- 18 ต.ค. 2560
งานนี้ต้องมีคนหน้าหงาย!!! ไหนบอกยกเลิกด่าน! ตั้งกันเห็นๆแถมบนทางโค้ง แบบนี้ได้หรือไม่ นายตำรวจเถียงขาดใจ ประชาชนก็ไม่ยอม!!!(มีคลิป)
วันที่ 18 ต.ค. 60 เพจเฟซบุ๊ก "YouLike (คลิปเด็ด)" ได้โพสต์คลิปวีดีโอของผู้ใช้ที่มีชื่อว่า "Min Bloodys" โดยมีเนื้อหาดังนี้
รบกวนฝาก youlike ด้วยครับ
- ไหนท่านนายกบอกยกเลิกด่านตรวจแล้ว
-ด่านไม่มีสัญญาณไฟหรือเครื่องหมายใดๆให้ชัดเจนตามกฏหมาย
-ด่านไม่ใช่ตำรวจจราจรแต่กลับเป็นสายตรวจมายืนจับหมวกกันน๊อค
-ด่านไม่มีการตรวจฉี่หรือจับสารเสพติดใดๆ นอกจากจับรถให้ชำระใบสั่ง
#จุดเกิดเหตุ 20 มิถุนา แยก 7 ห้วยขวาง @กทม.
ซึ่งหลังจากโพสต์ลงไปนั้นก็ได้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมากหนึ่งในนั้นซึ่งคาดว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้โพสต์ข้อความโดยมีเนื้อหาดังนี้
1.นายกไม่ได้บอก ผบ.บชน. ครับ
2. ยืนแบบนี้ส่วนใหญ่ดูสำเนา เอกสารต่างๆของรถ รวมถึงตรวจหายาเสพติดครับ
3. ก็นี่ด่านของสายตรวจครับ
4.ขอภาพใบสั่งด้วยครับ......ตร.สายตรวจไม่มีอำนาจในการออกใบสั่งแต่สามารถประสานให้ ตร.จร. เขียนใบสั่งได้ครับ
ปล.ลงมั่วๆระวัง พรบ.คอมถามหาเน้อ
แต่ทั้งนี้ยังเกิดการถกเถียงของผู้ใช้อีกหลายลาย โดยบอกว่านี่เป็นการตั้งด่านบนทางโค้งซึ่งถือว่าผิดอยู่แล้ว งานนี้คงต้องเถียงกันยาวๆ
ซึ่งเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2558 พลตำรวจโท ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า จะมีการเรียกประชุมผู้รับผิดชอบงานจราจร พร้อมมีคำสั่งให้ยกเลิกด่านลอยทุกชนิดทั่วประเทศ ซึ่งจะเริ่มออกคำสั่งภายในวันนี้ หลังจากที่ผ่านมาได้รับร้องเรียนจากประชาชนเป็นจำนวนมาก
พลตำรวจโท ประวุฒิ ระบุว่า หากท้องที่ใดจะตั้งด่านต้องมีเจ้าหน้าที่ระดับสารวัตรเป็นผู้ควบคุมและมีการติดป้ายที่ชัดเจน รวมไปถึงการรายงานต่อผู้บังคับบัญชาด้วยว่าตั้งด่านจุดใด และเป็นด่านประเภทใด
ทั้งนี้หากประชาชนพบเห็นว่ามีการตั้งด่านลอย สามารถถ่ายภาพ-คลิป ส่งมาตามช่องทางดังต่อไปนี้ เพื่อลงโทษ เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ฝ่าฝืนคำสั่ง และจะไม่มีการละเว้นว่าจะเป็นตำรวจชั้นไหน
- เฟซบุ๊ก รายงานสภาพการจราจร ตร.
- โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- ทวิตเตอร์ @poltrafreport
- โทรศัพท์หมายเลข1197
นอกจากนี้กรณีที่ตำรวจจราจรถูกต่อว่าได้ส่วนแบ่งจากการออกใบสั่งนั้น จะมีการเสนอติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อจับภาพผู้ฝ่าฝืนกฎจราจร เพื่อลดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าว โดยจะติดตั้งระบบกล้องและระบบใบสั่งทั้งระบบภายใน 3 เดือน ขยายอายุใบสั่งจาก 1 ปีเป็น 3 ปี