ระวัง!!การดื่มใช้น้ำปนเปื้อนมลพิษ รองศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยชื่อดังในตปท.เผย จะป่วยด้วยโรคจิต. สิ้นชิวิตไปแล้วกว่า 7,000 คน. (รายละเอียด)

ระวัง!!การดื่มใช้น้ำปนเปื้อนมลพิษ รองศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยชื่อดังในตปท.เผย จะป่วยด้วยโรคจิต. สิ้นชิวิตไปแล้วกว่า 7,000 คน. (รายละเอียด)

บทความนี้ผู้เขียนขอเสนอเรื่องราวเบื้องลึกเบื้องหลังของโรงพยาบาลประจำมหาวิทยาลัย Mississippi State University ในเมือง Jackson ซึ่งดูเหมือนจะเป็นสถานที่ดูแลรักษาผู้ป่วยทางจิตทั่วไป แต่จริงๆ แล้วในอดีตได้เกิดเรื่องราวอันสุดสะพึงขึ้นที่นี่ เชิญรับชมได้ดังต่อไปนี้ค่ะ

ระวัง!!การดื่มใช้น้ำปนเปื้อนมลพิษ รองศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยชื่อดังในตปท.เผย จะป่วยด้วยโรคจิต. สิ้นชิวิตไปแล้วกว่า 7,000 คน. (รายละเอียด)

 

ระวัง!!การดื่มใช้น้ำปนเปื้อนมลพิษ รองศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยชื่อดังในตปท.เผย จะป่วยด้วยโรคจิต. สิ้นชิวิตไปแล้วกว่า 7,000 คน. (รายละเอียด)

 

ระวัง!!การดื่มใช้น้ำปนเปื้อนมลพิษ รองศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยชื่อดังในตปท.เผย จะป่วยด้วยโรคจิต. สิ้นชิวิตไปแล้วกว่า 7,000 คน. (รายละเอียด)

"โรงพยาบาล Mississippi State Lunatic Asylum เปิดทำการเมื่อปี 1855 และดำเนินการจนถึงปี 1935 ที่นี่เคยมีผู้ป่วยประมาณ 35,000 คน ตลอดระยะเวลากว่า 80 ปี" คำบอกเล่าจาก Molly Zuckerman รองศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยรัฐมิสซิสซิปปี
Mississippi State Lunatic Asylum ดำเนินการโดย Dorothea Dix นักปฏิรูปสังคมที่มีชื่อเสียง เธอเป็นที่รู้จักในนาม Angel of the Madhouses

Dix ได้เดินทางมายังรัฐมิสซิสซิปปีและประกาศว่าจะช่วยผู้ป่วยทางจิตหรือผู้มีพัฒนาการที่บกพร่อง โดยจะเปิดโรงพยาบาลให้กับพวกเขา
แต่หลังจากที่สร้าง ปรากฏว่าสถานที่ดังกล่าวไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ระบบความปลอดภัยก็ไม่น่าไว้วางใจด้วย

ในช่วงสงครามกลางเมือง กลุ่มทหารได้เข้ามาปล้นโรงพยาบาล ทำลายข้าวของ และบังคับให้พนักงาน 7 ใน 10 คน เข้าร่วมกับกองกำลังฝ่ายเหนือของอเมริกา
ต่อมาช่วงปลายปี 1880 ผู้ป่วยจำนวนมากป่วยเป็นโรคร้ายแรง เนื่องจากพวกเขาใช้น้ำจากบ่อน้ำที่มีมลพิษปนเปื้อน
และในปี 1900 ชื่อของโรงพยาบาลก็ถูกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการเป็น ‘โรงพยาบาลบ้ารัฐมิสซิสซิปปี' (Mississippi State Insane Hospital)
แต่ต่อมาในช่วงปลายปี 1920 รัฐมิสซิสซิปปีก็ได้มีการจัดสรรเงินเพื่อสร้างสถาบันย่อยของโรงพยาบาลบ้ารัฐมิสซิสซิปปี

ระวัง!!การดื่มใช้น้ำปนเปื้อนมลพิษ รองศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยชื่อดังในตปท.เผย จะป่วยด้วยโรคจิต. สิ้นชิวิตไปแล้วกว่า 7,000 คน. (รายละเอียด)

 

