- 13 ต.ค. 2560
ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่เพจความจริง และ www.tnews.co.th
เดี๋ยวนี้คนไทยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนในวัยทำงานและวัยชรา มักประสบปัญหาความดันโลหิตสูงกันเป็นจำนวนมาก เพราะวิถีชีวิตที่เร่งรีบขึ้นทำให้หลายคนต้องรีบบริโภคโดยไม่มีเวลามาพิจารณาอาหารที่กินเข้าไป และเวลาที่มีจำกัดทำให้ออกกำลังกายได้น้อยลงด้วย แต่วันนี้มีทางเลือกเป็นสมุนไพรไทยที่ช่วยลดความดันโลหิตสูงมาฝากกันค่ะ
สมุนไพรที่ว่า มีคุณสมบัติไม่แพ้ยาต่างชาติเลยทีเดียวนะคะ มีสมุนไพรอะไรบ้าง และจะนำมาใช้อย่างไรจึงจะได้ผลดีที่สุด ไปติดตามกันเลย
1.กระเทียม
วิธีการกิน ซอยกระเทียมสดประมาณครึ่งช้อนชา กินพร้อมอาหารวันละ 2-3 ครั้ง หรือจะใช้วิธีเคี้ยวสดหลังมื้ออาหารก็ได้ แต่ไม่ควรกินตอนท้องว่าง เพราะกระเทียมมีฤทธิ์ร้อนอาจทำให้แสบกระเพาะได้
2.ขึ้นฉ่าย
วิธีการกิน ควรเลือกต้นสดที่สะอาด แข็งแรง วิธีแรกคือ นำมาตำและคั้นเอาน้ำมาดื่ม อีกวิธีคือนำต้นสด 1-2 กำมาตำให้ละเอียด แล้วนำมาต้มกับน้ำจนเดือด จากนั้นกรองเอากากออก ดื่มก่อนอาหารครั้งละ 1-2 ช้อนตะ วิธีสุดท้ายง่ายที่สุด คือกินเป็นผักสดร่วมกับมื้ออาหาร
3.กระเจี๊ยบแดง
ตามตำรายาไทยระบุว่า นอกจากกระเจี้ยบแดงจะช่วยลดความดันโลหิตสูงแล้ว ยังช่วยลดคอเลสเตอรอบ ลดไข้ และแก้อาการนิ่วได้อีกด้วย
วิธีการกิน ใช้กลีบแห้งต้มน้ำ หรือชงน้ำร้อนดื่มเป็นชากระเจี้ยบ
4.บัวบก
ตามตำรายาไทยทั่วไป นิยมใช้บัวบกบำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย ขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน แต่ในบางตำราก็นำมาใช้ลดความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน
วิธีการกินนำต้นสด 1-2 กำมาต้มกับน้ำ ดื่มแทนน้ำชา หรือกินสดร่วมกับมื้ออาหาร
5.คาวตอง หรือพลูคาว หมอยาทั่วไป ทั้งอีสาน ภาคเหนือ หรือไทยใหญ่มีความเชื่อว่าการกินคาวตองสดๆ กับน้ำพริก ลู่ ลาบ หรือใช้รากต้มกับปลาไหล รากตำเป็นน้ำพริกกินจะเป็นยารักษาโรคได้ เช่น ช่วยรักษาความดันโลหิตสูง ริดสีดวงทวาร แผลในกะเพาะอาหาร
พลูคาว นับเป็นผักสมุนไพรที่มีการศึกษาวิจัยและจดสิทธิบัตรมากตัวหนึ่ง ซึ่งจากการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ต่างพบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพลูคาวเช่นเดียวกับการใช้ประโยชน์ของหมอยาพื้นบ้าน ในประเทศเกาหลีก็ได้มีการใช้พลูคาวเป็นยาลดความดันโลหิตสูง ภาวะหลอดเลือดแข็งตัวเนื่องจากมีการสะสมของไขมัน (atherosclerosis) และมะเร็งอีกด้วย