- 18 ส.ค. 2560
คนชอบกินเส้นต้องอ่าน!! เลือก "เส้นก๋วยเตี๋ยว" ไม่ดี อาจเสี่ยงตับไตพังจากสารกันบูด รู้แล้วต้องแชร์ต่อ
วันนี้มีเรื่องสุขภาพมาฝากคนที่ชอบการทานเส้น หรืออาหารประเภทก๋วยเตี๋ยวกันสักนิดนึง ก๋วยเตี๋ยว เป็นหนึ่งในอาหารประเภทบะหมี่ (noodle) ของจีนที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าโดยมากจะลวกให้สุกในน้ำเดือด สะเด็ดน้ำ แล้วนำมาใส่เครื่องปรุงชนิดต่างๆ นิยมรับประทานทั้งแบบน้ำและแบบแห้ง นิยมใช้ตะเกียบเป็นเครื่องมือช่วยรับประทาน
คำว่า "ก๋วยเตี๋ยว" อาจจะมาจากภาษาจีนฮกเกี้ยนหรือภาษาจีนแต้จิ๋วคำว่า 粿條/粿条 (guǒtiáo คำหลังเขียนได้สองแบบ) แปลว่า เส้นข้าวสุก ภาษาจีนแต้จิ๋วได้รับอิทธิพลมาจากภาษาจีนฮกเกี้ยนอย่างมาก จึงทำให้ไม่ทราบสำเนียงที่มาที่แน่ชัด ส่วนในภาษาจีนกลางเรียกอีกอย่างว่า 粉條 (fěntiáo) หรือ 麵條/面條 (miàntiáo)
ข้าวซอยก็นับเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือของไทย
แต่ตอนนี้สำหรับใครที่ชอบกินก๋วยเตี๋ยวเป็นชีวิตจิตใจอาจจะต้องกิคหนักกันสักนิด เพราะมีรายงานพบว่า มีสารกันบูดจำนวนมากอยู่ในเส้นก๋วยเตี๋ยว และถ้าหากบริโภคติดต่อกันนาน จะส่งผลกระทบต่อตับและไตได้
ทำไมเส้นก๋วยเตี๋ยว ถึงต้องใส่สารกันบูด?
เนื่องจากเส้นก๋วยเตี๋ยวสดอาจมีอายุในการเก็บรักษาได้ไม่นาน ดังนั้นผู้ประกอบการจึงมักใส่สารกันบูด เพื่อยืดอายุของเส้นก๋วยเตี๋ยวให้อยู่ได้นานมากยิ่งขึ้น เก็บรักษาก่อนปรุงได้นานมากยิ่งขึ้น
อันตรายของสารกันบูดที่มีต่อร่างกาย
สารกันบูดที่นิยมใช้คือกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก ซึ่งหากร่างกายได้รับในปริมาณสูงเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตลดลง
เส้นก๋วยเตี๋ยวที่พบสารกันบูดมากที่สุด คือ (เรียงลำดับจากมากไปน้อย)
- เส้นเล็ก
- เส้นหมี่
- เส้นใหญ่
เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ไม่พบสารกันบูด คือ
- บะหมี่เหลือง
- วุ้นเส้น
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าจะให้เลิกทานอาการประเภทก๋วยเตี๋ยว ยังสามารถทานได้อยู่ เพราะไม่ใช่ทุกเจ้ามีพบสารกันบูดในเส้นเกินปริมาณ อาจจะทานก๋วยเตี๋ยวสลับกับอาหารอย่างอื่น หรือเลือกร้านที่ได้คุณภาพน่าไว้ใจ ลองเปลี่ยนเส้นที่ทานไปเรื่อยๆในแต่ละครั้ง อย่างบะหมี่เหลืองและวุ้นเส้นก้เป็นอีกทางเลือกที่จะลดความเสี่ยงลงได้
ขอขอบคุณ
ข้อมูล :สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา