ห้ามพลาด!! สดร. ชวนประชาชน ดูปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม หรือ ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี รุ่งเช้าวันที่ 13 พ.ย. 60

ห้ามพลาด!! สดร. ชวนประชาชน ดูปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม หรือ ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี รุ่งเช้าวันที่ 13 พ.ย. 60

     สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยเช้ามืดวันที่ 13 พ.ย. 2560 จะมีปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม ดาวศุกร์ปรากฏเคียงดาวพฤหัสบดีห่างเพียงครึ่งองศา สุกสว่าง ทางทิศตะวันออก มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หากใช้กล้องโทรทรรศน์กำลังขยายไม่เกิน 100 เท่า จะเห็นดาวเคราะห์สองดวงปรากฏในช่องมองภาพเดียวกัน เชิญชวนผู้สนใจตื่นเช้าชมปรากฏการณ์ดังกล่าวและชวนโรงเรียนเครือข่ายโครงการกระจายโอกาสเรียนรู้ดาราศาสตร์ 77 จังหวัด ตั้งกล้องส่องดาวเคราะห์ หนุนจัดกิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียนแก่นักเรียนและชุมชน สร้างแรงบันดาลใจเรียนรู้ดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์

     ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า เช้าวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 จะเกิดปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจชวนให้จับตามอง คือ ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม ดาวศุกร์ปรากฏเคียงดาวพฤหัสบดีบนท้องฟ้า ทางทิศตะวันออก ที่ระยะห่างเชิงมุม 0.45 องศา (1 นิ้วก้อยของเราเมื่อเหยียดสุดแขนจะมีระยะเชิงมุมประมาณ 1 องศา) สังเกตได้ในช่วงเช้ามืดตั้งแต่เวลาประมาณ 05.30 – 06.00 น. หากฟ้าใส ไม่มีเมฆ สามารถมองเห็นความสวยงามของดาวเคราะห์ทั้งสองดวงด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน และหากสังเกตการณ์โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายไม่เกิน 100 เท่า จะมองเห็นดาวเคราะห์ทั้งคู่อยู่ในช่องมองภาพเดียวกัน นับเป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ

ห้ามพลาด!! สดร. ชวนประชาชน ดูปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม หรือ ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี รุ่งเช้าวันที่ 13 พ.ย. 60
 

     จึงขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมชมความสวยงามของปรากฎการณ์ดังกล่าว รวมถึงโรงเรียนเครือข่ายโครงการกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ฯ ทั้ง 77 จังหวัด ที่ได้รับมอบกล้องโทรทรรศน์จากสดร. สามารถใช้กล้องโทรทรรศน์ร่วมกับเลนส์ใกล้ตาขนาด 25 มม. หรือ 12.5 มม. ร่วมจัดกิจกรรมสังเกตปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม ในเช้าวันที่ 13 พ.ย. 2560 ตั้งแต่เวลา 05.30 - 06.00 น. ซึ่งถือเป็นโอกาสดี ๆ ที่มีได้ไม่บ่อยนัก

ห้ามพลาด!! สดร. ชวนประชาชน ดูปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม หรือ ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี รุ่งเช้าวันที่ 13 พ.ย. 60

 

    ดร. ศรัณย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีอยู่เคียงกันบนท้องฟ้าในครั้งนี้ ทางดาราศาสตร์จะเรียกว่า "ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม" หมายถึง ดาวเคราะห์ตั้งแต่ 2 ดวงขึ้นไปปรากฏใกล้กันบนท้องฟ้าที่ระยะห่างเชิงมุม 1-5 องศา (1 กำปั้นมีระยะเชิงมุมประมาณ 10 องศา)

 

ห้ามพลาด!! สดร. ชวนประชาชน ดูปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม หรือ ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี รุ่งเช้าวันที่ 13 พ.ย. 60

 

ขอบคุณ


สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page