ใช่รึ?...เกลือเค็มเพราะ"ลิ้น"!!! คุณอนันต์-โทษมหันต์ของเกลือ. ...เหตุใดจึงนำเอาความเค็มไปเปรียบกับสตรีที่ไม่"อิ่มรัก"?

ใช่รึ?...เกลือเค็มเพราะ"ลิ้น"!!! คุณอนันต์-โทษมหันต์ของเกลือ. ...เหตุใดจึงนำเอาความเค็มไปเปรียบกับสตรีที่ไม่"อิ่มรัก"?

วันนี้..ผู้เขียนจะนำท่านไปพบกับความลี้ลับและสุดมหัศจรรย์ จากการ"ปั้นนำ้-เป็นตัว"ให้เป็นธาตุที่ทั้งมีคุณค่าและมหันตภัยอย่างเอนกอนันต์

"เกลือ" นับเป็นสิ่งหนึ่งต่อการที่จะต้องใช้วิจารณญาณในการศึกษา ด้วยเพราะความสับสนที่ปรากฏจาก พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ แก้ไขเพิ่มเติม พศ.2530 ระบุไว้ว่า
"เกลือ"เป็นวัตถุที่มีรสเค็ม.
ซึ่งต่างกับความคิดเห็นของนักเคมีวิทยาที่ว่า"เกลือ"คือธาตุที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติด้วยการปรุงแต่ง มีทั้งในท้องทะเลและใต้พื้นธรณี

ใช่รึ?...เกลือเค็มเพราะ"ลิ้น"!!! คุณอนันต์-โทษมหันต์ของเกลือ. ...เหตุใดจึงนำเอาความเค็มไปเปรียบกับสตรีที่ไม่"อิ่มรัก"?

 

ใช่รึ?...เกลือเค็มเพราะ"ลิ้น"!!! คุณอนันต์-โทษมหันต์ของเกลือ. ...เหตุใดจึงนำเอาความเค็มไปเปรียบกับสตรีที่ไม่"อิ่มรัก"?

"เกลือ"แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
"เกลือสมุทร"และ"เกลือสินเธาว์"
แต่ก็ได้มีการพัฒนาไปตามแต่ละรูปแแบและการวิธีนำไปใช้ จึงมีชื่อเรียกแยกกันออกไปที่หลากหลาย อาทิ

1.เกลือกรด  เกิดขึ้นจากธาตุไฮโดรเจนที่แปรภาพไปเป็นไอออน มีอยู่ในโมเลกุลของกรด
2.เกลือแกง  คือโซเดียมคลอไรด์(NaCl)ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายน้ำได้ มีในทะเล
3.เกลือกะตัง  เกลือที่เกิดขึ้นจากปัสสาวะ
4.เกลือเงิน  คือเกลือปกติ ที่เรียกกันว่า ซิลเวอร์ไนเทรต(Ag No3)เป็นผลึกสีขาวละลายน้ำได้
5.เกลือจืด  ธาตุที่เกิดจากตกผลึกก่อนเกลือชะนิดอื่นในการทำนาเกลือ หรือธาตุที่ได้จากการเผายิบซั่ม หรือที่เรียกกันว่า "ยิบซั่ม"และ"หินฟองเต้าหู้"นั่นเอง
6.เกลือด่าง  คือเกลือจากวิธีการเบสิค
7.เกลือด่างคลี  เป็นเกลือที่ใช้ในยาแพทย์แผนไทย
8.เกลือเบสิค  ธาตุที่เกิดขึ้นโดยอนูกรดเข้าไปแทนที่ไฮดร๊อกซิล(OH)ซึ่งมีโมเลกุลของเบสไม่หมด เช่น เลคไฮดร๊อกซิลคลอไรด์(Pb(OH)CL)
9.เกลือปกติ  เกิดโดยธาตุไฮโดรเจนแปรสภาพเป็นไอออน มีอยู่ในโมเลกุลของกรด ถูกโลหะหรือหมู่ธาตุที่เทียบเท่าเข้าไปแทนที่โดยสิ้นเชิง เช่น โซเดียมซัลเฟต(Na2 SO4)
10.เกลือฟอง  เกลือที่ใช้ในยาแพทย์แผนไทย
11.เกลือยูเรต  เกลือจากกรดยูริก
12.เกลือสะตุ  เกลือที่ถูกทำให้แตกละเอียด เกลือป่น
12.เกลือสมุทร  ธาตุที่ได้มาจากนำ้ทะเล
13.เกลือสินเธาว์  ที่ได้มาจากดินและนำ้เค็มใต้พื้นธรณี

ใช่รึ?...เกลือเค็มเพราะ"ลิ้น"!!! คุณอนันต์-โทษมหันต์ของเกลือ. ...เหตุใดจึงนำเอาความเค็มไปเปรียบกับสตรีที่ไม่"อิ่มรัก"?

