ชัดเจน!! หรั่งเครา ฝากภาครัฐเข้าใจ "ปัญหาที่ประชาชนเก็บกดสะสมมานานหลายสิบปี ”ฟังแล้วแทบจุก (มีคลิป)

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม มหาวิทยาลัยรังสิต จัดเสวนาหัวข้อเรื่อง ”ทิศทางปฏิรูปตำรวจไทย ในรัฐบาลปัจจุบัน” โดยนายสังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต อภิปราย "ทิศทางปฏิรูปตำรวจไทย ในรัฐบาลปัจจุบัน" ได้กล่าวตอนหนึ่งว่า ขณะนี้รัฐบาลได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจขึ้นมาทำหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยมีพล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานกรรมการ และมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 5 ชุด โดยประธานคณะอนุกรรมการทั้งหมดไม่มีตำรวจเลย ซึ่งเป็นสัญญาณของรัฐบาลว่าจะมีการปฏิรูปได้จริง จึงต้องรอติดตาม หากไม่มีอุบัติเหตุขึ้นก็น่าจะทำได้สำเร็จดังนั้นภาคประชาชนจะต้องมีการรวบรวมเครือข่ายที่ต้องการปฏิรูปมาพูดคุยกันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อเป็นเลขานุการให้คณะกรรมการของรัฐบาลได้ทำงานตามวัตถุประสงค์ได้สำเร็จ เราไม่ใช่ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล แต่เราเป็นมิตร
เขาบอกว่า ส่วนตัวอยากเห็นการปฏิรูปตำรวจในเรื่องกระจายอำนาจ โดยอยากให้ทำให้องค์กรตำรวจเปลี่ยนสถานะเป็นตำรวจจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ซึ่งจะช่วยให้กระบวนการยุติธรรมมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมถึงอยากให้มีการแยกอำนาจสอบสวนออกจากตำรวจ ซึ่งอาจจะไปไว้ที่กระทรวงยุติธรรมก็ได้ และให้แต่ละหน่วยงานมีตำรวจเป็นของตนเอง เช่น ตำรวจสภา ที่ขึ้นตรงกับรัฐสภา ไม่ใช่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
 

พ.ต.ท.กฤษณพงษ์ ฟูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม กล่าวว่า การปฏิรูปตำรวจเป็นเรื่องของคนทุกคน ซึ่งส่วนตัวเห็นด้วยกับการกระจายอำนาจ ของตำรวจไปในระดับจังหวัด และประชาชนสามารถสะท้อนการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ พร้อมทั้งให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณในการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวน และต้องจัดการระบบการสอบสวน ต้องพัฒนาให้โปร่งใสมากกว่าจะไปขึ้นตรงกับหน่วยงานใดมากกว่า ตลอดจนคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจควรลงพื้นที่ในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่าแท้จริง
