เเชร์เก็บไว้เลย!! 7 สัญญาณเตือนมะเร็งเต้านมที่ผู้หญิงไทยทุกคนต้องรู้! รีบเช็คเลยก่อนจะสายเกินไป(มีคลิป)

เเชร์เก็บไว้เลย!! 7 สัญญาณเตือนมะเร็งเต้านมที่ผู้หญิงไทยทุกคนต้องรู้! รีบเช็คเลยก่อนจะสายเกินไป(มีคลิป)

มะเร็งเต้านม (Breast cancer) เป็นโรคมะเร็งที่เกิดจากเนื้อเยื่อที่มีความผิดปกติส่วนใดส่วนหนึ่งภายในเต้านมเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งและขยายใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นก้อนเนื้อร้าย ก่อนจะลุกลามไปสู่เนื้อเยื่อข้างเคียงและแพร่กระจายไปยังเซลล์อื่นของร่างกาย มะเร็งชนิดนี้สามารถพบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย แต่พบในเพศชายในอัตราที่น้อยมาก

มะเร็งเต้านม

ภายในเต้านมของผู้หญิงจะประกอบไปด้วยต่อมผลิตน้ำนม ท่อน้ำนม เนื้อเยื่อไขมัน ท่อน้ำเหลือง เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน หลอดเลือดต่าง ๆ ซึ่งเซลล์มะเร็งส่วนใหญ่ที่พบมักจะเกิดขึ้นบริเวณต่อมผลิตน้ำนม (Lobules) และท่อน้ำนม (Ducts) มากกว่าส่วนอื่น การก่อตัวของมะเร็งเต้านมสามารถเกิดขึ้นได้กับเซลล์ทุกส่วนภายในเต้านมในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจากเซลล์ผิดปกติมีการแบ่งตัวมากขึ้นเป็นจำนวนมากจนไม่สามารถควบคุมได้ และขยายใหญ่ขึ้นเป็นก้อนเนื้อร้าย ก่อนจะแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง ระบบน้ำเหลือง และสุดท้ายกระจายไปยังกระแสเลือด และไปยังอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้

ระยะของมะเร็งเต้านม

ระยะความรุนแรงของโรคมะเร็งเต้านมแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนเนื้อ การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปสู่ต่อมน้ำเหลือง หรืออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย

ระยะ 0-1: พบเซลล์ผิดปกติภายในเนื้อเยื่อเต้านม และก้อนเนื้อมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร แต่ยังจำกัดการเกิดเฉพาะภายในเต้านม ซึ่งเป็นระยะที่ยังไม่พบการลุกลามของโรคไปยังส่วนอื่น

ระยะ 2: ก้อนมะเร็งมีขนาดโตขึ้น และอาจแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองเฉพาะบริเวณรักแร้ แต่จำนวนไม่กี่ต่อม หรืออาจไม่พบก้อนเนื้อ แต่พบเซลล์มะเร็งบริเวณต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้

ระยะ 3: เนื้อเยื่อเต้านมถูกทำลายเป็นบริเวณกว้างถึงชั้นผิวหนังจนเกิดเป็นแผล ก้อนมะเร็งมีขนาดโตขึ้นมากกว่า 5 เซนติเมตร ลุกลามไปติดกับกล้ามเนื้อหน้าอก มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้และต่อมน้ำเหลืองอื่นในบริเวณใกล้เคียงเต้านม หรือก้อนเนื้อขยายใหญ่ขึ้นไม่เกิน 5 เซนติเมตร และมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองจำนวนมากขึ้น    

ระยะ 4: โรคมีการแพร่กระจายเข้าหลอดเลือดไปยังอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ตับ สมอง ปอด กระดูก ซึ่งเป็นระยะที่รักษาไม่หายขาด

สำหรับในประเทศไทย จากข้อมูลทะเบียนมะเร็งของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในผู้หญิงไทยเป็นอันดับต้น ๆ และยังพบจำนวนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 13,653 ราย หรือคิดเป็น 29.3 ต่อประชากร 100,000 ราย ซึ่งคาดการณ์ว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพราะการตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น จะเพิ่มโอกาสในการรักษาให้ผู้ป่วยหายขาดได้มากขึ้น

อาการของมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมในระยะแรกแทบไม่แสดงอาการใด ๆ ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยการคลำพบก้อนเนื้อในเต้านมหรือบริเวณรักแร้มากที่สุด อาการอื่น ๆ อาจสังเกตได้จากขนาดหรือรูปร่างของเต้านมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หัวนมบุ๋ม เป็นแผล อาจมีน้ำเหลืองหรือของเหลวสีคล้ายเลือดไหลออกมาหรือเป็นผื่นบริเวณหัวนม

สาเหตุของมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมยังไม่พบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่พบปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้มากขึ้น โดยเฉพาะในเพศหญิง ทั้งจากสภาพแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมการใช้ชีวิต อายุที่มากขึ้น ผู้หญิงที่ไม่มีบุตร หรือมีช่วงระยะของการมีประจำเดือนนาน และอีกหลายปัจจัย ทั้งนี้บางปัจจัยสามารถแก้ไขได้ แต่บางปัจจัยไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน ความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือเชื้อชาติ เป็นต้น

การวินิจฉัยมะเร็งเต้านม

แพทย์จะตรวจดูความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเต้านม พร้อมทั้งประเมินวิธีการรักษาในขั้นตอนต่อไป แพทย์อาจมีการตรวจเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) อัลตราซาวด์ (Ultrasound) หรือการตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI) เพื่อดูก้อนเนื้อหรือเซลล์ที่เกิดความผิดปกติก่อนจะมีการเจาะชิ้นเนื้อ (Biopsy) ออกมาตรวจวิเคราะห์ ทั้งนี้ การเลือกใช้วิธีใดในการตรวจวินิจฉัยหรือตรวจในขั้นตอนใดก่อน แพทย์จะดูอาการและสิ่งที่ตรวจพบจากการตรวจร่างกายเป็นข้อมูลเบื้องต้น  

การรักษามะเร็งเต้านม

การรักษามะเร็งเต้านมมีหลายวิธี ปัจจุบันจะใช้วิธีการผ่าตัด การฉายรังสี การรักษาด้วยฮอร์โมน หรือการรักษาด้วยเคมีบำบัด ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดี ข้อเสีย และผลข้างเคียงที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้แพทย์อาจใช้วิธีการเดียวหรือหลายวิธีรวมกันในการรักษา โดยอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของทีมแพทย์และความต้องการของผู้ป่วย เพื่อการวางแผนการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับประโยชน์สูงสุด

ภาวะแทรกซ้อนของมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายกรณี เนื่องมาจากผลของการรักษาที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง ผู้ป่วยอาจรับประทานอาหารได้น้อย รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น นอนไม่หลับ หรือมีปัญหาด้านทางอารมณ์ มีภาวะบวมน้ำเหลืองในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม เนื่องจากท่อน้ำเหลืองเกิดการอุดตันจนทำให้มีการคั่งของน้ำเหลืองบริเวณนั้นมาก นอกจากนี้อาจพัฒนาให้เกิดมะเร็งบริเวณส่วนอื่นของร่างกายได้หากมะเร็งเกิดการลุกลามเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะนั้น ๆ

การป้องกันมะเร็งเต้านม

ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน โดยเริ่มตรวจตั้งแต่อายุยังน้อย และเข้ารับการตรวจจากแพทย์หรือพยาบาลเป็นครั้งคราว ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรเข้ารับการตรวจเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) ประมาณปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากมะเร็งเต้านมยังไม่พบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด การป้องกันได้เต็มประสิทธิภาพจึงทำได้ยาก นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหรือส่งผลเสียต่อสุขภาพอาจช่วยลดโอกาสการเกิดและรับมือกับมะเร็งเต้านมได้ทันท่วงที

 

 

 

cr.https://www.youtube.com/watch?v=UwM-VGRQ7hQ

ขอบคุณข้อมูล pobpad.com

ขอบคุณภาพจาก thaibreastcancer.com