มิติใหม่!!สื่อจับมือ ดูแล เซ็นเซอร์กันเอง เริ่ม28มิย.นี้

มิติใหม่!!สื่อจับมือ ดูแล เซ็นเซอร์กันเอง เริ่ม28มิย.นี้

ช่อง5จับมือกับช่อง7และ14พันธมิตร จัดตั้ง ชมรมตรวจพิจารณาภาพยนตร์โฆษณาทางวิทยุโทรทัศน์(ประเทศไทย) พร้อมแถลงข่าวเปิดตัวชมรมในวันนี้(27มิย)ด้วยการลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกัน หรือ MOU. ของหน่วยงานต่างๆที่ประกอบไปด้วย สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง5  สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง7  สถานีโทรทัศน์ไทยทีวี โกลบอล เน็ตเวิร์ค  บริษัท Zense Entertainment บริษัท NS Media  สมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม(ประเทศไทย) สมาคมทีวีโฮมช้อปปิ้ง(ประเทศไทย) สภาสถาบันนักวิชาการสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยรังสิต  สมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย สมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย สภาอุตสาหกรรมอาหาร  สมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน  และ สมาคมผู้ผลิตยาสมุนไพร เพื่อเตรียมลุยงานด้านเซ็นเซอร์ในวันแรกตั้งแต่วันที่28มิย.นี้เป็นต้นไป  
 

 สำหรับชมรมตรวจพิจารณาภาพยนตร์ทางวิทยุโทรทัศน์(ประเทศไทย) หรือชื่อเรียกแบบไม่เป็นทางการคือ ชมรมเซ็นเซอร์โฆษณา ซึ่งเริ่มดำเนินการเตรียมการก่อตั้งมาตั้งแต่ปี2556 โดยมีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง คือ เพื่อรวมตัวกันสร้างบรรทัดฐานการตรวจสอบงานโฆษณายุคใหม่ให้มีมาตราฐาน มีความน่าเชื่อถือ และยกระดับการทำงานจากคณะกรรมการขึ้นเป็นชมรม และยังเป็นการจัดทำเพื่อให้สอดคล้องกับ 

ร่างประกาศ กสทช.เรื่อง มาตราการส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้รับใบอนุญาต ผู้ผลิตรายการ และ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนที่เกี่ยวกับกิจการกระจายเสียง และ กิจการโทรทัศน์  เพื่อส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มของผู้ที่ได้รับใบอนุญาต เพื่อการกำกับดูแลกันเอง และให้เป็นไปตามมาตรา27(18) (24)  และ มาตรา 37 ของพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ 2553 โดยมี พล.อ ราชรักษ์ เรียนพืชน์   เป็นประธานชมรม  ซึ่งทั้งหมดในการจัดตั้งชมรมนั้น พล.อ ราชรักษ์ กล่าวว่า ชมรมจัดตั้งขึ้นตามข้อกำหนดของกสทช. และทางชมรมจะได้ร่วมกำหนดข้อปฎิบัติการตรวจพิจารณาโฆษณา  โดยจะมีเครื่องมือตรวจวัดที่มีมาตราฐาน  และมีความเป็นกลาง รอติดตามดูการจับไม้จับมือของหน่วยงานต่างๆในวงการกันต่อไป กับการลงมากำกับดูแลกันเอง แทน กบว. หรือ คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ที่ทำหน้าที่มาตั้งแต่ปี2518 จนถึงปี2535 และจากนั้นก็เปลี่ยนมือไปเป็นบทบาทของคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ที่เข้ามาทำหน้าที่แทนจนถึงปี2551 และต่อจากนั้นก็เป็นหน้าที่ของกสทช. จนทุกวันนี้ สื่อจะได้เข้าไปมีบทบาทกำกับดูแลกันเอง และรับผิดชอบกันเอง ในอนาคตของสื่อไทย