ด้าน พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร ที่ปรึกษาสหพันธ์พนักงานสอบสวนแห่งชาติ กล่าวว่า ประชาชนเห็นตรงกันที่จะต้องมีการปฏิรูปตำรวจ โดยเห็นว่าควรมีการแบ่งหน้าที่ของตำรวจบางอย่างออกไปให้หน่วยงานอื่น เพราะในกฎหมายปัจจุบันทุกกระทรวงมีตำรวจเป็นของตนเองทั้งสิ้น ซึ่งที่ผ่านมาตำรวจของหน่วยงานต่างๆ ทำงานคล้ายฝ่ายพลเรือนอยู่แล้ว เช่น ตำรวจป่าไม้ ตำรวจท่องเที่ยว และการจัดการองค์กรตำรวจแบบทหาร ในการจัดชั้นยศ ทำให้เกิดปัญหาพอสมควร
"ดังนั้นไม่ควรตื่นเต้น เพราะเป็นเรื่องที่ทำกันมานานแล้ว จะโอนตำรวจเป็นฝ่ายพลเรือน ซึ่งหน้าที่ที่ป้องกันการกระทำความผิดกฎหมายและการระงับเหตุ อีกทั้งยังเสนอให้อัยการเข้ามามีส่วนร่วมในการสืบสวนสอบสวนตั้งแต่ต้น เพื่อให้เข้าใจในสำนวนคดี ไม่ใช่พิจารณาสั่งฟ้องจากสำนวนคดีของตำรวจเท่านั้น"
อย่างไรก็ตาม พ.ต.อ.วิรุตม์ระบุว่า นอกจากนี้ การกำหนดสัดส่วนในคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจ ให้มีผู้แทนปลัดกระทรวง 5 คน แต่ผู้แทนตำรวจ 15 คน ทำให้ไม่ได้ความเชื่อถือจากประชาชน เชื่อว่านายกรัฐมนตรีได้รับสัญญาณจากประชาชน จึงได้มอบนโยบายหน้าที่ของคณะกรรมการโดยตรง ดังนั้นการปฏิรูปเป็นการจัดรูปแบบองค์กรใหม่ ไม่ใช่ทำเพื่อขจัดการซื้อขายตำแหน่งเท่านั้น เพราะทุกหน่วยงานหากซื้อขายตำแหน่งจะต้องเอาผิดอธิบดีกรม
ขณะที่นายคมสัน โพธิ์คง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า โครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติถือเป็นปัญหาสำคัญ เช่น การบริหารแบบรวมศูนย์ไว้ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ภายใต้การดูแลของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเพียงคนเดียว และงบประมาณจุดการกระจุกตัว ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานและระบบงานสืบสวนสอบสวน เพราะสถานีตำรวจบางแห่งไม่มีแม้แต่งบประมาณจ่ายค่าน้ำค่าไฟ ดังนั้นในการปฏิรูปจะต้องทำให้เกิดการกระจายอำนาจ ทั้งการบริหารงานบุคคล และมีการกระจายงบประมาณและอำนาจสอบสวน โดยจะต้องไม่อยู่ภายในรูปแบบเดิม โดยให้แต่ละองค์กรทำงานภายใต้กฎหมายของตนเอง และสิ่งสำคัญที่คาดหวังในการปฏิรูปครั้งนี้คือความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานของตำรวจ
 

นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และอดีตกรรมาธิการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจหน้าที่และการทำงานของตำรวจ กล่าวว่า รัฐบาลได้ตระหนักมานานแล้วว่ามีปัญหา ในรัฐธรรมนูญ 2560 จึงได้เขียนเพื่อแก้ไขปัญหาเอาไว้ โดยเฉพาะเรื่องการซื้อขายตำแหน่ง แต่ตนก็แปลกใจว่าใครออกมาพูดเรื่องซื้อขายตำแหน่งแล้วโดนแจ้งความทันทีฐานหมิ่นประมาท ดังนั้นอยากจะให้เขายอมรับความจริงเสียทีว่ามีปัญหาเกิดขึ้น"ที่ผ่านมาผมเคยพูดว่าตำรวจนั้นมีระบบอุปถัมถ์ชั้นซ้อนมากกว่า 16 ชั้น ถ้าหากตำรวจไม่ยอมรับเรื่องนี้ ไม่มีการปรับปรุงด้านโครงสร้างและทลายตรงนี้ออกไป ไม่มีการแยกการสืบสวนสอบสวนออกจากองค์กรตำรวจ การตั้ง กมธ.ปฏิรูปกิจการตำรวจนั้นก็จะเป็นแค่การแก้ปัญหาในเรื่องหยุมหยิมเท่านั้น ไม่สามารถแก้ปัญหาของตำรวจได้อย่างจริงจัง และนายกรัฐมนตรีรวมไปถึงรองนายกรัฐมนตรีก็จะต้องทุบโต๊ะให้ขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย
นายชาญชัยกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่ตนแปลกใจอยู่ เพราะว่าในสมัยสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป อดีตสมาชิก สปช. ได้เคยเสนอประเด็นเรื่องการปฏิรูปตำรวจไป 15 ประเด็น ให้กับคณะ กมธ.ปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สปช. ซึ่งเขาก็ขมวดอยู่เหลือแค่ 8 ประเด็น แล้วส่งไปให้กับคณะ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน และหลังจากที่ กมธ.ยกร่างฯ ได้บัญญัติลงไปในร่างรัฐธรรมนูญแล้ว เขาก็ส่งเรื่องกลับมาให้ กมธ.สปช.ให้ความเห็นชอบ แต่คณะ กมธ.สปช.ที่เคยเห็นชอบกับสิ่งที่ตัวเองเสนอนั้น ท้ายที่สุดเขากลับเสนอแปรญัตติคัดค้าน 8 ข้อเสนอที่ได้เสนอไปในคราวแรก ซึ่งตนก็สับสนมากกับเรื่องนี้ และยิ่งไปกว่านั้น อดีตคณะ กมธ.สปช.เหล่านี้ ในตอนนี้เขาก็ไปเป็นสมาชิก กมธ.ปฏิรูปตำรวจ ซึ่งมี พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ เป็นประธานด้วย ซึ่งตนก็เชื่อว่าในอนาคตอาจจะมีอะไรที่พลิกแพลงยิ่งกว่านี้อีก นายชาญชัยกล่าวต่อว่า ก่อนหน้านี้ 1 เดือน นายกรัฐมนตรีได้มาขอข้อเสนอรายงานปฏิรูปตำรวจ 2 ฉบับที่ตนมีอยู่ ตนก็เขียนแล้วส่งไปเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน จนในที่สุดก็เกิดเป็นคณะ กมธ.ปฏิรูปตำรวจชุดที่มี 
นายเจษฎา ทันแก้ว นักเคลื่อนไหวภาคประชาชนเดินหน้าเรียกร้องปฏิรูปตำรวจ กล่าวว่า “ขณะนี้กระบวนการก่อการร้าย Isis กำลังผลักดันสร้างผลงานในเอเชียภาคตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นมาเป็นลำดับและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยเริ่มจากฟิลิปินส์ กองทัพเป็นโจรกระจอกมีไม่กี่สิบคนตอนนี้กองทัพเองเอายังไม่อยู่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย กำลังตกเป็นเป้าหมายถัดไป ใกล้ๆบ้านเรานี่เอง ในสภาพเช่นนี้คงอีกไม่นาน พวกเค้าจะได้รับรู้ว่าประชาชนชาวไทยและตำรวจมีความบาดหมางกัน หากในภาครัฐไม่ตระหนักในจุดนี้ ไม่เข้าใจถึงปัญหาที่ประชาชนเก็บกดสะสมมานานหลายสิบปี (หลายๆสิบปี) ก็คงจะตื่นตัวอีกทีตอนที่ Isis ปลุกระดมคนไทยให้ต่อสู้เจ้าหน้าที่รัฐ ทุกวันนี้แม้คนไทยกันเองยังบอกว่าวันนึงจะต้องเกิดสงครามระหว่างประชาชนเเละตำรวจ ซึ่งพูดกันเริ่มกว้างขวางมากขึ้นแล้วในภาคประชาชน จึงต้องฝากไว้ในเวทีนี้ว่า รัฐบาลต้องใส่ใจให้เต็มที่ ในการปฎิรูปบ้านเมืองจุดนี้ต้องเป็นอันดับต้น  