ระวัง!!การดื่มใช้น้ำปนเปื้อนมลพิษ รองศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยชื่อดังในตปท.เผย จะป่วยด้วยโรคจิต. สิ้นชิวิตไปแล้วกว่า 7,000 คน. (รายละเอียด)

 

ระวัง!!การดื่มใช้น้ำปนเปื้อนมลพิษ รองศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยชื่อดังในตปท.เผย จะป่วยด้วยโรคจิต. สิ้นชิวิตไปแล้วกว่า 7,000 คน. (รายละเอียด)

จนกระทั่งในปี 1935 Mississippi State Hospital (โรงพยาบาลรัฐมิสซิสซิปปี) ก็เปิดทำการใน Whitfield ทางตะวันออกของเมือง Jackson และยังดำเนินการจนทุกวันนี้
สำหรับคนไข้ในโรงพยาบาล Mississippi State Lunatic Asylum เดิมนั้น ล้วนเป็นคนมีอาการป่วยทางจิต หลายคนถูกส่งตัวมาเพราะความต้องการของคู่สมรส ครอบครัว รวมทั้งโดยคนอื่นๆ เนื่องจากพวกเขามีอาการที่รุนแรงจนคนที่บ้านรับมือไม่ไหว

ที่น่ากลัวคือ หากคนไข้ที่นี่เสียชีวิตลง จะไม่มีการแจ้งให้ญาติๆ ทราบ แต่เจ้าหน้าที่จะทำการฝังศพพวกเขาไว้ที่นี่อย่างเงียบๆ ในสุสานที่ทำขึ้นอย่างลับๆ
อย่างไรก็ตามนั่นไม่ใช่สิ่งที่ญาติผู้ป่วยต้องการ พวกเขาพาผู้ป่วยมาที่นี่หวังให้มีผู้ชำนาญช่วยดูแล และเมื่อหายแล้วจะกลับมารับ

แต่ปรากฏว่าทางโรงพยาบาลไม่เคยแจ้งให้ญาติทราบว่ารักษาอย่างไร อาการเป็นยังไง แม้กระทั่งตอนเสียชีวิต หากไม่มีญาติมาตามหา ทางโรงพยาบาลก็จะไม่แจ้งให้ทราบ หรือต่อให้มาถามญาติก็ไม่มีโอกาสได้เห็นศพรวมทั้งอาจไม่รู้สาเหตุการตายที่แท้จริงด้วย

ในขณะที่ทางรัฐก็รับรู้เรื่องนี้มาตลอด เพราะมีหลักฐานเป็นแผนที่วาดด้วยมือจากศตวรรษที่ 19 และแผนที่ดังกล่าวนี้ก็นำไปสู่การตามหาศพผู้ป่วย แต่ก็หาศพไม่พบ จนกระทั่งปี 2012 ได้มีการพบโลงศพแรกในขณะที่คนงานกำลัง

ขุดดินเพื่อทำที่จอดรถใหม่
ในปีต่อมาก็พบศพอีก 65 ศพ จนได้มีการขุดศพขึ้นมาทั้งหมด 66 ศพ ขึ้นมา แล้วเอาไว้ในพื้นที่ที่ปราศจากกรดทางทิศเหนือในศูนย์โบราณคดีที่มหาวิทยาลัยรัฐมิสซิสซิปปี

อย่างไรก็ตาม จากปี 2013-2015 ได้มีการสำรวจและการตรวจจับเรดาร์ และมีการเปิดเผยว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีศพในบริเวณดังกล่าวอีก 5,000-7,000 ศพ

จะเกิดอะไรขึ้นกับศพที่ถูกขุดขึ้นมา?
แทนที่จะนำศพเหล่านี้ไปฝังอีกครั้งในสถานที่อื่น แต่เจ้าหน้าที่ในรัฐมิสซิสซิปปีได้เสนอให้สร้างศูนย์อนุสรณ์และศูนย์สำหรับผู้เยี่ยมชมไว้ในสถานที่ของโรงพยาบาล
ทั้งนี้ศพจะถูกเก็บไว้อย่างปลอดภัยในภาชนะที่ปราศจากกรดเพื่อจะให้นักวิจัยนำไปตรวจสอบเกี่ยวกับวิธีการรักษาผู้ป่วยทางจิตเมื่อหลายปีก่อน
นอกจากนี้เมื่อตรวจสอบแล้ว ทางทีมวิจัยจะบุตัวตนของศพ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ว่าพวกเขาเป็นใคร เพราะบางทีหนึ่งในศพเหล่านี้อาจเป็นญาติของพวกเขาก็ได้