 

ใช่รึ?...เกลือเค็มเพราะ"ลิ้น"!!! คุณอนันต์-โทษมหันต์ของเกลือ. ...เหตุใดจึงนำเอาความเค็มไปเปรียบกับสตรีที่ไม่"อิ่มรัก"?

กรรมวิธีการผลิต"เกลือ"โดยย่อ

"เกลือสมุทร" จากการปรับพื้นที่บดอัดให้แน่น ลักษณะเดียวกันกับนาปลูกข้าวเรียกว่า"นาเกลือ"เปิดให้นำ้ทะเลไหลเข้ามาและกักเก็บนำ้ทะเลนั้นไว้ ปล่อยให้แสงอาทิตย์และลมผ่านจนมีระดับความเข้ม 20ํ จากปรอทวัดความเค็ม(ไฮโดรมิเตอร์)ไปจนถึงระดับ 25ํเติมน้ำทะเลเพิ่มทุก 3 วัน เมื่อครบ 10-15 วันนำ้ในนาเกลือก็จะตกผลึกเป็นเม็ดเกลือที่สามารถตัดเก็บได้ ช่วงระยะเวลาการทำ"เกลือสมุทร"ที่ได้ผลที่สุดคือในระหว่างเดือนเมษายน ที่มีทั้งกระแสลมแรงและความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่เจิดจ้า

-เกลือสินเธาว์  ก็มีกรรมวิธีที่คล้ายกัน ต่างกันที่เรื่องของกาลเวลา ซึ่งจะเริ่มทำกันในช่วงเวลาของเดือนพฤศจิกายน 
โดยการสูบนำ้(บาดาล)จากแหล่งที่มีดินเค็มใต้พื้นธรณีผ่านการต้มด้วยความร้อนสูงประมาณ
4-6 ชั่วโมงก็จะได้สะเก็ดเกลือ

คุณประโยชน์ของเกลือ..
ในทางทฤษฎีชีววิทยา "สัตว์บก" ซึ่งหมายรวมถึงมนุษย์ด้วย ต่างสืบเชื้อสายมาจากสิ่งที่มีชีวิตในทะเล
ฉะนั้น"ของเหลว"ในร่างกายของมนุษย์ จึงมีองค์
ประกอบเหมือนนำ้ทะเล คือ มีเกลือผสมอยู่ด้วย
และเกลือเป็นสิ่งที่จำเป็นสุดของชีวิตที่จะขาดเสีย
มิได้ ด้วยเพราะเกลือมีส่วนช่วยในการรักษาความ
สมดุลย์ของเหลวให้กับร่างกายของมนุษย์ ซึ่งก็รวมถึงระบบประสาทและกล้ามเนื้อด้วย

โทษของเกลือ... นับเป็นเรื่องที่อันตรายสุดๆในการที่จะรับเกลือเข้าสู่ร่างกาย เพราะหากมากเกินไป "เกลือ"สามารถก่อให้เกิดโรคที่ร้ายแรงให้แก่ร่างกายได้ อาทิ โรคไต  โรคความดันโลหิต  โรคหัวใจ ด้วยเพราะร่างกายรับเกลือที่มากเกินพอ ทำให้ไตซึ่งทำหน้าที่กรองเกลือแร่และหรือของเสียในร่างกายต้องทำงานหนัก ก่อให้เกิดความดันโลหิตสูงนำไปสู่การเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ

โดยปกติทั่วไปมนุษย์มีความต้องการธาตุเกลือ5-10 กรัมต่อวัน โดยรวมมนุษย์(ไทย)บริโภคเกลือเฉลี่ย 27 กิโลกรัมต่อปี/คน
ซึ่งผิดกับมนุษย์(อเมริกัน) ที่มีค่าเฉลี่ยในการบริโภคเกลือสูงถึง 214 กิโลกรัมต่อคน/ปี
"เกลือสินเธาว์"เป็นเกลือที่มีความบริสุทธิ์ของความเค็มเกินกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ เหมาะสำหรับใช้ในการบริโภค ซึ่งต่างกับ"เกลือสมุทร"ที่มีความเค็มบริสุทธิ์เพียงแค่ไม่เกิน 85 เปอร์เซ็นต์

"เกลือ"ทำไมจึงเค็ม? 
ดูเหมือนว่ายังจะไม่มีคำตอบที่ชัดเจน !
ฤามันจะเค็มด้วยตัวของมันเอง หรือปฏิกริยาที่สนองตอบจาก"ลิ้น"...อวัยวะที่มหัศจรรย์สุดของมนุษย์ ที่สามารถใช้งานได้มากสุด!

