระเบิดแตกอากาศของกระสุนขนาด 105 มม. ได้ในระยะ 30 เมตร แต่ทว่าเมื่อเจอกระสุนที่มีประสิทธิภาพสูงหรืออาวุธนำวิถีต่อสู้รถถัง ต้องติดตั้งระบบเสริมเกราะป้องกัน มีการพัฒนาสำหรับรถถังสติงเรย์แล้ว

28ปี “เจ้ากระเบนธงจู่โจม” รถถังที่ทัพบกไทยเป็นผู้ใช้เพียงรายเดียวในโลก!!.." คอมมานโด สติงเรย์"

 

ข้อมูล ดร.เซมเป้ ท.ทหารอดทน หมู่บ้านเพนกวิน จากเว๊บแพนทาวน์