อุปสรรคสำคัญในการทำงานคือค่าใช้จ่าย Ralph Didlake ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์และธรณีศาสตร์ของโรงพยาบาล กล่าวว่า "การขุดศพขึ้นมาพร้อมทั้งระบุตัวตนนั้น ต้องมีค่ายใช้จ่ายสูงถึง 130 ล้านบาท"
นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายสำหรับทำศูนย์อนุสรณ์และศูนย์สำหรับผู้เยี่ยมชมที่ตอนนี้ยังไม่ได้ออกแบบและไม่รู้ด้วยว่าต้องใช้งบเท่าไหร่
ในการนำศพขึ้นมาศึกษานั้น แน่นอนว่าอาจจะมีการค้นพบเรื่องราวอันน่าเศร้า หดหู่ อัปยศ รวมทั้งความเจ็บปวดอื่นๆ ของคนไข้ในอดีตเหล่านี้
แต่นี่เป็นโอกาสที่จะทำให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ถึงประสบการณ์เหล่านั้น 

Didlake บอกว่า "เราต้องมองเรื่องเหล่านี้ผ่านมุมมองของคนสมัยใหม่ และมันจะทำให้เรารู้ว่าควรรักษาผู้ป่วยทางจิตในอนาคตอย่างไร"
Zuckerman ผู้ที่ทำงานร่วมกับ Didlake สำหรับโปรเจคนี้ กล่าวว่า "ข้อเสนอนี้ค่อนข้างผิดปกติ ที่อื่นเค้าไม่ได้ทำกันแบบนี้ เพราะที่อื่นเมื่อขุดพบศพ พวกเขาจะทำการฝังกลับไปอีกครั้งในที่อื่น แต่ถ้าทำอย่างนั้น เราจะไม่ได้อะไรข้อมูลอะไรจากศพเลย"
นับตั้งแต่มีการขุดพบศพ Zuckerman บอกว่าเธอได้รับอีเมลล์ทุกสัปดาห์จากญาติผู้ป่วยที่เคยเข้ามารักษาตัวในโรงพยาบาลแห่งนี้เมื่อหลายสิบปีก่อน แต่ญาติกลับไม่เคยรู้เลยว่าเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขาบ้างและถูกฝังอยู่ที่ไหน
อย่างไรก็ตาม หากโครงการนี้แล้วเสร็จ ทางทีมงานที่ดำเนินการคาดว่าจะให้คำตอบญาติผู้ป่วยได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ต้องอาศัยเวลาในการตรวจสอบสักระยะ

ระวัง!!การดื่มใช้น้ำปนเปื้อนมลพิษ รองศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยชื่อดังในตปท.เผย จะป่วยด้วยโรคจิต. สิ้นชิวิตไปแล้วกว่า 7,000 คน. (รายละเอียด)

 

ระวัง!!การดื่มใช้น้ำปนเปื้อนมลพิษ รองศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยชื่อดังในตปท.เผย จะป่วยด้วยโรคจิต. สิ้นชิวิตไปแล้วกว่า 7,000 คน. (รายละเอียด)

 

ระวัง!!การดื่มใช้น้ำปนเปื้อนมลพิษ รองศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยชื่อดังในตปท.เผย จะป่วยด้วยโรคจิต. สิ้นชิวิตไปแล้วกว่า 7,000 คน. (รายละเอียด)


ขอขอบคุณท่านผู้เป็นเจ้าของเครดิตภาพที่ผู้เขียนได้นำมาจาก (อินเตอร์เน็ต)เพื่อใช้ในการแสดงประกอบเนื้อหาสาระข้อมูลนี้ค่ะ..และขอขอบคุณแหล่งที่มาของภาพและข้อมูลจาก:วิกิพีเดีย
, ที่มา washingtonpost ,และข้อมูลเพิ่มเติม(บางส่วน)
จาก :อินเตอร์เน็ตค่ะ
เรียบเรียงโดย:โชติกา พิรักษา และ ศศิภา ศรีจันทร์ ตันสิทธิ์