"ลิ้น"จริงแล้วมีเซลล์ที่สามารถรับรู้กับรสของความเค็มที่เกิดขึ้นจาก โซเดียม กับ คลอไรด์ โดย"ต่อมรับรส"ที่ลิ้น ด้วยสามารถที่จะจำแนกได้ว่าธาตุใดหวานสิ่งไหนเปรี้ยว !
จากความเค็มของเกลือ ได้มีผู้นำเอาคุณสมบัติของมันไปใช้เปรียบเปรยกับพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยเรื่องของธุรกิจการค้า.....เค็มเหมือนเกลือ ..ซึ่งก็หมายถึงการไม่ยอมเสียเปรียบในเชิงการค้า

และยังได้นำไปประพันธ์เป็นบทเพลง ที่แสดงให้เห็นถึงความไม่อิ่มรักของสตรีในเพลง"ถมไม่เต็ม"เนื้อร้องทำนองเพลงโดยราชาเพลงลูกทุ่ง สุรพล สมบัติเจริญ ขับร้องโดยศิลปินแห่งชาติ เรืออากาศตรีสุเทพ วงศ์กำแหง(หาฟังดู)กับเนื้อร้องของอีกเพลงหนึ่งขับร้องโดยศิลปินอาวุโส คำรณ สัมปุณนานนท์ ที่แสดงถึงความคับแค้นที่สตรีของตนชอบคบชู้-สู่ชาย ด้วยหมายจะทำลายชีวิตของสตรีผู้นั้นว่า.....ช่างมาพอดีชะอีใจเค็ม เดี๋ยวเลือดจะกระเซ็นเต็มดาบกู...!  หากได้ฟังกันแล้วคงหดหู่พิลึก.

ณ ถึงชั่วโมงนี้คงยังมี"เกลือ"ทั้งเกลือสมุทรและเกลือสินเธาว์อีกเหลือคณนา ที่อยู่ในนำ้ทะเลและนำ้ใต้พื้นธรณี ต่อการที่จะนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการยังชีวิตมนุษยชาติ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับความพอดี...หากเกินเลยคงจะหลีกหนีไปจากมหันตภัยที่จะเกิดขึ้นจาก "เกลือ"ไม่ได้.

ใช่รึ?...เกลือเค็มเพราะ"ลิ้น"!!! คุณอนันต์-โทษมหันต์ของเกลือ. ...เหตุใดจึงนำเอาความเค็มไปเปรียบกับสตรีที่ไม่"อิ่มรัก"?

 

ใช่รึ?...เกลือเค็มเพราะ"ลิ้น"!!! คุณอนันต์-โทษมหันต์ของเกลือ. ...เหตุใดจึงนำเอาความเค็มไปเปรียบกับสตรีที่ไม่"อิ่มรัก"?

 

ใช่รึ?...เกลือเค็มเพราะ"ลิ้น"!!! คุณอนันต์-โทษมหันต์ของเกลือ. ...เหตุใดจึงนำเอาความเค็มไปเปรียบกับสตรีที่ไม่"อิ่มรัก"?

 

ใช่รึ?...เกลือเค็มเพราะ"ลิ้น"!!! คุณอนันต์-โทษมหันต์ของเกลือ. ...เหตุใดจึงนำเอาความเค็มไปเปรียบกับสตรีที่ไม่"อิ่มรัก"?

 

ใช่รึ?...เกลือเค็มเพราะ"ลิ้น"!!! คุณอนันต์-โทษมหันต์ของเกลือ. ...เหตุใดจึงนำเอาความเค็มไปเปรียบกับสตรีที่ไม่"อิ่มรัก"?

ขอขอบคุณท่านผู้เป็นเจ้าของเครดิตภาพที่ผู้เขียนได้นำมาจาก (อินเตอร์เน็ต)เพื่อใช้ในการแสดงประกอบเนื้อหาสาระข้อมูลนี้ค่ะ..และขอขอบคุณแหล่งที่มาของภาพและข้อมูลจาก:วิกิพีเดีย
, บทความเขียนของ วีระศักด์ จันทรส่งแสง จากหนังสือสารคดี,และข้อมูลเพิ่มเติม(บางส่วน)จาก :อินเตอร์เน็ตค่ะ
เรียบเรียงโดย:พัชรพิศุทธิ์ โชติกา พิรักษา และ ศศิภา ศรีจันทร์ ตันสิทธิ์