- 04 พ.ย. 2560
อย่าชะล่าใจ!! "โรคเบาหวาน" ไม่ได้เป็นเฉพาะผู้ใหญ่ วัยรุ่นก็เสี่ยงเป็นได้ถ้าไม่รู้จักควบคุมการกิน
หลายคนคงจะคิดว่า "โรคเบาหวาน" นั้นจะเป็นได้แค่เฉพาะคนที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่เท่านั้น หรือคนแก่ผู้สูงอายุ แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เลย โรคนี้สามารถเกิดขั้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย
เบาหวานเป็นโรคที่ร่างกายมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง สาเหตุมาจากร่างกายเราหลั่งอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้มีดีพอ หรือเรียก ภาวะดื้ออินซูลิน
ชนิดของเบาหวาน
1.เบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดสำหรับเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น เกิดจากการที่เซลล์ตับอ่อนที่เรียกว่า "บีต้าเซลล์" ถูกทำลาย เป็นผลจากกระบวนการทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ต้องได้รับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลินเท่านั้น และมักเริ่มเป็นโรคเมื่ออายุยังน้อย และเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes) ซึ่งปัจจุบันพบมากขึ้นในเด็กและวัยรุ่นเนื่องจากมักพบร่วมกับโรคอ้วนหรือภาวะโภชนาการเกินเพราะในปัจจุบันมีเด็กที่อ้วนหรือมีภาวะโภชนาการเกินมากขึ้น
2.เบาหวานชนิดที่ 2 นี้ ต้องรักษาด้วยยากินและบางรายต้องใช้การฉีดอินซูลิน ร่วมกับการปรับวิถีการดำเนินชีวิตเพื่อลดนํ้าหนักและควบคุมนํ้าหนักให้เป็นปกติ นอกจากนี้ ยังมีเบาหวานชนิดอื่น ๆ เช่น ที่เกิดจากการได้รับยารักษาโรคต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดนํ้าตาลสูงในเลือด เช่น ยาเคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น
อุบัติการณ์ของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในเด็กพบมากกว่าเบาหวานชนิดที่ 2 แต่อุบัติการณ์ของเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เกิดขึ้น พร้อม ๆ กับโรคอ้วนที่มากขึ้นนั้น เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ตัวอย่างข้อมูลของสาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพียง 4 รายที่ได้รับการวินิจฉัยในช่วงปี พ.ศ.2533-2542 แต่ในช่วง 10 ปีต่อมา (พ.ศ. 2543-2552) มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่วินิจฉัยใหม่เพิ่มขึ้นอีกเกือบ 40 ราย หรือประมาณ 10 เท่า และในช่วงเวลาอีกไม่ถึง 10 ปีต่อมา (พ.ศ. 2553-2559) มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 วินิจฉัยใหม่เพิ่มขึ้นอีกถึง 44 ราย ความแตกต่างของโรคเบาหวานในเด็กและโรคเบาหวานในผู้ใหญ่ โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่นมีความคล้ายคลึงกับโรคเบาหวานในผู้ใหญ่ แต่ก็มีความแตกต่างกัน ดังนี้
1. ชนิดของเบาหวาน ส่วนมากเบาหวานที่พบในเด็กจะเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 แต่ในผู้ใหญ่จะพบชนิดที่ 2 มากกว่า อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันพบเบาหวานชนิดที่ 2 ในเด็กเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการที่พบเด็กอ้วนเพิ่มขึ้น
2. การดูแลรักษา เนื่องจากเด็กและวัยรุ่นเป็นวัยที่ยังมีการเติบโตและช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ ด้านทั้งอารมณ์ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และฮอร์โมนต่าง ๆ รวมทั้งยังอยู่ในช่วงวัยเรียน มีคนรอบข้างที่ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลรักษา ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว ครู และเพื่อน ๆ รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ด้านต่าง ๆ ฉะนั้นการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กจึงมีความละเอียดซับซ้อนมาก
3. ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน เนื่องจากถ้าเริ่มเป็นเบาหวานตั้งแต่เด็ก โอกาสที่จะพบภาวะแทรกซ้อนในอนาคตก็มีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายที่ไม่สามารถควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดได้ดี
ขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงเปรมฤดี ภูมิถาวร