เรื่องยศ ในภาคประชาชน เราไม่มีความเห็นมากนักเท่าไหร่ในขบวนการองค์กรของเค้า เค้าจะจัดการ เราไม่มีความเห็นไม่มากเท่าไหร่ าจจะดูตลกบ่อยครั้งเช่น นายสิบ ตำรวจจบใหม่ๆ  ไปฝึกงาน ไปปฏิบัติหน้าที่ก็เป็นผู้บังคับหมู่แล้ว และ “คุณจะมีหมู่ให้บังคับไหม” ผมไม่เข้าใจว่าคุณหลงตัวเองตั้งแต่จบใหม่แล้ว ถ้าคุณยังมีตำแหน่งที่มโนขึ้นมาเองแล้วเมื่อคุณเติบโตในองค์กร แล้วคุณจะยิ่งเพิ่มความมโนกับอำนาจที่มันไม่มี ไม่ยิ่งเพิ่มลำดับไปเหรอ ขนาดอย่างเป็นทางการยังมีตำแหน่งที่มันเป็นการมโนขึ้นมาเอง ทางนักวิชาการ จะบอกว่าจะมียศอะไรยังไงผมว่าภาคประชาชนยอมรับได้หมด เพราะว่าการบริหารองค์กรภายใน ภาคประชาชนจะมีความรู้น้อยสุดเพราะฉะนั้นเรื่องนี้ประชาชน ยอมรับได้หมด มียศ ไม่มียศ มีนายพล อะไรลดไปบ้างก็ดี ส่วนการปฏิรูป 3 เรื่อง แยกสอบสวนตรวจจับ ตำรวจจังหวัด โอน 9 หน่วย จราจรทางหลวง ลงไปให้กับกระทรวงหรือกลุ่มที่เกี่ยวข้อง อันนี้แน่นอนประชาชนเห็นด้วยทุกคนและผมจะคอยอธิบายว่ามันดียังไง ผมพยายามทำงานหนักอยู่ทุกวันนี้ แต่ถ้าหากว่าผมก้าวถอยหลังสักนิดนึง มองในมุมกว้างๆผมว่าปัญหาตอนนี้ยังไม่ใช่ว่าจะปฏิรูปอย่างไร มันไม่ใช่จุดนี้ในภาคประชาชน ปัญหาก็คือ ทุกคนเรียกร้องไปคนละทิศคนละทาง ผมอยากให้มีจุดศูนย์กลางมากกว่า ผมยินดีที่จะให้ ทาง ม.รังสิต จัดเป็นที่ตั้งตรงนี้ได้ หรือองค์กรอื่นเป็นที่ยอมรับได้ หล่อหลอมมาเป็นองค์กรเดียวกัน เพราะว่าองค์กรของเค้าเปรียบเสมือนกับหินผา ฝน ฟ้า ดิน  อะไรยังไงมายังไง มันก็อยู่อย่างงั้น ถ้าเราแยกตัวกัน ไม่สามารถที่จะทำอะไรเค้าได้แน่นอน ภาคประชาชนตอนนี้มีความคิดที่คล้ายกันเยอะมาก แต่ว่าความเข้าใจที่เค้ามียังตื้นอยู่ เรียกร้อง ยกเลิก เปอร์เซนต์ ใบจับ  ซึ่งเป็นปัญหาต่างๆที่เค้าเจอกับตัวในชีวิตประจำวัน แต่เค้ายังไม่เข้าใจว่ามันเป็นแค่ปัญหาปลายเหตุ ผมถึงบอกว่า ทุกภาคส่วน และผมขอยืมเวทีนี้บอกว่าจะเป็น กลุ่มแทกซี่ กลุ่มรถตู้ แม้แต่กลุ่มไกด์ มีกลุ่มไกด์กลุ่มนึงสนใจ พึ่งจะได้รับทราบไม่นานมานี้เองว่า จะมีการแยกตำรวจ ตำรวจท่องเที่ยวไปกระทรวงการท่องเที่ยว เค้าถึงสนใจขึ้นมา แต่ต้องมีศูนย์กลาง ให้เค้ามารวมตัวเช่นกัน อันนี้คือปัญหาใหญ่ที่ต้องมาคิดก่อนว่าจะปฏิรูปอย่างไร เวทีหน้าจะขอให้ระดมมากขึ้น นอกจากเวทีที่เป็นทางการมีนักข่าวมา ก็ขอให้มีเวทีนอกรอบด้วยเพื่อจะสอนลุงเกรียงไกร มาร์ค พิทบูล กลุ่มต่างๆเค้าพร้อมที่จะเดินเคียงข้าง แต่เค้ายังไม่ไว้ใจ ไม่รู้จักพวกเรา และก็มองวิชาการ มองประชาชนคนละไม่มีความใกล้ชิดกัน เพราะฉะนั้นจับเค้ามา สอนเค้าให้ได้ว่า 3 ข้อนี้ มันดีอย่างไรทุกอย่าง 3 ข้อนี้  มันก็ตรงกับความต้องการของคุณทั้งหมด แต่เขายังไม่เข้าใจ ยังไม่บรรลุถึงไปถึงจุดนั้น  อย่างไรฝากไว้เท่านี้ ขอบคุณครับ”