ชื่อใหม่ไฉไลกว่าเดิม!! ประมงเตรียมเปลี่ยนชื่อปลาสวายเพิ่มมูลค่าการตลาดหลังคนไทยไม่นิยม

ชื่อใหม่ไฉไลกว่าเดิม!! ประมงเตรียมเปลี่ยนชื่อปลาสวายเพิ่มมูลค่าการตลาดหลังคนไทยไม่นิยม

     หลังจากที่เจอปัญหาคนไทยไม่ค่อยบริโภคปลาสวาย เพราะมีกลิ่นคาว ราคาที่ถูก ล่าสุดกรมประมงจังหวัดสกลนครได้ออกมาประกาศว่า จะเรียกชื่อของปลายสวายอีกชื่อว่า "ปลาโอเมกา 3" พร้อมผลักดันให้เกษตรกรเลี้ยงเพิ่มมูลค่าทางการตลาด

ชื่อใหม่ไฉไลกว่าเดิม!! ประมงเตรียมเปลี่ยนชื่อปลาสวายเพิ่มมูลค่าการตลาดหลังคนไทยไม่นิยม

     ว่าที่ร้อยโท สมพร กุลบุญ ประมงจังหวัดสกลนคร เปิดเผยว่า ต้องยอมรับว่า ปลาสวายเป็นปลาที่ผู้บริโภคมักไม่นิยมรับประทาน เนื่องจากด้วยนิสัยสายพันธุ์ของปลาดังกล่าว ที่มักจะอาศัยอยู่ในน้ำขุ่น ไม่สะอาด รวมไปถึงหากผู้บริโภคนำมารับประทานชำแหละไม่เป็นจะมีกลิ่นคาวมากเพราะปลาสวายมีเส้นกลิ่นคาวอยู่ข้างลำตัว จึงทำให้ประกอบอาหารแล้วจะมีกลิ่นคาวมาก ประกอบกับราคาที่ไม่สูงมาก มีราคารับซื้อกันอยู่ที่กิโลกรัมละ 30-35 บาท ผู้บริโภคจึงมองว่าเป็นปลาไม่อร่อย

     แต่มีเรื่องที่คนส่วนมากยังไม่รู้คือ ปลาสวายเป็นปลาที่มีโอเม 3 สูงมาก สูงกว่าปลาทะเลน้ำลึก หากบริโภคแล้วจะมีผลดีต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก ดังนั้น นายวิทยา จันทร์ฉลอง ผวจ.สกลนคร จึงได้มอบหมายให้ประมงจังหวัดสกลนคร ดำเนินการทำให้ปลาสวายซึ่งเปี่ยมไปด้วยโอเมกา 3 กลายเป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวไทย ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการทำงานของสมองและช่วยเพิ่มมูลค่าของปลาสวายให้มีราคามากขึ้น

ชื่อใหม่ไฉไลกว่าเดิม!! ประมงเตรียมเปลี่ยนชื่อปลาสวายเพิ่มมูลค่าการตลาดหลังคนไทยไม่นิยม

ชื่อใหม่ไฉไลกว่าเดิม!! ประมงเตรียมเปลี่ยนชื่อปลาสวายเพิ่มมูลค่าการตลาดหลังคนไทยไม่นิยม

     ว่าที่ร้อยโท สมพร กุลบุญ ประมงจังหวัดสกลนคร กล่าวว่า อันดับแรกต้องประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคทราบว่า ปลาสวายมีโอเมกา 3 ที่สูงมาก 2,570 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 100 กรัม มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว พร้อมกับตั้งชื่อปลาสวายอีกชื่อเป็นปลาโอเมกา 3 เพื่อเรียกความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค เปรียบเสมือนดอกลั่นทมที่ไม่มีใครปลูกในบ้าน พอเปลี่ยนชื่อเป็น ต้นลีลาวดี ปรากฏว่ามีคนนิยมปลูกจำนวนมาก

ชื่อใหม่ไฉไลกว่าเดิม!! ประมงเตรียมเปลี่ยนชื่อปลาสวายเพิ่มมูลค่าการตลาดหลังคนไทยไม่นิยม

     ดังนั้นจึงไม่ต่างกัน หากเราจะเรียก 2 ชื่อ จากปลาสวายเป็นปลาโอเมกา 3 สำหรับการเลี้ยงประมงจังหวัดสกลนคร จะส่งเสริมให้เกษตรกรทราบถึงวิธีเลี้ยง การจัดหาช่องทางจำหน่าย และการแปรรูป เช่น นำไปประกอบอาหารเป็นเมนู ลาบ ต้มแซ่บ ปลาแดดเดียว หมกปลา ลวกจิ้ม หรือดัดแปลงเป็นเมนูอื่น ให้ร้านอาหารนำไปประกอบอาหารสร้างกลไกทางตลาด เพื่อส่งเสริมให้คนไทยบริโภคปลาน้ำจืดที่มีประโยชน์สูง ราคาถูก และเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ที่สำคัญต้องส่งเสริมทุกโรงเรียนเลี้ยงให้เยาวชนบริโภคปลาในการสร้างพัฒนาการทางสมองของนักเรียน


ขอบคุณ sanook